Skip to main content
sharethis

แอมเนสตี้ฯ มอบรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจําปี 2566 ทั้งสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ ข่าว หรือสารคดีเชิงข่าวที่นําเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ และภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชน”

19 ก.พ.2567 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย  รายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ฯ จัดงานประกาศผลและพิธี มอบรางวัล “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจําปี 2566 ห้องประชุม บ้าน (Barn) ชั้น 1 โรงแรม เบสท์เวสเทิร์น จตุจักร กรุงเทพ

โดยมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ ข่าว หรือสารคดีเชิงข่าวที่นําเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ และภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชน”

พุทธณี กางกั้น ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า สื่อมวลชน เปรียบเสมือน “แสงเทียน” ที่ฉายแสงส่องให้คนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเชิญชวนให้เรา ต่างบ่มเพาะความเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น จึงเล็งเห็นความสําคัญในการสร้างกําลังใจให้กับสื่อมวลชนที่ ทํางานอย่างหนักในการนําเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คํานึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วย การจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น

ขณะที่ประเทศไทยกําลังตกอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิด “สื่อมวลชน” คือฟันเฟือง สําคัญในการทําให้ความจริงปรากฏขึ้นอย่างรอบด้าน ไร้อคติ โดยยึดหลักจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังคงเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเคารพการทําหน้าที่ของสื่อมวลชน เพื่อทําให้ทุกคน ได้รับอิสรภาพในการสื่อสาร ไม่ถูกข่มขู่ ไม่ถูกคุกคาม และได้รับการคุ้มครองอย่างดีที่สุด เพื่อช่วยกันทําให้เรื่อง สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของทุกคน

ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิ มนุษยชน ประจําปี 2564 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรร และตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดโดย ผลการตัดสินมีดังนี้

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีข่าว ประเภทสื่อออนไลน์

7 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง “สาวม้งยุคใหม่ใช้ TikTok แชร์ความทุกข์จากการทํางานหนักหลังแต่งงาน” สํานักข่าวประชาไท https://prachatai.com/journal/2022/12/102079
  • ผลงานเรื่อง “เหตุไฉน “สหภาพ” ถึงยังเป็น “คําต้องห้าม” ในวงการสื่อไทย?” สํานักข่าว HaRDstories
  • ผลงานเรื่อง “จากเมียนมาถึงไทย: แรงงานข้ามชาติ LGBTQ ยังคงเปราะบาง เมื่อต้นทางและโรงงานไม่ใช่ ที่ปลอดภัย” สํานักข่าวประชาไท https://prachatai.com/journal/2022/12/101884
  • ผลงานเรื่อง “Traffickers escape justice over borders as victims go punished at home” สํานักข่าว Coconuts Bangkok https://coconuts.co/bangkok/features/traffickers-escape-justice-over-borders-as-victims-go-punished-at-home/
  • ผลงานเรื่อง “สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด" สภาวะยกเว้นอย่างถาวรของผู้ต้องหาคดีการเมือง” The 101.world
  • ผลงานเรื่อง “กว่าจะได้เรียน" เด็กชายแดนไทย-เมียนมา ต้องผ่านอะไรบ้าง” สํานักข่าวประชาไท https://prachatai.com/journal/2023/04/103738
  • ผลงานเรื่อง “เจนปรียา จําปีหอม ในความขื่นขมของเบอร์รี่” สํานักข่าว The Isaan Record https://theisaanrecord.co/2023/10/31/jenpreeya-jampeehom-bloody-berry/

รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

2 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานชุด “นิติสงคราม หยุดด้วย นิติธรรมและนิรโทษกรรม" สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ 
  • ผลงานชุด “ภัยคุกคามนักเคลื่อนไหวในอาเซียน” ThaiPBSWorld

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

1 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง “เขื่อนผันน้ํายวม กระทบชีวิตลุ่มน้ําสาละวิน?” สํานักข่าววันนิวส์ https://www.youtube.com/watch?v=EZNTqtV3-eo

รางวัลชมเชยสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

2 รางวัล ได้แก่

รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นําเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์

