Skip to main content
sharethis

ตามที่ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 50 พนักงาน บจก.โฮยา กลาสดิสค์ (ประเทศไทย) นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง 13 ข้อ พร้อมลงลายมือชื่อกว่า 3,286 รายชื่อ ยื่นกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน


 


และต่อมามีการชุมนุมหน้าโรงงานพร้อมกับเจรจาทวิภาคีกับนายจ้างแล้ว 5 ครั้งนับตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. 50 มีการประกาศตั้งสหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และเครื่องไฟฟ้าสัมพันธ์ (สอฟส.) ในการประชุมสามัญประจำปีเมื่อ 17 ม.ค. และต่อมามีการลงมติยื่นพิพาทแรงงานเมื่อวันที่ 22 ม.ค. หลังการเจรจาเมื่อวันที่ 21 ม.ค. ไม่มีความคืบหน้านั้น


 


 



รอเพื่อนที่กำลังเจรจา หน้าศูนย์ราชการกระทรวงแรงงาน จ.ลำพูน


 



นางสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง (ยืนซ้ายมือ) หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง ตอบคำถามเรื่องกฎหมายแรงงานให้กับพนักงาน บจก.โฮยา กลาสดิคส์ 


 



 



 



 



 


ตามที่ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 50 พนักงาน บจก.โฮยา กลาสดิสค์ (ประเทศไทย) นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง 13 ข้อ พร้อมลงลายมือชื่อกว่า 3,286 รายชื่อ ยื่นกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน


 


และต่อมามีการชุมนุมหน้าโรงงานพร้อมกับเจรจาทวิภาคีกับนายจ้างแล้ว 5 ครั้งนับตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. 50 มีการประกาศตั้งสหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และเครื่องไฟฟ้าสัมพันธ์ (สอฟส.) ในการประชุมสามัญประจำปีเมื่อ 17 ม.ค. และต่อมามีการลงมติยื่นพิพาทแรงงานเมื่อวันที่ 22 ม.ค. หลังการเจรจาเมื่อวันที่ 21 ม.ค. ไม่มีความคืบหน้านั้น


 


 


ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนัดแรก คนงานออกโอที 2 กะ 5 วัน โต้มาตรการลดโอที


ล่าสุด หลังจากที่มีการยื่นข้อพิพาทไปนั้น วานนี้ (24 ม.ค.) ได้มีการนัดเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานครั้งที่ 1 ระหว่างทาง บจก.โฮยา กับ ผู้แทนเจรจาฝ่ายลูกจ้าง ที่ห้องประชุม สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ลำพูน โดยเริ่มเจรจาตั้งแต่เวลา 9.30 น.


 


โดยผู้แทนเจรจา 3 ฝ่าย ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ได้แก่ นายศรีทน เปรื่องวิชาธร นายธาดา ธิมาเกตุ นายอาทิตย์ หิมะกลัส นายสนอง ศรีคำสุข นายโชคชัย ใจดี นายชาตรี บุญมา และนายอัครเดช ชอบดี


 


ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ได้แก่ นายคูนิฮิโร คาโต้ นายโนริโอะ ชิบาตะ นายยูจิ ยามาซากิ นายศุภวัฒน์ เทพยุหะ นางรัตน์ธพร มานะการ นางสาวสมถวิล จันทราช และนางโทโมโกะ คาโต้


 


และฝ่ายเจ้าหน้าที่ ได้แก่ นางสาวทิพากร อุดมมณีสุวัฒน์ (สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน) และ นางสุจินตนา ศรีตะระโส (นักวิชาการแรงงาน 7 ว สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน)


 


ขณะที่หลังเวลา 17.00 น. พนักงานได้เริ่มออกมาชุมนุมหน้าบจก.โฮยา เพื่อรอฟังผลเจรจา โดยในวันนี้พนักงานได้ตอบโต้มาตราการของผู้บริหารที่จะยุบช่วงทำงานล่วงเวลา หากมีแผนกที่พนักงานเข้าทำงานช่วงล่วงเวลาไม่ถึง 75%


