Skip to main content
sharethis

คำถามในความหมายที่ว่า “ต้องการเอกราชจริงหรือไม่” ไม่ใช่เรื่องใหม่ในทางวิชาการในการวัดสัดส่วนของคนที่ “ต้องการ” หรือ “ไม่ต้องการ” เพราะถูกนำมาใช้โดย “เครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY” เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 59 แล้ว แต่หากรัฐมีกระบวนการ “ประชามติว่าเห็นด้วยกับการแยกจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือปาตานีเป็นเอกราช” ขึ้นมาจริงๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมายตามที่นักศึกษากลุ่มหนึ่งเรียกร้อง ตัวเลขอาจสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้นก็ได้

เครือข่ายวิชาการ Peace Survey เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการและองค์กรภาคประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายองค์กร ปัจจุบันมี 24 องค์กร ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PEACE SURVEY) เพื่อสะท้อนเสียงของประชาชนที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยปราศจากอคติหรือเอียงข้างฝ่ายใดเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญประกอบการแก้ไขปัญหาต่อไปในระยะยาว

ในการสำรวจนี้ทำให้ทราบสัดส่วนของ “คนที่ต้องการเอกราช” หากคิดว่าเป็นแนวทางที่จะยุติปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้ แต่ผลที่ได้อาจยังไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงเพราะมีคนเลี่ยงที่จะตอบคำถามนี้ โดย“ขอไม่ตอบ”หรือ “ไม่รู้” มากพอสมควร

การสำรวจครั้งแรกเมื่อมีขึ้นเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2559 ครั้งล่าสุดคือครั้งที่ 6 เดือนเมษายน - กรกฎาคม 2564 โดยใช้กระบวนการทางวิชาการที่น่าเชื่อถือไปสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (จะนะ เทพา นาทวีและสะบ้าย้อย)

โดยแบ่งเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้นำทางความคิด (ยกเว้นครั้งที่ 6 ที่ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก) โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนทั่วไปอยู่ที่ครั้งละประมาณ 1,500 คน (ต่ำสุด 1,311 คน สูงสุด 1,637 คน) มีทั้งไทยพุทธ ไทยจีน และมลายูมุสลิม

(อ่านผลสำรวจ PEACE SURVEY ทั้ง 6 ครั้งได้ที่ https://cscd.psu.ac.th/th)

แต่ภาษาที่ใช้ในคำถามของ PEACE SURVEY นี้ คือ “หากต้องการจะให้ปัญหาความไม่สงบยุติลง ทางออกคือต้องให้พื้นที่นี้เป็นรัฐอิสระแยกออกจากประเทศไทยหรือไม่” ซึ่งเป็น 1 ในชุดคำถามที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการปกครองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มี 3 คำถามหลัก ซึ่งเป็นประเด็นคำถามที่มักจะเป็นที่ถกเถียงเสมอมาในพื้นที่แห่งนี้

ทั้ง 3 คำถาม คือ

  1. หากต้องการจะให้ปัญหาความไม่สงบยุติลง ทางออกคือต้องให้พื้นที่นี้เป็นรัฐอิสระแยกออกจากประเทศไทยหรือไม่
  2. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีการพูดคุยกันเรื่องรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับพื้นที่นี้
  3. รูปแบบการบริหารปกครองที่อยากเห็นที่สุด เป็นแบบไหน

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์และอาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษาและผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) หนึ่งในนักวิจัยในเครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY ระบุว่า เครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY ใช้คำถามที่เป็นทางเลือกว่าอยากได้การปกครองพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แบบไหน ไม่ได้ถามตรงๆ ว่าเป็น “รัฐเอกราช” แต่ใช้คำว่าการปกครองที่แยกเป็นอิสระจากประเทศไทย ซึ่งข้อนี้มีคนเลือกตอบโดยรวมประมาณ 10% แต่ส่วนใหญ่ประมาณ 60% ตอบว่าเห็นด้วยกับรูปแบบการกระจายอำนาจแบบพิเศษ

