Skip to main content
sharethis

Dude movie และชมสารคดี จัดฉายหนัง “ประชาธิปไตยหลังความตาย — Democracy After Death” ราวของประชาธิปไตยหลังความตาย ของ “นวมทอง ไพรวัลย์” หรือลุงนวมทอง ผู้ที่ได้สังเวยชีวิตเพื่อกลบคำสมประมาทว่า ‘ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้’

 

27 ก.ค. 2566 กลุ่ม Dude movie และชมสารคดี จัดฉายหนัง “ประชาธิปไตยหลังความตาย — Democracy After Death : A Tragedy of Uncle Nuamthong Praiwa (2559)” กำกับโดย เนติ วิเชียรแสน ราวของประชาธิปไตยหลังความตาย ของ “นวมทอง ไพรวัลย์” ผู้ที่ได้สังเวยชีวิตเพื่อกลบคำสมประมาทว่า ‘ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้’ ของ พันเอก อัคร ทิพย์โรจน์ ท่านรองโฆษก คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)

หลังการรัฐประหารปี 2549 จนถึงปี 2559 คือ ช่วงเวลาที่สารคดีเรื่องนี้ได้เข้าไปค้นหา —นำเสนอผ่านการไล่เรียงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างตรงไปตรงมา ตรงประเด็น

ลมหายใจของลุงนวมทองหมดลง พร้อมกับฉากใหม่ของการเมืองไทยที่เดินหน้าสู่ความรุนแรงราวกับว่าความตายไม่ของแกไม่สามารถฉุดรั้งสติสัมปชัญญะของคนใหญ่คนโตในประเทศนี้ได้ เหตุการณ์ทางการเมืองที่ร้อนระอุขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างประชาชนสองฝั่งและการแทรกแซงของฝ่ายขั้วอำนาจเก่า ที่ยังไม่ปล่อยให้ประเทศได้เดินหน้า ตั้งแต่การเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล การปิดสนามบิน และการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง

อีกทั้งโลกอินเตอร์เน็ตที่ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ได้ทำลายช่องว่างของสื่ออย่างโทรทัศน์หรือวิทยุ ทุกคนสามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง ชวนให้เกิดการตั้งคำถามที่ไม่กล้าถาม ว่าใครกันที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นกันแน่

แม้ว่าในปัจจุบันเราอาจมีคำตอบให้กับสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ ณ ช่วงเวลานั้น การตื่นรู้และต่อสู้บนความเชื่อในประชาธิปไตยนั้นยากเหลือเกินที่สารเหล่านี้จะไปถึง และถูกทำให้กลายเป็นเรื่องที่ใครต่างก็พูดคุยกัน แม้ว่าเราจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองนับตั้งแต่ พ.ศ. 2475

และการเข้ามามีบทบาทของ โทรศัพท์มือถือที่ทันสมัยขึ้นเรื่อย จนใครจะคิดว่าวันหนึ่ง มันจะสามารถบันทึกภาพเหตุการณ์หน้าละอายหลายอย่างเอาไว้

ประชาธิปไตยหลังความตาย — Democracy After Death ถูกฉายครั้งแรกเมื่อปี 2559 แต่ยังคงสร้างแรงสั่นไหวให้กับคนที่ได้ดูเรื่อยมา

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net