 


โดยทางพนักงานได้ตอบโต้มาตรการดังกล่าวด้วยการยกเลิกการทำโอทีทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน รวม 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วัน นับจากวันที่ 22 ม.ค. ที่มีการยื่นพิพาทแรงงาน จึงทำให้วันหนึ่งมีการหยุดงานโดยปริยาย 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้บริษัททำการผลิตเหลือวันละ 16 ชั่วโมง จากเดิมที่สามารถผลิตได้ 24 ชั่วโมงต่อวัน


 


ระหว่างที่พนักงานกว่า 2,000 คนชุมนุมรอฟังผลการเจรจา มีการชี้แจงข้อกฎหมายแรงงานโดยนางสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง การชี้แจงเรื่องการเจรจาโดยแกนนำพนักงาน สลับการเล่นดนตรีให้กำลังใจเพื่อนคนงาน


 


 


แกนนำแถลงความคืบหน้าผลเจรจา


ด้านการเจรจาไกล่เกลี่ยที่ดำเนินมาตั้งแต่เวลา 9.30 น. นั้น สิ้นสุดในเวลา 21.30 น. และในเวลา 21.45 น. แกนนำพนักงานที่เป็นผู้แทนเจรจาทั้ง 7 ได้มาถึง และชี้แจงผลเจรจา โดยนายอัครเดช ชอบดี กรรมการสหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และเครื่องไฟฟ้าสัมพันธ์ (สอฟส.) กล่าวว่าบรรยากาศการเจรจาในวันนี้เป็นไปด้วยดี เป็นไปด้วยความเป็นมิตรกัน และอ่านบันทึกข้อความส่วนราชการสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน ที่ ลพ 0023/140 วันที่ 24 มกราคม 2551 เรื่อง บันทึกการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานครั้งที่ 1


 


โดยบันทึกการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานดังกล่าว แบ่งออกเป็น 4 ข้อ สาระโดยสรุปคือ ข้อแรก ผลการเจรจาข้อเรียกร้องที่ 2, 5, 6, 7, 9, 12 และ 13 ซึ่งเคยเจรจาไปแล้วนั้นให้เป็นผลข้อตกลงสภาพการจ้าง และทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการเจรจาข้อเรียกร้องที่เหลือ


 


นอกจากนี้บริษัทฯ ยกเลิกเกณฑ์การตัดสินใจในการทำงานล่วงเวลาที่ 75% ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2551 โดยลูกจ้างทุกคนจะทำงานให้บรรลุเป้าหมายผลผลิตตามแผนการผลิตของบริษัทฯ และจะไม่มีการชุมนุมของลูกจ้างนับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2551 เป็นต้นไป


 


 


จ่ายโบนัส 1.5 เท่า งวด เม.ย. ส่วนงวด ธ.ค. ใช้เกณฑ์พิจารณาร่วมนายจ้าง-พนักงาน


ข้อ 2. ตามข้อเรียกร้องข้อที่ 1 บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างงวดประจำเดือนเมษายน 2551 สำหรับลูกจ้างฝ่ายผลิต (Operator) ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินผลในระดับ D ขึ้นไปในอัตราไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้าง และลูกจ้างที่ได้รับผลการประเมินในระดับ A ไม่น้อยกว่าอัตรา 1.5 เท่า โดยคำนวณตามวิธีการคำนวณที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สำหรับเงินโบนัสประจำเดือนธันวาคม 2551 ทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาร่วมกันอีกครั้งหนึ่งภายในเดือนตุลาคม 2551 ส่วนลูกจ้างระดับอื่นๆ บริษัทฯ ยังคงใช้เงื่อนไขการให้เงินโบนัส ตามหลักเกณฑ์เดิม


 


