Skip to main content
sharethis

กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจแรงงานใน กทม.และปริมณฑลร้อยละ 72.3 พบว่าชีวิตไม่ดีขึ้นหลังช่วงโควิดระบาดหนักและยังเจอผลกระทบเรื่องงานมีร้อยละ 44.5 รายได้ลดลงถึง สะท้อนความต้องการอยากให้มีการคุมราคาสินค้าและขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

29 เม.ย.2566 มหาวิทยาลัยกรุงเทพเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน(กรุงเทพโพลล์) เรื่อง “ความหวังของแรงงานไทย ในวันแรงงานแห่งชาติ” โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแรงงานในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 643 คน พบว่า

เมื่อถามว่าชีวิตความเป็นอยู่ในวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พบว่ากลุ่มตัวอย่างแรงงานร้อยละ 41.4 มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนร้อยละ 30.9 มีชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง ขณะที่ร้อยละ 27.7 มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

ทั้งนี้เมื่อถามว่ายังต้องเจอผลกระทบต่อการทำงานหรือไม่ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.9 ยังเจอผลกระทบ โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 44.5 รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม รองลงมาร้อยละ 31.3 ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น และร้อยละ 24.0 ไม่มี OT เงินโบนัส ขณะที่ร้อยละ 28.1 ไม่เจอกับผลกระทบ

เมื่อถามว่า “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร” พบว่า แรงงานร้อยละ 45.7 มีรายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ขณะที่ร้อยละ 38.6 มีรายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ส่วนที่เหลือร้อยละ 15.7 มีรายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม

สิ่งที่อยากขอให้กับแรงงาน ในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.9 อยากให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค พื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคา กระทบค่าครองชีพ รองลงมาคือ อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคิดเป็นร้อยละ 72.2 และอยากให้มีสวัสดิการโบนัสแก่แรงงานในทุกๆ ปี คิดเป็นร้อยละ 52.7

สุดท้ายเมื่อถามว่าอยากให้มีการพัฒนาทักษะในด้านใด เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากลพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 อยากให้พัฒนาทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่ รองลงมาคือ ทักษะทางภาษา คิดเป็นร้อยละ 44.6 และทักษะในการสื่อสารทางการตลาด คิดเป็นร้อยละ 27.1

ทั้งนี้ในโพลล์ระบุว่าการสำรวจนี้ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวโดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากกลุ่มแรงงานจำนวน 643 คนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 11 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร ดอนเมือง ดุสิต บางเขน  บางกะปิ บางซื่อ ภาษีเจริญ มีนบุรี สายไหม หนองแขม หลักสี่  และปริมณฑล 2 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี โดยระยะเวลาการสำรวจทำในช่วงวันที่ 18 – 23 เม.ย.2566

รายละเอียดผลสำรวจทั้งหมด

1. ชีวิตความเป็นอยู่ในวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

 ร้อยละ

ดีขึ้น

27.7

เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

41.4

แย่ลง

30.9

 

2. ผลกระทบต่อการทำงานที่ยังต้องเจอหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายยังเจอผลกระทบ ได้แก่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 

ร้อยละ

รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม

71.9

ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น

44.5

ไม่มี OT เงินโบนัส

31.3

หางานได้ยากขึ้น

21.5

ถูกลดสวัสดิการต่างๆ ที่เคยได้รับลง

19.1

ตกงาน ต้องหางานใหม่

12.8

ไม่เจอผลกระทบ

28.1

 

3. ข้อคำถาม “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร”

 ร้อยละ

รายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม

15.7

รายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม

45.7

รายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม

38.6

 

4. สิ่งที่อยากขอให้กับแรงงาน ในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 ร้อยละ

อยากให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค พื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคา กระทบค่าครองชีพ

73.9

อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

72.2

อยากให้มีสวัสดิการโบนัสแก่แรงงานในทุกๆ ปี

52.7

อยากให้ดูแลสวัสดิการความปลอดภัย ค่ารักษาพยาบาลแก่แรงงาน

44.2

อยากให้สร้างงาน สร้างอาชีพ ลดภาวการณ์ว่างงาน

42.1

อยากให้ดูแลสวัสดิการเกี่ยวกับผู้เกษียณอายุ ผู้สูงอายุ

33.1

อื่นๆ อาทิ ดูแลความเป็นอยู่แรงงาน ดูแลแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม

0.3

 

5. ข้อคำถาม “อยากให้มีการพัฒนาทักษะในด้านใด เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากล” (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 ร้อยละ

ทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่

63.6

ทักษะทางภาษา

44.6

ทักษะในการสื่อสารทางการตลาด

27.1

ทักษะในการสร้างสรรค์และนวัตกรรม

24.1

ทักษะทางด้านเทคโนโลยี

21.9

ทักษะในการคิดและวิเคราะห์

16.0

อื่นๆ อาทิ ไม่มี ไม่ทราบ

0.8

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net