ในขณะที่คนที่เลือก “ขอไม่ตอบ” “ไม่รู้” หรือ “ไม่ระบุ” มีรวมกันประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด (กลุ่มตัวอย่างรวมกันทั้งหมด 9,272 คน ถ้า 1 ใน 3 ก็จะอยู่ประมาณ 3,000 กว่าคน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คำถามดังกล่าวเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหวและผู้ตอบมีความระมัดระวังตัวในการแสดงความคิดเห็น

หากพิจารณาผลสำรวจอย่างละเอียดในแต่ละครั้งก็จะพบว่า มีสัดส่วนที่ไม่แตกจากที่ ศรีสมภพ ระบุไว้ สรุปได้ดังนี้

ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2559

ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ [PEACE SURVEY] ครั้งที่ 1 (กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2559) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,560 คน (หน้า 53)

คำถามว่า หากต้องการจะให้ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงยุติลง พื้นที่แห่งนี้จะต้องเป็นรัฐอิสระแยกออกจากประเทศไทยหรือจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยหรือไม่ มีผู้ให้คำตอบ ตามลำดับดังนี้

  1. ร้อยละ 48.3 มองว่า ปัญหาจะยุติลงได้โดยพื้นที่นี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย หากรัฐบาลทำตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่จริงๆ
  2. ร้อยละ 8.6 มองว่า พื้นที่นี้ต้องเป็นรัฐอิสระแยกออกจากประเทศไทยเท่านั้น ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงจึงจะยุติลงได้
  • คำถามนี้ มีผู้ที่ “ขอไม่ตอบ” และ”ไม่รู้” รวมกันคิดเป็นร้อยละ 43.1

คำถามว่า จำเป็นของการคุยกันถึงรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับพื้นที่หรือไม่ มีสัดส่วนผู้ให้คำตอบ ตามลำดับดังนี้

  1. ร้อยละ 61.7 เห็นว่า จำเป็นต้องคุยกัน
  2. ร้อยละ 7.5 เห็นว่า ไม่จำเป็น
  • คำถามนี้ผู้ที่ตอบว่า “เฉยๆ” “ไม่รู้” และ “ขอไม่ตอบ”ร้อยละ 30.7

คำถามว่า แนวทางการปกครองพื้นที่ที่อยากเห็นมากที่สุด มีสัดส่วนผู้ให้คำตอบตามลำดับ ดังนี้

  1. ร้อยละ 26.5 เลือกรูปแบบกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่แต่ยังอยู่ภายใต้กฎหมายของไทย
  2. ร้อยละ 22.2 เลือกรูปแบบกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่เหมือนกับส่วนอื่นๆ ของประเทศ 
  3. ร้อยละ 15.6 เลือกรูปแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ 
  4. ร้อยละ 14.2 เลือกรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย
  • คำถามนี้มีผู้เลือก “ขอไม่ตอบ” และ “ไม่รู้” ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ในแต่ละรูปแบบ

จะเห็นได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ต้องการรัฐอิสระมีสัดส่วนน้อยกว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ต้องการเห็นการกระจายอำนาจมากขึ้น ซึ่งอาจตีความได้ว่า หากมีการกระจายอำนาจให้ประชาชนในพื้นที่มีอำนาจในการบริหารจัดการปกครองตัวเองมากขึ้นก็อาจจะเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาได้

ผลสำรวจให้สังเกตด้วยว่า ร้อยละ 40 และร้อยละ 33 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เรียกสถานการณ์ในพื้นที่นี้ว่าเป็น “สงคราม” และ “ญิฮาด” เลือกรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย

ส่วนร้อยละ 44 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เรียกสถานการณ์ในพื้นที่นี้ว่า“การก่อเหตุรุนแรง” นั้น ไม่ชอบหรือรับไม่ได้เลยกับรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย

ครั้งที่ 2 กรกฎาคม - สิงหาคม 2559

ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ [PEACE SURVEY] ครั้งที่ 2 กรกฎาคม - สิงหาคม 2559 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,570 คน (หน้า 73)

คำถามว่า หากต้องการจะให้ปัญหาความไม่สงบยุติลง ทางออกคือต้องให้พื้นที่นี้เป็นรัฐอิสระแยก

ออกจากประเทศไทยหรือไม่ มีสัดส่วนผู้ให้คำตอบตามลำดับ ดังนี้

  1. ร้อยละ 45.8 เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐอิสระ หากรัฐบาลทำตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่จริงๆ
  2. ร้อยละ 8.3 ตอบอย่างชัดเจนว่าต้องเป็นรัฐอิสระ (เอกราช) เท่านั้น
  • มีผู้ที่ตอบว่า “ไม่รู้” และ “ขอไม่ตอบ” ร้อยละ 45.9

คำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องพูดคุยกันถึงรูปแบบการบริหารปกครองที่เหมาะสมกับพื้นที่

  1. ร้อยละ 58.1 ตอบว่า จำเป็น
  2. ร้อยละ 5.8 มองว่า ไม่จำเป็น
  3. ร้อยละ 13.4 ตอบว่า รู้สึกเฉยๆ
  • มีผู้ตอบว่า “ไม่รู้” และ “ขอไม่ตอบ” ร้อยละ 22.7

คำถามว่า รูปแบบการบริหารปกครองที่อยากเห็นที่สุด คือ

  1. ร้อยละ 32.4 เลือกรูปแบบการกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่นี้ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย
  2. ร้อยละ 28.1 ต้องการให้มีการกระจายอำนาจมากขึ้น ด้วยโครงสร้างการปกครองที่เหมือนส่วนอื่นๆ ของประเทศ
  3. ร้อยละ 15.3 รูปแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
  4. ร้อยละ 12.7 เท่านั้นที่เลือกรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย
  • ทั้งนี้มีผู้ที่เลือก “ขอไม่ตอบ” และ “ไม่รู้” ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ในแต่ละรูปแบบ

จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ต้องการรัฐอิสระมีสัดส่วนน้อยกว่าผู้ที่ต้องการเห็นการกระจายอำนาจมากขึ้น และ อาจตีความในแง่หนึ่งได้ว่า หากมีการกระจายอำนาจให้ประชาชนในพื้นที่มีอำนาจในการบริหารจัดการปกครองตัวเองมากขึ้นก็อาจจะเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาได้

ครั้งที่ 3 เมษายน-พฤษภาคม 2560

ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ [PEACE SURVEY] ครั้งที่ 3 เมษายน-พฤษภาคม 2560 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,608 คน (หน้า 47)

คำถาม หากต้องการจะให้ปัญหาความไม่สงบยุติลง ทางออกคือต้องให้พื้นที่นี้เป็นรัฐอิสระแยกออก

จากประเทศไทยหรือไม่ มีผู้ให้คำตอบ ตามลำดับดังนี้

  1. ร้อยละ 49.5 เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐอิสระแยกออกจากประเทศไทย หากรัฐบาลทำตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่จริงๆ
  2. ร้อยละ 10.9 ตอบอย่างชัดเจนว่าต้องเป็นรัฐอิสระ (เอกราช) เท่านั้น
  • มีผู้ที่ตอบว่า “ไม่รู้” และ “ขอไม่ตอบ” รวมกันแล้วสูงถึงร้อยละ 39.6

คำถามว่า รูปแบบการบริหารปกครองที่อยากเห็นที่สุด มีผู้ให้คำตอบตามลำดับดังนี้

  1. ร้อยละ 25.2 ต้องการให้กระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่นี้ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย
  2. ร้อยละ 21.2 กระจายอำนาจด้วยโครงสร้างการปกครองที่เหมือนกับส่วนอื่นๆ ของประเทศ
  3. ร้อยละ 14.1 รูปแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
  4. ร้อยละ 12.1 รูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย
  • ผู้ที่ “ขอไม่ตอบ” และ “ไม่รู้” ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ในแต่ละข้อ

จากผลการสำรวจข้อนี้ชี้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ต้องการรัฐอิสระมีสัดส่วนน้อยกว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ต้องการเห็นการกระจายอำนาจมากขึ้น ซึ่งอาจตีความในแง่หนึ่งได้ว่าหากมีการกระจายอำนาจให้ประชาชนในพื้นที่มีอำนาจในการบริหารจัดการปกครองตัวเองมากขึ้น ก็อาจจะเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาได้

ครั้งที่ 4 สิงหาคม - กันยายน 2561

ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ [PEACE SURVEY] ครั้งที่ 4 สิงหาคม–กันยายน 2561 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,609 คน (หน้า 54)

คำถามว่า หากต้องการจะให้ปัญหาความไม่สงบยุติลง ทางออกคือต้องให้พื้นที่นี้มีรูปแบบการบริหารปกครองแบบใด มีผู้ให้คำตอบตามลำดับ ดังนี้