ข้อ 3. ตามข้อเรียกร้องข้อที่ 4 บริษัทฯ ตกลงปรับสภาพการจ้างของลูกจ้างรายวันที่ทำงานติดต่อกัน 5 ปีขึ้นไป ให้เป็นลูกจ้างรายเดือนคือ


 


ลูกจ้างที่เข้ามาทำงานก่อนวันที่ 21 มีนาคม 2546 จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนตั้งแต่งวดการคำนวณค่าจ้างเดือนเมษายน 2551 (21 มีนาคม - 20 เมษายน 2551) เป็นต้นไป


 


ลูกจ้างที่เข้ามาทำงานตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2546 เป็นต้นไป จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ต้องผ่านเกณฑ์ประเมินผลที่บริษัทฯ กำหนด โดยทำการประเมินปีละ 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน และเดือนตุลาคมของทุกปี จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน (ตามเอกสารที่ฝ่ายนายจ้างจะนำมาเป็นหลักฐานในการประชุมครั้งต่อไป)


 


ข้อ 4. ทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้มีการเจรจาครั้งที่ 2 ในวันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2551 เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน


 


ทั้งนี้ คณะกรรมการสหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และเครื่องไฟฟ้าสัมพันธ์ ตกลงให้บันทึกเป็นหลักฐานว่า จะไม่ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงการจ้างยังมีผลบังคับ ซึ่งหมายความว่าภายในปี 2551 ซึ่งข้อตกลงการจ้างยังมีผลบังคับจะยังไม่มีการยื่นข้อเรียกร้องใดๆ โดยท้ายเอกสารมีการลงลายมือชื่อผู้แทนการเจรจาทั้งสามฝ่าย


 


 


สรุปได้แล้ว 9 เหลือ 4 นัดเจรจารอบหน้าวันนี้


สรุปความคืบหน้าของการเจรจา ตกลงได้แล้ว 9 ข้อ คือข้อ 1, 2, 4, 5, 6, 7, 9, 12 และ 13 ยังตกลงไม่ได้ 4 ข้อคือข้อ 3, 8, 10 และ 11 รอเจรจาครั้งที่ 2 ในวันนี้ (25 ม.ค.) เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน


 


นายอัครเดช ชอบดี กรรมการสหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และเครื่องไฟฟ้าสัมพันธ์ (สอฟส.) "บริษัทขอร้องให้ทำโอทีตามปกติ ขอให้ช่วยกันทำงานเพราะบริษัทลำบาก และจะไม่มีการชุมนุมอีกแล้ว ยกเว้นวันพรุ่งนี้จะชุมนุมอีกวันเพราะมีการเจรจาข้อที่เหลืออยู่ คิดว่าจะน่าจะจบวันพรุ่งนี้ (25 ม.ค.) แล้ว ดังนั้นช่วยกันบอกใครที่ยังไม่เคยมาให้มาชุมนุมเสีย"


 


"วันนี้เจรจาแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เรื่องโบนัสอย่าคิดมาก เพราะเดือนธันวาคมนี้ ปลายปีนี้เราจะช่วยกันทำงานตามแผน วัดกันในเดือนตุลาคม เราจะเอาผลงาน กำไร ผลประกอบการมาวัดเรื่องโบนัสกัน ตกลงกันทั้งสองฝ่ายคือสหภาพแรงงานและนายจ้าง วันนี้ข้อเรียกร้องของเราเป็นไปด้วยดี เรื่องอะไรต่างๆ ที่ไม่เคยพอใจต่อกัน ทั้งต่อหัวหน้างาน ผู้บังคับบัญชา ก็ไม่ต้องต่อว่าอะไรกันอีกแล้ว ช่วยกันทำโอทีมากๆ บริษัทจะได้แบ่งกำไรให้เรา" นายอัครเดช กล่าว


 


