Skip to main content
sharethis

27 มิ.ย. เมื่อปี 2475 ถือเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม ประกอบด้วย 39 มาตรา โดยมีผู้ยกร่างคนสำคัญคือ หลวงประดิษฐ์มนูญธรรม หรือปรีดี พนมยงค์ แกนนำคณะราษฎรสายพลเรือน และมีมาตราสำคัญคือมาตราที่ 1 ซึ่งระบุว่า "อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย"

 

ลำดับเวลาการเข้าเฝ้า ทูลเกล้าถวายพระธรรมนูญฉบับแรกนั้น มีบันทึกไว้ในบทความเขียนโดย รวินทร์ คำโพธิ์ทอง ระบุว่า หลังการปฏิวัติเมื่อ 24 มิ.ย. 2475 คณะราษฎรได้เข้าเฝ้าทูล เกล้าถวาย พ.ร.บ.พระธรรมนูญการปกครองให้รัชกาลที่ 7 ลงพระบรมนามาภิธัย ณ วังสุโขทัย เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2475 แต่รัชกาลที่ 7 ขอว่า พระธรรมนูญการปกครองมีความยาว ยังอ่ านไม่เข้าใจทั้งหมด เกรงว่าจะให้ลงพระบรมนามาภิธัยเลย ดูจะไม่ถูกต้อง จึงจะขอส่งคืนคณะราษฎร ภายในเวลา 17.00 น. ของวันที่ 27 มิ.ย. 2475     

กระทั่ง 27 มิ.ย. 2745 เวลา 17.00 น. รัชกาลที่ 7 หรือพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงส่ง พ.ร.บ.พระธรรมนูญการปกครอง กลับมา พร้อมกับลงพระบรมนามาภิธัยและประกาศใช้เป็น 'ธรรมนูญการปกครองฉบับแรกของสยาม' มีชื่อเรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ประกอบด้วย 39 มาตรา และทรงมีพระบรมราชโองการดำรัสไว้ในธรรมนูญว่า

"โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น โดยที่ได้ทรงยอมรับตามคำร้องของคณะราษฎร" 

ส่วนมาตราที่สำคัญมากคือมาตราที่ 1 ซึ่งบัญญัติว่า 

"อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย" 

ซึ่งมีใจความตรงกับคำประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ความว่า "ราษฎรทั้งหลายพึงรู้ไว้เถิดว่า ประเทศนี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง"

รัฐธรรมนูญฉบับแรก หน้า 2 (ที่มา: เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์รัฐสภา)

อนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการลดสถานะของพระมหากษัตริย์จากองค์อธิปัตย์  หรือเ ป็นที่มาของกฎ หมา ย ผู้ใดจะฟ้องร้องมิได้  โดยในมาตราที่  6 มีก ารบัญญัติว่า  "กษัต ริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย" 

มาตราที่ 7 บัญญัติด้วยว่า "การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎร จึ่งจะใช้ได้ มิเช่นนั้นเป็นโมฆะ" 

ทั้งนี้ ในส่วนของคำว่า 'ชั่วคราว' ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกนั้น ปรีดี ระ บุ ว่า  แต่เดิมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่มีคำว่า "ชั่วคราว" แต่รัชกาลที่ 7 เป็นขอให้เติม และเป็นผู้เขียนคำว่า "ชั่วคราว" ลงไปเอง และรับสั่งกับคณะราษฎรว่าให้ ใช้ ไปพลางก่อน และจากนั้นให้มีการตั้งคณะกรรมการและสภาผู้แทนราษฎรพิจารณารัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นมาภ ายหลัง

ปฐมรัฐธรรมนูญของสยามมีอายุ 5 เดือน กับ 13 วัน จนวันที่ 10 ธ.ค. 2475 จึงได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซึ่งมีข้อวิจารณ์ว่ามีการยกสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายสถานะ อาทิ การเปลี่ยนมาตรา 1 และมาตราที่ 6 ของปฐมรัฐธรรมนูญ  

  • อ่านรัฐธรรมนูญฉบับแรก

https://parliamentmuseum.go.th/constitution-law/2475-1.PDF

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net