  1. ร้อยละ 48.4 (778 คน) เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐอิสระแยกออกจากประเทศไทย หากรัฐบาลทำตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่จริงๆ
  2. ร้อยละ 6.8 (109 คน) ตอบอย่างชัดเจนว่า ต้องเป็นรัฐอิสระ (เอกราช) เท่านั้น
  • มีผู้ที่ตอบว่า “ไม่รู้” “ขอไม่ตอบ” และ “ไม่ระบุ” รวมกันแล้วสูงถึงร้อยละ 44.9  (722 คน) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับผู้ที่ตอบว่ายังคงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย

คำถามว่า รูปแบบการบริหารปกครองที่อยากเห็นที่สุด มีลำดับดังนี้

  1. ร้อยละ 23 (370 คน) เลือกรูปแบบที่มีการกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่เหมือนกับส่วนอื่นๆ ของประเทศ (เลือกตั้งผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัด)
  2. ร้อยละ 19.5 (314 คน) เลือกรูปแบบที่มีการกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่ภายใต้กฎหมายไทย (เลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยรวมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตเดียว
  3. ร้อยละ 18.2 (292 คน) เลือกรูปแบบปัจจุบันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
  4. ร้อยละ 13.9 (225 คน) เลือกรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย
  • มีผู้ที่ข้อที่ “ขอไม่ตอบ” และ “ไม่รู้” สูงสุดในรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย จำนวน 648 คน (ร้อยละ 40.3)

ครั้งที่ 5 กันยายน – ตุลาคม 2562

ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ [PEACE SURVEY] ครั้งที่ 5 กันยายน – ตุลาคม 2562 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,637 คน (หน้า 67)

คำถาม หากต้องการให้ปัญหาความไม่สงบยุติลง ต้องให้พื้นที่นี้เป็นรัฐอิสระแยกออกจากประเทศไทยหรือไม่ มีสัดส่วนผู้ให้คำตอบตามลำดับ ดังนี้

  1. ร้อยละ 53.9 (883 คน) เห็นว่า ปัญหาจะยุติลงได้โดยพื้นที่นี้จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย หากรัฐบาลทำตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่จริง ๆ
  2. ร้อยละ 6.7 (109 คน) ตอบว่า พื้นที่นี้ได้เป็นรัฐอิสระ(เอกราช) เท่านั้น
  • ผู้ที่ตอบว่า "ไม่รู้" "ขอไม่ตอบ" และ "ไม่ระบุ" มีจำนวน 645 คน (ร้อยละ 39.4) สะท้อนให้เห็นว่าคำถามนี้ยังเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหว และผู้ตอบระมัดระวังตัวในการแสดงความคิดเห็น

คำถามถึงความสำคัญและความจำเป็นของการพูดคุยกันเรื่องรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับพื้นที่

  1. ผู้ตอบร้อยละ 37.1 (607 คน) เห็นว่า จำเป็นมาก
  2. ผู้ตอบร้อยละ 23.8 (390 คน) มีความเห็นในระดับปานกลาง
  3. มีผู้ตอบร้อยละ 18.6 (304 คน) เห็นว่า จำเป็นน้อย

คำถามถึงรูปแบบการบริหารปกครองที่อยากเห็นที่สุด มีผู้ตอบเลือกตอบตามลำดับ ดังนี้

  1. ร้อยละ 23.3 (382 คน) เลือกรูปแบบกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่นี้ภายใต้กฎหมายไทย (เลือกตั้งผู้ว่าฯ/เขตปกครองพิเศษ)
  2. ร้อยละ 20.7 (339 คน) เลือกรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
  3. ร้อยละ 17.9 (292 คน) เลือกรูปแบบกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่เหมือนกับส่วนอื่น ๆ ของประเทศ (เพิ่มอำนาจให้ อบจ. อบต. มากขึ้น)
  4. ร้อยละ 10.1 (165 คน) เลือกรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย
  • มีผู้เลือก "ไม่รู้" "ขอไม่ตอบ" และ "ไม่ระบุ" สูงสุดในรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย จำนวน 566 คน (ร้อยละ 34.5) เนื่องจากเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหว

ครั้งที่ 6 เมษายน - กรกฎาคม 2564

ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้(PEACE SURVEY)ครั้งที่ 6 เมษายน - กรกฎาคม 2564 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,311 คน (หน้า 82)

คำถามว่า หากต้องการจะให้ปัญหายุติลง ทางออกคือต้องให้พื้นที่นี้เป็นรัฐอิสระแยกออกจากประเทศไทยหรือไม่ มีสัดส่วนผู้ตอบตามลำดับ ดังนี้

  1. ร้อยละ 49.7 (652 คน) ตอบว่า ปัญหาจะยุติลงได้โดยพื้นที่นี้จะยังเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย หากรัฐบาลทำตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่จริงๆ
  2. ร้อยละ 6.6 (87 คน) ตอบอย่างชัดเจนว่า ปัญหายุติลงได้ต่อเมื่อพื้นที่นี้ได้เป็นรัฐอิสระ (เอกราช) เท่านั้น
  • มีผู้ตอบว่า “ไม่รู้” “ขอไม่ตอบ” และ “ไม่ระบุ” รวมกัน จำนวน 574 คน (ร้อยละ 43.7) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คำถามนี้ยังเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหวและผู้ตอบระมัดระวังตัวในการแสดงความคิดเห็น

คำถามถึงความสำคัญและความจำเป็นของการพูดคุยกันเรื่องรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับพื้นที่ พบว่า

  1. ร้อยละ 44.9 (589 คน) เห็นว่า มีความจำเป็นมาก
  2. ร้อยละ 20.6 (270 คน) มีความเห็นในระดับปานกลาง
  3. ร้อยละ 14.3 (189 คน) เห็นว่า มีความจำเป็นน้อย

คำถามว่า รูปแบบการบริหารปกครองที่อยากเห็นที่สุด มีคำตอบตามลำดับ ดังนี้

  1. ร้อยละ 27.3 (358 คน) เลือกรูปแบบกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่เหมือนกับส่วนอื่นๆของประเทศ (เพิ่มอำนาจให้ อบจ. อบต. มากขึ้น)
  2. ร้อยละ25.9 (340 คน) เลือกรูปแบบปัจจุบันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
  3. ร้อยละ 24.4 (319 คน) เลือกรูปแบบกระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่นี้ภายใต้กฎหมายไทย (เลือกตั้งผู้ว่าฯ/เขตปกครองพิเศษ)
  4. ร้อยละ 13.4 (176 คน) เลือกรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย (แยกเป็นเอกราช)
  • มีผู้ที่ “ขอไม่ตอบ” “ไม่รู้” ในรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย จำนวน 431 คน (ร้อยละ 35.2)เนื่องจากเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหว

เมื่อสรุปทั้ง 3 คำถามของการสำรวจทั้ง 6 ครั้งเป็นตารางก็จะได้ดังนี้

คำถามที่ 1 หากต้องการจะให้ปัญหายุติ ทางออกคือต้องแยกเป็นรัฐอิสระจากประเทศไทยหรือไม่

ครั้งที่

จำนวนตัวอย่าง

ไม่แยกเป็นรัฐอิสระ

แยกเป็นรัฐอิสระ

ไม่รู้/ไม่ตอบ

ครั้งที่ 1

กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2559

1,560 คน

ร้อยละ 48.3

ร้อยละ 8.6

ร้อยละ 43.1

ครั้งที่ 2

กรกฎาคม - สิงหาคม 2559

1,570 คน

ร้อยละ 45.8

(ร้อยละ 8.3)

ร้อยละ 45.9

ครั้งที่ 3

เมษายน-พฤษภาคม 2560

1,608 คน

 

ร้อยละ 49.5

(ร้อยละ 10.9)

ร้อยละ 39.6

ครั้งที่ 4

สิงหาคม–กันยายน 2561

1,609 คน

ร้อยละ 48.4

(778 คน)

ร้อยละ 6.8

(109 คน)

ร้อยละ 44.9

(722 คน)

ครั้งที่ 5

กันยายน – ตุลาคม 2562

1,637 คน

ร้อยละ 53.9

(883 คน)

ร้อยละ 6.7

(109 คน)

ร้อยละ 39.4

(645 คน)