นายชาตรี บุญมา กรรมการสหภาพแรงาน สอฟส. กล่าวว่า เราต้องยึดมั่นในพระราชดำรัสเรื่องความสามัคคีของในหลวงเป็นแนวทาง สิ่งที่กระทบกระทั่งกันไปต้องขออภัยด้วย ขอเชิญชวนพี่น้องที่ยังไม่ได้สมัครสหภาพแรงงานให้ไปสมัคร สหภาพไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย สหภาพเป็นสิ่งที่จะพัฒนาองค์กร จะให้ประโยชน์ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง


 


นายศรีทน เปรื่องวิชาธร ประธานสหภาพแรงงาน สอฟส. กล่าวถึงการชุมนุมและผลการเจรจาวันนี้ว่า "อย่าไปคิดว่าใครชนะ หรือใครแพ้ เราเรียนรู้ด้วยการกระทำจริง วันนี้สหภาพเกิดขึ้นแล้ว ในส่วนของวิธีการมันจะสอนพวกเรา หลังจากนี้ไปเราทำตัวอย่างไร อย่าพูดในแง่ลบ ต้องให้เกียรติกัน ให้เกียรติบริษัท และให้เกียรติคนที่ไม่ให้เกียรติเราด้วย เราจะได้รับเกียรติคืนมาสองเท่า"


 


โดยมีการยุติการชุมนุมในเวลาประมาณ 22.20 น. พนักงานที่เหลือได้ช่วยกันทำความสะอาดสถานที่ชมนุม สำหรับการเจรจาครั้งที่ 2 มีในวันนี้ (25 ม.ค.) เวลา 9.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน


 


สรุปความคืบหน้าของการเจรจาข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ยื่นต่อ บจก.โฮยากลาสดิสค์ (ประเทศไทย) (หลังการเจรจาครั้งที่ 6 ซึ่งเป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานครั้งที่ 1 วันที่ 24 มกราคม 2551)


 















































ข้อเรียกร้อง


ผลการเจรจา


1.ขอให้บริษัทฯ จ่ายโบนัสให้กับพนักงานครั้งละ 2.5 เท่าทุกคนโดยไม่มีการตัดเกรด


มีการเจรจาในวันที่ 24 ม.ค. 2551 และผลการเจรจาสิ้นสุด


บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างงวดประจำเดือนเมษายน 2551 สำหรับลูกจ้างฝ่ายผลิต (Operator) ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินผลในระดับ D ขึ้นไปในอัตราไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้าง และลูกจ้างที่ได้รับผลการประเมินในระดับ A ไม่น้อยกว่าอัตรา 1.5 เท่า โดยคำนวณตามวิธีการคำนวณที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สำหรับเงินโบนัสประจำเดือนธันวาคม 2551 ทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาร่วมกันอีกครั้งหนึ่งภายในเดือนตุลาคม 2551 ส่วนลูกจ้างระดับอื่นๆ บริษัทฯ ยังคงใช้เงื่อนไขการให้เงินโบนัส ตามหลักเกณฑ์เดิม


2.ขอให้บริษัทฯ เพิ่มค่าน้ำมันให้กับพนักงานทุกคนจากเดิมที่บริษัทฯ จ่ายค่าน้ำมันให้พนักงานวันละ 20 บาท เป็นวันละ 50 บาท


มีการเจรจาในวันที่ 26 ธ.ค. และผลการเจรจาสิ้นสุด


ทั้งสองฝ่ายยอมรับข้อเสนอเพิ่มค่าน้ำมันให้พนักงานจากเป็นวันละ 35 บาท


3. ขอให้บริษัทฯ ปรับค่าจ้างของพนักงานรายวันและพนักงานรายเดือนเพิ่มขึ้นจากเดิมคนละ 20% และให้ปรับค่าจ้างให้กับพนักงานขึ้นตามส่วนต่างของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด


