Skip to main content
sharethis

Jody McIntyre ผู้สื่อข่าว-บล็อกเกอร์ ของสำนักข่าวดิ อินดิเพนเดนท์ ของอังกฤษ เขียนบทวิเคราะห์สั้นๆ ถึงการประท้วงในตะวันออกกลาง ที่สื่อหลักมักจะเน้นแค่เหตุการณ์ในลิเบีย ขณะที่การประท้วงในเยเมนถูกเมิน แต่ขณะเดียวกันการใช้สื่อใหม่ก็ทำให้สื่อหลักอย่างบีบีซีไม่ใช่ผู้ผูกขาดการ รายงานอีกต่อไป

 

เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2554 Jody McIntyre ผู้สื่อข่าว-บล็อกเกอร์ ของสำนักข่าวดิ อินดิเพนเดนท์ ของอังกฤษ เขียนบทวิเคราะห์สั้นๆ ถึงการประท้วงในตะวันออกกลาง ที่สื่อหลักมักจะเน้นแค่เหตุการณ์ในลิเบีย ขณะที่การประท้วงในเยเมนถูกเมิน แต่ขณะเดียวกันการใช้สื่อใหม่ก็ทำให้สื่อหลักอย่างบีบีซีไม่ใช่ผู้ผูกขาดการ รายงานอีกต่อไป

 

การประท้วงของ "มวลชนนับล้าน" เกิดขึ้นในประเทศอาหรับอีกครั้ง เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณอาจจะคิดว่ามันจะได้ขึ้นหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ อย่างน้อยก็ที่อัลจาซีร่า? แต่ขณะนั้นเองสื่อต่างๆ ก็ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับเหตุการณ์ในลิเบีย ขณะที่การเดินขบวนประท้วงในทางตอนใต้ของเยเมนถูกเมิน

สำนักข่าวอัลจาซีร่าเป็นช่องสื่อที่มีบทบาทสำคัญท่ามกลางคลื่นปฏิวัติมวล ชนที่แพร่กระจายไปทั่วแอฟริกาเหนือและเอเชียตะวันตกในช่วงนี้ แต่การ "เลือก" เจาะลึกแต่กับการประท้วงที่เดียวก็ทำให้สายตาของประชาชนที่จับตามองอยู่เกิด ตั้งคำถาม ว่าการปฏิวัติโดยอาศัยแบบแผนวิธีการของอิยิปต์จะสำเร็จได้หรือไม่หากไม่ได้ รับความสนใจจากสื่ออย่างอัลจาซีร่า

ในอีกด้านหนึ่ง สื่อใหม่เช่นอินเทอร์เน็ตทำให้พวกเราสามารถติดตามการลุกฮือเหล่านี้ได้ในแบบ ที่ไม่เคยทำได้มาก่อนในอดีต สำนักข่าวบีบีซีไม่สามารถผูกขาดความคิดเห็นของพวกเราได้อีกแล้ว สื่อบรรษัทยักษ์ใหญ่ไม่ได้สามารถควบคุมการรับข้อมูลของพวกเราได้เหมือนแต่ ก่อน ถ้าหากเราได้อ่านข้อความจากทวิตเตอร์ เราก็สามารถรับรู้สถานการณ์ได้นาทีต่อนาที พวกเราจะได้เห็นเหตุการณ์ในแบบที่ไม่เป็น ไม่ใช่ในแบบที่มันได้รับการรายงาน

อาลี ซาเลห์ ประธานาธิบดีเยเมน ตอบสนองการชุมนุมต่อเนื่องด้วยการเสนอให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายใน 1 ปี เช่นเดียวกับการที่เขาวางแผนจะสละตำแหน่งภายในปี 2013 ซาเลห์ดูจะไม่ปลาบปลื้มไปกับความจริงที่ว่า แม้จะสามารถอยู่ในตำแหน่งมาจนถึง 32 ปีแล้ว แต่ก็ไม่สามารถมีอภิสิทธิ์ในการเลือกจะมีอำนาจต่อไปได้อีกหลายปี ข้อเสนอของเขาทำให้การปกครองประเทศหลุดจากมือเขาไปสู่มือของรัฐสภา เป็นการลดการรวมศูนย์อำนาจ ซึ่งเป็นนิมิตหมายอันดีในเชิงหลักการ แต่ก็สายไปหน่อย

สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือเหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไปหลังจากนี้ เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลโลกตะวันตกเริ่มแสดงความซาบซึ้งต่อความรวดเร็วและรุนแรง ของปรากฏการณ์โดมิโน (domino effect) ที่เริ่มก่อขึ้นจากตูนีเซีย จากการที่รัฐบาลฝรั่งเศสพยายามปิดบังการที่พวกเขาสนับสนุนเบน อาลี มาเป็นเวลานานด้วยการยอมรับการประท้วงต่อต้านในเบงกาลี (เมืองของลิเบีย) รัฐบาลสหรัฐฯ ร้องขอให้ประเทศพันธมิตรอย่างซาอุดิอาระเบียติดอาวุธให้กับผู้ประท้วงชาว ลิเบีย และเดวิด คาเมรอน (นายกรัฐมนตรีอังกฤษ) ก็เดินทางไปยังกรุงไคโร ประเทศอียิปต์พร้อมกับตัวแทนจากบรรษัทค้าอาวุธ BAE Systems พยายามมองหาผู้นำหุ่นเชิดรายอื่นๆ เพื่อจะขายอาวุธให้ กระบวนการแต่งตั้งเหวี่ยงกลับอย่างเต็มรูปแบบ

ถ้อยแถลงของซาเลห์ที่กล่าวในขณะที่ประชาชนของเขาชูแขนประท้วงมีเป้าหมาย เหมือนๆ กัน พวกเขาพยายามทำให้ผู้ประท้วงแตกแยกกันเอง ทำให้การปฏิวัติอ่อนแอลง แต่ประชาชนนับล้านในเยเมนก็แสดงท่าทีว่า แผนการนี้จะล้มเหลว

 

ที่มา:
Only some revolutions will be televised, 10-03-2011, Jody McIntype, The Independent (Blog)
http://blogs.independent.co.uk/2011/03/10/only-some-revolutions-will-be-televised/
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net