Skip to main content
sharethis

'เชียงใหม่' ประกาศ 'พื้นที่ประสบสาธารณภัย' ในเขตอำเภอฝางและพร้าว หลังเผชิญปัญหาหมอกควันมาตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. 2567 เตรียมเงินชดเชยให้ประชาชน - ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) และฝุ่นควัน PM2.5 ในพื้นที่หลายส่วนของภาคเหนืออยู่ในระดับวิกฤต พบ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานใน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์  


แฟ้มภาพอาสาดับไฟป่า มูลนิธิกระจกเงา

6 เม.ย. 2567 คมชัดลึก และ มติชนออนไลน์ รายงานว่านายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกประกาศ เขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย / เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน อัคคีภัย ไฟป่า ในพื้นที่อำเภอฝาง โดยระบุว่าด้วยได้เกิดเหตุอัคคี ภัย ไฟป่า ขึ้นในเขตพื้นที่อำเภอฝาง เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2567  ซึ่งภัยดังกล่าวป็นสาธารณภัย "ภัยพิบัติ" กรณีฉุกเฉินก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชน หรือก่อให้กิตวัตถุมลพิษหมอกควันที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและการดำรงชีวิตของประชาชน

เพื่อประโยชน์ในการจัดการสาธารณภัยให้เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธาณภัยแห่งชาติและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ "ภัยพิบัติ" กรณีฉุกเฉิน เร่งด่วน อาศัยอำนาจตามความข้อ 20 วรรคสาม ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยภิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ประกอบกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและบรรเทาสาธารณะภัยแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้อำนวยการจังหวัดจึงประกาศให้พื้นที่ดังต่อไปนี้

อำเภอฝาง ประกอบด้วย

  • ตำบลเวียง หมู่ที่ 1-20
  • ตำบลม่อนปิ่น หมู่ที่ 1-15
  • ตำบลแม่คะ หมู่ที่ 1-15
  • ตำบลแม่ข่า หมู่ที่ 1-13
  • ตำบลแม่งอน หมู่ที่ 1-15
  • ตำบลโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 1-7

 
อำเภอพร้าว

  • ตำบลโหล่งขอด หมู่ที่ 1-9
  • ตำบลแม่ปั๋ง หมู่ที่ 1-14
  • ตำบลแม่แวน หมู่ที่ 1-11
  • ตำบลน้ำแพร่ หมู่ที่ 1-8
  • ตำบลบ้านโป่ง หมู่ที่ 1-8
  • ตำบลป่าตุ้ม หมู่ที่ 1-12
  • ตำบลสันทราย หมู่ที่ 1-14

เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย หรือ "ภัยพิบัติ" การให้คาวมช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธาณรภัยจังหวัด และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว และดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีที่กระทรวงการคลังกำหนด ต้องไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันที่เกิดภัย

ฝุ่นควัน PM2.5 ในพื้นที่หลายส่วนของภาคเหนืออยู่ในระดับวิกฤต

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่าสถานการณ์ปัญหาไฟป่าหมอกควัน PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่วันนี้ยังคงวิกฤตอย่างต่อเนื่องและเป็นอีกวันหนึ่งที่มีค่ามลพิษปกคลุมเพิ่มขึ้นสูงเกินมาตรฐาน เว็บไซต์ IQAir ที่คอยสังเกตการณ์คุณภาพอากาศของเมืองสำคัญทั่วโลก ได้จัดอันดับเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุด และดีที่สุดในแต่ละวันแบบเรียลไทม์ รายงานว่า เมื่อเวลา 9 โมงเช้าที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) และมลพิษทางอากาศ PM2.5 ใน เชียงใหม่ อยู่ในระดับสีแดง วัดได้ 260AQI มีผลกระทบต่อทุกคน อย่างรุนแรง

ทางด้าน ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ รายงาน (Hotspot) จุดความร้อนจากไฟป่า พบมากถึง 74 จุด โดยไฟป่าวันนี้กระจายอยู่ใน 16 อำเภอ มากสุดที่อยู่ที่อำเภอเชียงดาว ถึง 24 จุด รองลงมาที่อำเภอจอมทอง 14 จุด และอำเภอฝาง 8 จุด แม้เจ้าหน้าที่ดับไฟป่าและจิตอาสาจะใช้ความพยายามอย่างหนัก ในการจำกัดแนวไฟ แต่พื้นที่ที่เข้าถึงยากลำบากยังเป็นอุปสรรค นอกจากนั้นไฟป่ายังขยายวงกว้างในหลายอำเภอ ส่งผลให้กลุ่มควันปกคลุมไปทั่วทั้งจังหวัด ประชาชนต้องเผชิญกับอากาศที่ย่ำแย่อีกด้วย

ด้าน ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 เม.ย. 2567 ณ 12:00 น สรุปดังนี้ พบว่าภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 46.6 - 222.8 มคก./ลบ.ม. โดยจังหวัดในภาคเหนือที่ปริมาณ PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ จ.เชียงราย  จ.เชียงใหม่  จ.น่าน  จ.แม่ฮ่องสอน  จ.พะเยา  จ.ลำพูน  จ.ลำปาง  จ.แพร่  จ.อุตรดิตถ์  

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net