ยังไม่สิ้นสุด รอการเจรจา


4. ขอให้บริษัทฯ ปรับสภาพการจ้างของพนักงานรายวันที่ทำงานติดต่อกัน 3 ปีขึ้นไปให้เป็นพนักงานรายเดือน


มีการเจรจาในวันที่ 24 ม.ค. 2551 และผลการเจรจาสิ้นสุด


บริษัทฯ ตกลงปรับสภาพการจ้างของลูกจ้างรายวันที่ทำงานติดต่อกัน 5 ปีขึ้นไป ให้เป็นลูกจ้างรายเดือนคือ


 


-ลูกจ้างที่เข้ามาทำงานก่อนวันที่ 21 มีนาคม 2546 จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนตั้งแต่งวดการคำนวณค่าจ้างเดือนเมษายน 2551 (21 มีนาคม - 20 เมษายน 2551) เป็นต้นไป


 


-ลูกจ้างที่เข้ามาทำงานตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2546 เป็นต้นไป จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ต้องผ่านเกณฑ์ประเมินผลที่บริษัทฯ กำหนด โดยทำการประเมินปีละ 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน และเดือนตุลาคมของทุกปี จะได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน (ตามเอกสารที่ฝ่ายนายจ้างจะนำมาเป็นหลักฐานในการประชุมครั้งต่อไป)


5. ขอให้บริษัทฯ ปรับเปลี่ยนเรื่องสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงาน จากเดิมที่พนักงานสามารถใช้สิทธิ์ในสวัสดิการรักษาพยาบาลได้เพียงตนเองเท่านั้น ให้สามารถใช้ครอบคลุมถึงสมาชิกในครอบครัวของพนักงาน เช่น พ่อ,แม่,สามี ภรรยา,บุตร  และญาติร่วมสายโลหิต 3 คน)


มีการเจรจาในวันที่ 26 ธ.ค. และผลการเจรจาสิ้นสุด


บริษัทฯ ยอมปรับเปลี่ยนเรื่องสวัสดิการรักษาพยาบาล นอกจากตัวพนักงานแล้วให้ครอบคลุมถึงสมาชิกในครอบครัวของพนักงาน เช่น พ่อ,แม่,สามี ภรรยา และบุตร


6. ขอให้บริษัทฯ ปรับปรุงที่จอดรถของพนักงานโดยการลาดซีเมนต์คอนกรีตบริเวณลานจอดรถจักรยานยนต์และทำหลังคาลานจอดรถยนต์ ทั้งหมด


ผลการเจรจาสิ้นสุด


บริษัทฯ ยอมรับข้อเสนอ ตั้งแต่การเจรจาวันที่ 13 ธ.ค.


7. ขอให้บริษัทฯ เพิ่มวันหยุดตามประเพณีจากเดิม 13 วันเป็น 15 วันโดยให้มีวันหยุดสิ้นปี ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม ถึง วันที่ 4 มกราคม ของทุกปี และวันหยุดสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน ถึงวันที่16 เมษายน ของทุกปี


มีการเจรจาในวันที่ 9 ม.ค. และผลการเจรจาสิ้นสุด


- บริษัทฯ เสนอให้มีวันหยุดในช่วงวันหยุดสิ้นปีต่อเนื่อง 4 วันคือวันที่ 31 ธค.ถึงวันที่ 3 มค. และให้หยุดในช่วงวันหยุดวันสงกรานต์ต่อเนื่องกัน 4 วันคือวันที่ 13 เม.ย ถึง 16 เม.ย.  โดยเริ่มมีผลตั้งแต่งวดปฏิทินวันหยุดปี 2551 ปีต่อปี


- บริษัทฯ เสนอ อนุญาตให้พนักงานหยุดงาน ในวันหยุดตามประเพณี 13 วันนอกเหนือไปจากวันหยุดต่อเนื่องช่วงสงกรานต์ โดยยังคงได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย หากบริษัทร้องขอความร่วมมือให้มาทำงาน อำนาจตัดสินใจจะอยู่ที่พนักงาน


