Skip to main content
sharethis

โฆษกอัยการสูงสุดแถลงถึงคดีม.112 ของ "ทักษิณ" ว่าอยู่ระหว่างทำสำนวนให้สมบูรณ์และอัยการพิจารณาตามขั้นตอนก่อนส่งอัยการสูงสุดทำความเห็นว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ 

6 ก.พ.2567 วอยซ์ออนไลน์ไลฟ์ทางเฟซบุ๊ก ประยุทธ เพชรคูณ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสูด พร้อมด้วย ณรงค์ ศรีระสันต์ และ นาเคนทร์ ทองไพรวัลย์ แถลงข่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าทักษิณ ชินวัตร ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริ์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากกรณีที่เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศเกี่ยวกับการเข้ามาบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่ามีองคมนตรีอยู่เบื้องหลัง

ประยุทธกล่าวว่า คดีนี้เมื่อวันที่ 16 ก.พ.2559 อสส ได้รับสำนวนคดีการทำผิดนอกราชอาณาจักรจากพนักงานสอบสวนกองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) พ.ต.อ.โอฬาร สุขเกษม ซึ่งเป็นผู้กล่าวหา โดยทักษิณเป็นผู้ถูกกล่าวหาในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป้นเท็จ เหตเกิดเมื่อวันที่ 21 พ.ค.2558 ที่กรุงโซล เกาหลีใต้และประเทศไทยเกี่จยวพันกัน

เนื่องจากคดีนี้เป็นความผิดตามกฎหมายไทยแต่ทำนอกราชอาณาจักร จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของ อัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 20 ที่ในเวลานั้นอัยการสูงสุดคือ ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร ได้ตรวจสำนวนแล้วได้มีความเห็นและมีคำสั่งทางคดีเมื่อ 19 ก.ย.2559 โดยมีความเห็นควรสั่งฟ้องทักษิณตามข้อกล่าวหาที่พนักงานสอบสวนส่งมา แต่เนื่องจากผู้ต้องหายังหลบหนี อัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการออกหมายจับและต่อมาพนักงานสอบสวนได้ขอต่อศาลอาญา และศาลอาญาก็ออกหมายจับตามอายุความ 15 ปี คือในปี 21 พ.ค.2573

ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ส.ค.2566 ทักษิณเดินทางกลับเข้าราชอาณาจักรไทยจึงมีการควบคุมตัวเพื่อรับโทษในคดีอาญาเรื่องอื่นพนักงานสอบสวนได้นำหมายจับไปแจ้งอายัติตัวไว้กับกรมราชทัณฑ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วและต่อมาในวันที่ 17 ม.ค.2567 กุลธนิต มงคลสวัสดิ์ อธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวนและคณะได้ร่วมกับพนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ร่วมกันเข้าแจ้งข้อกล่าวหาและพฤติการณ์พร้อมข้อเท็จจริงทางคดีให้ทักษิณได้ทราบแล้ว แต่ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธพร้อมกับยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด

อธิบดีอัยการสำนักงานสอบสวนได้ส่งบันทึกการสอบสวนพร้อมหนังสือร้องขอความเป็นธรรมให้กับอัยการผู้รับผิดชอบคดีนี้เพื่อรวบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนสอบสวนให้อัยการพิจารณา ขณะนี้นี้สำนวนอยู่ระหว่างพิจารณาของสำนักงานคดีกิจการสำนักงานอัยการสูงสุด ในการตรวจพิจารณาและทำความเห็นเบื้องต้นเพื่อส่งให้อัยการสูงสุดมีความเห็นและคำสั่งทางคดีต่อไป

ประยุทธอธิบายขั้นตอนปฏิบัติว่าการตรวจสำนวนของพนักงานอัยการว่าสำนวนนั้นครบถ้วนสมบูรณ์แล้วหรือไม่ค่อมีการสอบปากคำทั้งฝ่ายผู้กล่าวหาและฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาแล้ว แต่เนื่องจากคดีนี้ทักษิณในเวลานั้นอยู่ในต่างประเทศไม่ได้ตัวมาสอบปากคำ ทั้งนี้ตามระเบียบของสำนักงาน อสส  ว่าด้วยการดำเนินตคดีอาญาของพนักงานอัยการจะกำหนดให้อับการทั่วประเทศลงความเห็นเพียงว่า “ควรสั่งฟ้อง” ซึ่งในคดีนี้ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ อัยการสูงสุดขณะนั้นก็ยังใช้คำว่า “เห็นควรสั่งฟ้อง” เพราะสำนวนยังไม่ครบถ้วนจะต้องได้ตัวผู้ต้องหามาฟังความทุกฝ่ายก่อน แล้วค่อยวินิจฉัยอีกครั้ง