ครั้งที่ 6

เมษายน - กรกฎาคม 2564

1,311 คน

ร้อยละ 49.7

(652 คน)

ร้อยละ 6.6

(87 คน)

ร้อยละ 43.7

(574 คน)

จากตารางนี้สามารถสรุปโดยรวมได้ว่า คนส่วนใหญ่เห็นว่า หากต้องการจะให้ปัญหายุติ ไม่จำเป็นต้องแยกพื้นที่นี้เป็นรัฐอิสระจากประเทศไทย แต่คนที่เลี่ยงที่จะตอบคำถามนี้ก็มีสัดส่วนสูงมาก หากรวมกับจำนวนคนที่ต้องการให้แยกเป็นรัฐอิสระก็จะมีสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งเกือบทุกครั้งของการสำรวจ

คำถามที่ 2 ความสำคัญและความจำเป็นของการพูดคุยเรื่องรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับพื้นที่

ครั้งที่

จำนวนตัวอย่าง

จำเป็น

ปานกลาง/เฉยๆ

จำเป็นน้อย/

ไม่จำเป็น

ไม่รู้/ขอไม่ตอบ

ครั้งที่ 1

กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2559

1,560 คน

ร้อยละ 61.7

 

ร้อยละ 7.5

ร้อยละ 30.7

ครั้งที่ 2

กรกฎาคม - สิงหาคม 2559

1,570 คน

ร้อยละ 58.1

ร้อยละ 13.4

ร้อยละ 5.8

 

ร้อยละ 22.7

ครั้งที่ 3 ไม่มีคำถามนี้

 

 

 

 

 

ครั้งที่ 4 ไม่มีคำถามนี้

 

 

 

 

 

ครั้งที่ 5

กันยายน – ตุลาคม 2562

1,637 คน

ร้อยละ 37.1

(607 คน)

ร้อยละ 23.8

(390 คน)

ร้อยละ 18.6

(304 คน)

 

ครั้งที่ 6

เมษายน - กรกฎาคม 2564

1,311 คน

ร้อยละ 44.9

(589 คน)

ร้อยละ 20.6

(270 คน)

ร้อยละ 14.3

(189 คน)

 

ข้อมูลจากตารางนี้สามารถสรุปได้ทันทีว่าการพูดคุยเรื่องรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับพื้นที่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นเพราะคนส่วนใหญ่เห็นด้วย จึงนำมาสู่คำถามต่อไปซึ่งได้สรุปออกมาเป็นตารางด้านล่างนี้

คำถามที่ 3 รูปแบบการบริหารปกครองที่อยากเห็นที่สุด

ครั้งที่

จำนวนตัวอย่าง

เพิ่มอำนาจอบจ. อบต.

ไม่เปลี่ยน

แปลงใดๆ

เลือกตั้งผู้ว่าฯ/เขตปกครองพิเศษ

เลือกตั้งผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัด

เลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยรวม จชต. เป็นเขตเดียว

เป็นอิสระจากไทย

 

ไม่รู้/ขอไม่ตอบ

(ในรูปแบบอิสระจากไทย)

ครั้งที่ 1

1,560 คน

ร้อยละ 22.2

ร้อยละ15.6

ร้อยละ 26.5

 

 

ร้อยละ 14.2

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

ครั้งที่ 2

1,570 คน

ร้อยละ 28.1

ร้อยละ15.3

ร้อยละ 32.4

 

 

ร้อยละ 12.7

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

ครั้งที่ 3

1,608 คน

 

ร้อยละ 21.2

ร้อยละ14.1

ร้อยละ 25.2

 

 

ร้อยละ 12.1

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

ครั้งที่ 4

1,609 คน

 

ร้อยละ18.2

(292 คน)

 

ร้อยละ 23

(370 คน)

ร้อยละ 19.5

(314 คน)

ร้อยละ 13.9 (225 คน)

ร้อยละ 40.3

(648 คน )

ครั้งที่ 5

1,637 คน

ร้อยละ 17.9

(292 คน)

ร้อยละ20.7

(339 คน)

ร้อยละ 23.3

(382 คน)

 

 

ร้อยละ 10.1

(165 คน)

ร้อยละ 34.5

(566 คน)

ครั้งที่ 6

1,311 คน

ร้อยละ 27.3

(358 คน)