8. ขอให้บริษัทฯ เพิ่มเงินสวัสดิการตามสภาพการทำงานของพนักงาน โดยงานที่มีลักษณะยืนทำงานให้มีค่ายืนจากเดิมที่เคยได้วันละ 7 บาท เป็นวันละ 10 บาท และงานที่มีลักษณะใช้สายตาในการทำงานให้มีค่าสายตาคนละ 10 บาทต่อวัน ค่าเสี่ยงภัยในการทำงานสำหรับพนักงานที่ทำงานกับสารเคมีอันตราย และการทำงานบนที่สูง คนละ 10 บาทต่อวัน


มีการเจรจาในวันที่ 9 ม.ค. แต่ยังไม่สิ้นสุด


- บริษัทฯ เสนอให้พนักงานที่เคยได้รับค่ายืน 7 บาท ต่อคนต่อวันที่เคยเซ็นต์ชื่อรับการเปลี่ยนแปลง 5 บาทสามารถเลือกกลับมาใช้เงื่อนไขเดิมในการจ่ายค่ายืนที่ 7 บาทต่อคนต่อวันได้โดยความยินยอมของพนักงานที่จะเลือก


- บริษัทฯ เสนอเพิ่มเงินสวัสดิการตามสภาพการทำงานที่มีลักษณะใช้สายตาในการทำงาน . ค่าเสี่ยงภัยในการทำงานที่ทำงานกับสารเคมีอันตราย และการทำงานบนที่สูงคนละ 10 บาท ฝ่ายนายจ้างจะกำหนดวันและเวลาเข้าไปสำรวจสถานที่ทำงานมาแจ้งในที่เจรจาครั้งต่อไปวันที่ 21 มค. 2551 เวลา 10.00 น.


รอเจรจากับพนักงานในวันที่ 24 ม.ค. 2551


9. ขอให้บริษัทฯ ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค


9.1 บริเวณที่เป็นจุดน้ำดื่มซึ่งแต่เดิมมีแต่ระบบน้ำเย็นขอให้เปลี่ยนเป็นเครื่องที่มระบบทั้งน้ำเย็นและน้ำร้อน


9.2 เปลี่ยนก๊อกน้ำที่เป็นแบบเซ็นต์เซอร์ให้เป็นแบบมือกด


9.3 ปรับปรุงสภาพโรงอาหารและเพิ่มจำนวน TV พร้อมติด UBC


ผลการเจรจาสิ้นสุด


บริษัทฯ ยอมรับข้อเสนอ ตั้งแต่การเจรจาวันที่ 13 ธ.ค.


10. ขอให้บริษัทฯ เพิ่มสวัสดิการในการลากิจของพนักงานทุกคนคนละ 5 วันต่อปี และให้มีวันลาพักร้อนสำหรับพนักงานทุกคนปีละ 15 วัน


มีการเจรจาในวันที่ 26 ธ.ค.แต่ยังไม่สิ้นสุด


- บริษัทฯ ยอมรับข้อเสนอเรื่องวันลาพักร้อนสูงสุด 15 วัน โดยมีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นตามอายุงานปีละ 1 วัน