ดังนั้นในวันที่ 17 ม.ค.2567 ทีมพนักงานสอบสวนของอัยการและพนักงานสอบสวนของ สตช. ได้เข้าไปแจ้งข้อกล่าวหากับทักษิณ ทางผู้ต้องหาได้ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมแนบมาด้วย ทางผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีจึงต้องรวบรวมหลักฐานนำเสนออัยการสูงสุดเพื่อลงความเห็นในขั้นตอนสุดท้าย และเมื่อัยการสูงสุดได้รับสำนวนแล้วตามกฎหมายมีอำนาจสั่งออกมาได้ 3 แนวทางคือ ถ้าเห็นว่ายังมีประเด็นสอบสวนให้กระจ่างสิ้นข้อสงสัยก็สั่งสอบเพิ่ม แต่ถ้าสำนวนพร้อมสมบูรณ์แล้วไม่มีประเด็นสอบสวนเพิ่มเติมก็ทำความเห็นยืนยันคำสั่งเดิมที่สั่งฟ้องไว้แล้วก็จะเปลี่ยนจาก “เห็นควรสั่งฟ้อง” เป็น “สั่งฟ้อง” แต่ถ้าได้พยานหลักฐานจากการสอบเพิ่มเมื่อชั่งน้ำหนักแล้วผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาก็จะออกความเห็นสั่งไม่ฟ้อง

ส่วนอัยการสูงสุดจะมีคำสั่งออกมาแบบใดนั้นเป็นการเร็วเกินไปที่จะไปก้าวล่วง เพราะสำนวนส่งมาฝ่ายกิจการที่มีอธิบดีสำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุดและคณะจะคัดกรองลงความเห็นตรวจพยานหลักฐานแล้วส่งให้รองอัยการสูงสุดก่อนส่งต่ออัยการสูงสุด ซึ่งกระบวนการนี้ไม่มีกรอบระยะเวลาแต่ถ้าไม่มีประเด็นสอบสวนเพิ่มเติมอะไรก็ไม่น่าช้า แต่ถ้ามีประเด็นต้องสอบเพิ่มเติมก็ต้องดูว่าพนักงานสอบสวนจะส่งสำนวนกลับมาช้าหรือเร็วเป็นเรื่องที่ไม่สามารถตอบเรื่องเวลาได้เพราเกี่ยวข้องกับส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน

นาเคนทร์ตอบประเด็นเรื่องที่ทักษิณได้พักโทษอยู่และเรื่องการอายัติตัวว่า ตอนนี้คำสั่งพักโทษทักษิณทางกรมราชทัณฑ์ยังไม่มีคำสั่ง แต่พนักงานสอบสวนได้แจ้งอายัติตัวไว้และทางกรมราชทัณฑ์ได้ตอบรับการอายัติตัวทักษิณไว้แล้วเมื่อ 28 ส.ค.2566 ผลของการอายัติตัวคดีนี้คือทางเรือนจำจะต้องแจ้งพนักงานสอบสวนให้มาอายัติตัวทักษิณในคดีม.112 ไปดำเนินการ แล้วต่อมาก็จะเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนว่าจะให้ปล่อยตัวชั่วคราวทักษิณหรือจะให้เอาตัวไปคุมขังต่อโดยใช้อำนาจศาลฝากขัง เมื่อพนักงานสอบส

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าคดีนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อ 6 ต.ค.2560 เข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุดในเวลานั้นให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าคดีที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ( ปอท.) เคยรวบรวมหลักฐานเมื่อปี 2558 กล่าวหา ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 และความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ โดย ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุดคนก่อนหน้าเขาได้ทำความเห็นสมควรสั่งฟ้องแล้ว

ทั้งนี้ในปี 2558 พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก ได้มอบหมายให้ พล.ต.ศรายุทธ กลิ่นมาหอม ผู้อำนวยการสำนักพระธรรมนูญ กองทัพบก เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ศาลอาญา คดีดำเลขที่ 1824/2558 ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค.2558  ตามฐานความผิดคดีหมิ่นประมาท กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, 326 และ 328

การฟ้องดำเนินคดีครั้งนี้มีการรายงานว่าทักษิณได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศเกี่ยวกับการเข้ามาบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่ามีองคมนตรีอยู่เบื้องหลัง จนเป็นเหตุให้วานนี้ (27 พ.ค.) กระทรวงการต่างประเทศยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net