ร้อยละ25.9

(340 คน)

ร้อยละ 24.4

(319 คน)

 

 

ร้อยละ 13.4

(176 คน)

ร้อยละ 35.2

(431 คน)

ข้อมูลจากตารางชี้ให้เห็นว่าสอดคล้องกับที่ ศรีสมภพได้สรุปไว้ข้างต้น เพราะหลายรูปแบบล้วนอยู่ภายใต้หลักการกระจายอำนาจตามกฎหมายได้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีผู้เลือกตอบเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทย ก็คือ การแยกเป็นเอกราชนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม แม้รูปแบบการเป็นอิสระจากประเทศไทยจะมีผู้เลือกตอบโดยรวมอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 กว่าๆ ทว่ายังมีมีผู้ที่ “ขอไม่ตอบ” “ไม่รู้” ในคำถามที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทยโดยรวมทั้ง 6 ครั้งประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ตอบคำถามทั้งหมด เนื่องจากเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหว และผู้ตอบมีความระมัดระวังตัวในการแสดงความคิดเห็น

แต่ถ้าลองนำผลสำรวจในคำถามข้อที่ 1 “หากต้องการจะให้ปัญหาความไม่สงบยุติลง ทางออกคือต้องแยกเป็นรัฐอิสระจากประเทศไทยหรือไม่” มาเปรียบเทียบกับประชากรทั้งหมดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4อำเภอของสงขลารวมกันประมาณ 2 ล้านคน โดยเดาใจว่า ผู้เลือก “ไม่รู้” “ขอไม่ตอบ” และ “ไม่ระบุ” จริงๆ แล้ว “ต้องการแยก” หรือ “ไม่ต้องการแยกเป็นรัฐอิสระจากประเทศไทย ผลที่ได้ก็จะออกเป็น 3 ทางดังนี้ 

1. หากผู้เลือก “ไม่รู้” “ขอไม่ตอบ” และ “ไม่ระบุ” ทั้งหมด เลือกที่จะ “แยกเป็นรัฐอิสระ” สัดส่วนของผู้ที่ต้องการแยกเป็นรัฐอิสระจะอยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด หรือ ประมาณร้อยละ 50 เทียบเท่ากับประชากรประมาณ 1 ล้านคน
2. หากผู้เลือก “ไม่รู้” “ขอไม่ตอบ” และ “ไม่ระบุ” ทั้งหมด เลือกที่จะ “ไม่แยกเป็นรัฐอิสระ” สัดส่วนของผู้ที่ไม่ต้องการแยกเป็นรัฐอิสระจะอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 80-90 เทียบเท่ากับประชากรประมาณ 1,600,000 คน ถึง 1,800,000 คน
3. หากผู้เลือก “ไม่รู้” “ขอไม่ตอบ” และ “ไม่ระบุ” เลือกที่จะ “แยกเป็นรัฐอิสระ” และ“ไม่แยกเป็นรัฐอิสระ” มีจำนวนคนละครึ่งกัน สัดส่วนของผู้ที่ต้องการแยกเป็นรัฐอิสระจะอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 65 เทียบเท่าประชากรประมาณ 1,300,000 คน และ สัดส่วนของผู้ที่ไม่ต้องการแยกเป็นรัฐอิสระจะอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 35 เทียบเท่าประชากรประมาณ 700,000 คน

แม้ผลสำรวจเกี่ยวกับทั้ง 3 คำถามในข้อนี้ อาจยังไม่สะท้อนความคิดเห็นที่แท้จริง แต่หากรัฐนึกอยากจะให้มีการทำ “ประชามติว่าเห็นด้วยกับการแยกจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือปาตานีเป็นเอกราช” ขึ้นมาจริง ๆ อย่างที่ตั้งคำถามในตอนต้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลแค่อยากสำรวจทัศนคติของประชาชนเฉยๆ หรือเพื่อฐานข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อจัดการอนาคตของพื้นที่ หรืออะไรก็แล้วแต่ คำตอบที่ได้อาจสะท้อนความจริงได้มากกว่านี้ และเชื่อว่าแนวทางการแก้ปัญหาก็อาจจะตั้งอยู่บนฐานความเป็นจริงของพื้นที่และมีความยั่งยืนมากขึ้นก็เป็นได้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net