Skip to main content
sharethis

ประภาภูมิ เอี่ยมสม และภาวิน มาลัยวงศ์ ชวนอาจารย์มิ่ง ปัญหา จากสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองวรรณกรรมอังกฤษและจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมผ่านการบริโภคหอยนางรม ทั้งนี้ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเพาะเลี้ยง การบริโภคหอยนางรมของชาวตะวันตก เป็นที่นิยมของทุกชนชั้น ไม่ว่าจะยากดีมีจน หากแต่การแบ่งชนชั้นอยู่ที่วิธีปรุง หรือสถานที่รับประทาน หอยขนาดเล็กหรือใหญ่ อย่างน้อยในศตวรรษที่ 19 ผู้ดีมีฐานะย่อมไม่แคะหอยนางรมกินที่แผงขายหอยริมท่าเรือ

อย่างไรก็ตามมีจุดเปลี่ยนในศตวรรษที่ 20 เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นเร่งอัตราบริโภคหอยนางรมมากขึ้นจนหอยนางรมจากฟาร์มเพาะเลี้ยงโตไม่ทัน ทำให้ปริมาณหอยนางรมลดน้อยลง และกลายเป็นของแพง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้ปรากฏชัดในงานวรรณกรรม และแนวคิดต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในโลกตะวันตก ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net