- ส่วนเรื่องลากิจคนละ 5 วันต่อปี ผู้บริหารรับพิจารณา แต่ขอศึกษาข้อกฎหมายก่อน


11. ขอให้มีสวัสดิการกับพนักงานที่มีอายุงานต่อเนื่อง ดังนี้


พนักงานที่ทำงานครบ 5 ปี ได้รับเงิน 5,000 บาท


พนักงานที่ทำงานครบ 10 ปี ได้รับเงิน 10,000 บาท


พนักงานที่ทำงานครบ 15ปี ได้รับเงิน 15,000 บาท


มีการเจรจาในวันที่ 9 ม.ค. แต่ยังไม่สิ้นสุด


- บริษัทฯ เสนอให้มีสวัสดิการกับพนักงานที่มีอายุงานต่อเนื่อง ดังนี้


พนักงานที่ทำงานครบ 10 ปี ได้รับเงิน 10,000 บาท


พนักงานที่ทำงานครบ 15 ปี ได้รับเงิน 15,000 บาท


พนักงานที่ทำงานครบ 20 ปี ได้รับเงิน 20,000 บาท


เหลือเจรจาเงินสวัสดิการให้กับพนักงานที่มีอายุงานครบ 5 ปี


12. ในบรรดาข้อตกลง/สวัสดิการอื่นใด และ/หรือ ประเพณี ปฏิบัติที่ไม่มีข้อแก้ไขเปลี่ยนแปลง ให้คงสภาพการจ้างเหมือนเดิม


ผลการเจรจาสิ้นสุด


บริษัทฯ ยอมรับข้อเสนอตั้งแต่การเจรจาวันที่ 9 ม.ค. 51


13. ห้ามมิให้นายจ้างรังแก/เปลี่ยนแปลงหน้าที่ หรือ เลิกจ้าง หรือกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่สามารถทนทำงานอยู่ได้


ผลการเจรจาสิ้นสุด


บริษัทฯ ยอมรับข้อเสนอ ตั้งแต่การเจรจาวันที่ 13 ธ.ค. 50


 


 


ข่าวประชาไทที่เกี่ยวข้อง


พนักงานโรงงานโฮยานิคมลำพูนยื่นข้อเรียกร้อง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ, ประชาไท, 11/12/2550


คนงานนิคมจ.ลำพูนรวมใจสู้-ร้องนายจ้างปรับปรุงสวัสดิการ-สภาพการทำงาน, ประชาไท, 12/12/2550


บทความ: เมื่อคนงานโฮย่ากลาสดิสก์ลำพูนรวมใจสู้: ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นย่อมมีการต่อสู้, ประชาไท, 13/12/2550


คนงานโฮยาชุมนุมรอฟังการเจรจานัดแรก แต่ผลยังไม่คืบหน้า, ประชาไท, 14/12/2550


มุมมองทางเศรษฐกิจ จากกรณีการต่อสู้ของแรงงานโฮย่า กลาสดิสค์ นิคมอุตสาหกรรมลำพูน, ประชาไท, 18/12/2550


คนงานโฮยาชุมนุมหนที่ 3 - ทำพิธีสู่ขวัญเสริมกำลังใจ - รอฟังผลเจรจา, ประชาไท, 20/12/255


จดหมายจากพนักงานโฮย่า: บันทึกหนึ่งของการชุมนุม, ประชาไท, 20/12/2550


เครือข่ายปชช.เหนือ จม.เปิดผนึกสนับสนุนข้อเรียกร้องคนงานโฮยา กลาสดิสด์(ประเทศไทย) - ประชาไท, 25/12/2550


คนงานลำพูนชุมนุม รอบ 4 ร้องนายจ้างปรับปรุงสภาพการจ้างงาน, ประชาไท, 26/12/2550


คนงานโฮย่าชุมนุมครั้งที่ 5 เจรจายืดเยื้อถึงเที่ยงคืน, ประชาไท, 11/12/2551


คนงานโฮยา จ.ลำพูน ประกาศตั้งสหภาพแรงงานแห่งที่สองในภาคเหนือ, ประชาไท, 18/12/2551


กำลังใจเพื่อสหภาพแรงงานแห่งที่สองของภาคเหนือ: "เราเป็นคน ไม่ใช่แค่ปัจจัยการผลิต", ประชาไท, 21/1/2551


คนงานโฮยายื่นพิพาทแรงงานหลังเจรจาไม่คืบ, ประชาไท, 22/1/2551


ผลไกล่เกลี่ยพิพาทแรงงานโฮยานัดแรกคืบหน้า, ประชาไท, 25/1/2551

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net