1 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง “Digital Harassment - Silent Pain: แผลร้ายซ่อนลึกของนักกิจกรรม เมื่อถูกทําร้ายในโลกเสมือน" The 101.world https://www.the101.world/digital-harassment-silent-pain-vdo/

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นําเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์

4 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานเรื่อง “เด็กเลวในสังคมแสนดี” สํานักข่าวไทยรัฐพลัส https://plus.thairath.co.th/video/100036
  • ผลงานเรื่อง "โลกสีหม่นของคนเป็นแม่" BrandThink https://www.youtube.com/watch?v=xu6iYn-Gwbg 
  • ผลงานเรื่อง “Ain't This Deserve Bail Rights?: อย่างนี้ไม่ควรได้ประกันตัว (หรือ?)" สํานักข่าวประชาไท https://www.youtube.com/watch?v=Zm9aV3ZJD5w
  • ผลงานเรื่อง “ช้างล้น-คนตาย เสียงร่ําไห้จากป่าตะวันออก” สํานักข่าว VOICE https://www.youtube.com/watch?v=zEeZEjmJuQg 

รางวัลที่ 1 ประเภทภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชน” ได้แก่

  • ผลงานชุด " จ้างวานข้า" ไร้บ้าน ไม่ไร้งาน” โดย ปฏิภัทร จันทร์ทอง สํานักข่าว VOICE

รางวัลที่ 2 ได้แก่

ผลงานชุด "แก่ จน เจ็บ ชีวิตจริงกับความหวังถึงรัฐบาลใหม่" อานันท์ ชนมหาตระกูล

รางวัลที่ 3 ได้แก่

  • ผลงานชุด "No Man's Land ริมแม่น้ําเมย" เมธิชัย เตียวนะ The 101.world

รางวัลชมเชย 7 รางวัล ได้แก่

  • ผลงานชุด "ติดอยู่ที่อ่างแก้ว” โดย คชรักษ์ แก้วสุราช Thisable.me
  • ผลงานชุด " ลุง" ผู้สร้างสังคมต้านยาเสพติดชุมชนกองขยะหนองแขม” โดย สมศักดิ์ เนตรทอง สถานีโทรทัศน์ PPTV HD 36
  • ผลงานชุด “โมงยามสุดท้ายของโบสถ์จีนสามย่าน เศษซากปรักหักพังบนสายธารแห่งการพัฒนา” โดยธเนศ แสงทองศรีกมล
  • ผลงานชุด "ชุมชนมิตรภาพริมรางรถไฟ" โดย วันนิษา แสนอินทร์
  • ผลงานชุด "INHUMAN" โดย พัดยศ วิเศษสิงห์
  • ผลงานชุด "พื้นที่การศึกษาของเด็กข้ามชาติ" โดย กอบบุญ บูรโชควิวัฒน์ The 101.world ผลงานชุด "การเดินทางของความหวังที่ยังไม่ถึงฝันในวันนี้" โดย ศุภสัณห์ กันณรงค์ The Reporters

พุทธณี กางกั้น กล่าวต่อว่าในปีนี้ยังจัดให้มีการพูดคุยในหัวข้อวงเสวนา “การนําเสนอข่าวไม่ใช่ อาชญากรรม ( Journalism is not a crime)” โดยมีวิทยากรคือ เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการข่าวประชา ไท ปิยนุช โคตรสาร ผู้อํานวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และ ผศ.ดร.พรรษาสิริ กุหลาบอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในตอนท้าย ปิยนุช โคตรสาร ผู้อํานวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้กล่าว ขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นบุคคลสําคัญที่สุดของงานในวันนี้ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนและเป็นสื่อกลางในการต่อสู้ เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั้งที่ผ่านมาและจะทําต่อไป และย้ําต่อ ทางการไทยว่า “การนําเสนอข่าวไม่ใช่อาญากรรม” พร้อมเรียกร้องให้เคารพเสรีภาพของสื่อ รวมทั้งต้องให้ หลักประกันในการคุ้มครองนักข่าวจากการถูกข่มขู่ คุกคาม ปฏิบัติตามหลักนิติรัฐโดยใช้กฎหมายที่ชอบธรรม และคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ขอยืนหยัดเคียงข้าง สื่อมวลชนในการทํางานเพื่อเปิดเผยข้อเท็จจริง และเป็นสักขีพยานต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net