Skip to main content
sharethis

'สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน' นักสังคมนิยมแนวทางสันติวิธี นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย เสียชีวิต 'จรัล ดิษฐาอภิชัย' ยกสรรเสริญคือผู้มีอุดมการณ์มั่นคงมาก ขณะที่ 'ใบตองแห้ง' ย้ำถึงเขา 40 ปีผ่านไป แม้การปฏิวัติล่มสลาย แสงดาวแห่งความใฝ่ฝัน ก็ยังอยู่ในหัวใจเราเสมอ 

26 เม.ย.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อธึกกิต แสวงสุข หรือ ใบตองแห้ง นักสื่อสารมวลชน โพสต์ภาพของ 'สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน' นักสังคมนิยมแนวทางสันติวิธี นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย วัย 70 ปี โดย อธึกกิต ระบุว่า สรรเสริญ จากไปแล้ว เสียใจที่ไม่สามารถทำตามความใฝ่ฝันครั้งสุดท้าย

อ่านเรื่องรายของสรรเสริญผ่านบันทึกของเขาที่นี่ :

อธึกกิต เล่าผ่านโพสต์แจ้งการเสียชีวิตของสรรเสริญว่า สรรเสริญเพิ่งบอกมิตรสหายก่อนนี้ว่า อยากไป “พักฟื้น” ที่เชียงใหม่ อยากไปอยู่ที่สวนอัญญา เฮือนครูองุ่น มาลิก แต่อาการระยะสุดท้าย ไม่สามารถทำได้ ถ้าไปเชียงใหม่ก็ต้องหาสถานดูแล เพิ่งบอกได้ไม่เท่าไหร่ อาการของสรรเสริญก็ทรุดอย่างรวดเร็ว

"ตอนถูกจับยัดข้อหา พี่สรรเสริญเล่าไว้ในประชาไทว่า ได้เขียนบันทึกว่า ถ้าเป็นอะไรไป ขอมอบร่างกายให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้เป็นอาจารย์ใหญ่แล้วไม่ต้องเผา เก็บโครงกระดูกไว้ เศษที่เหลือเอาไปฝังที่ดอยแม่ยะ อ.แม่วางนั่นคือเขตงาน 7/1 ซึ่งสหาย “กะป่อ” (แปลว่า แสงสว่าง) อดีตนักศึกษาเชียงใหม่ เคยเคลื่อนไหวปฏิวัติ (แต่จะสะดวกทำตามหรือไม่ต้องให้ครอบครัวตัดสินใจ) ก่อนนี้ที่ไปงานสหายวุฒิ วุฒิก็ใช้เวลาช่วงสุดท้าย ขึ้นเขต 8 เยี่ยมเยียนสหายเชียงราย ก่อนกลับมารอระยะสุดท้ายที่กรุงเทพ เชื่อว่ามีอีกหลายคนหลายเขต ทำเช่นเดียวกัน" อธึกกิต โพสต์และระบุทิ้งท้ายว่า 40 ปีผ่านไป แม้การปฏิวัติล่มสลาย แสงดาวแห่งความใฝ่ฝัน ก็ยังอยู่ในหัวใจเราเสมอ

จรัล ดิษฐาอภิชัย นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและผู้ลี้ภัย โพสต์ไว้อาลัยถึงสรรเสริญ และระบุว่า สหายร่วมรบมายาวนาน อาชีพสุดท้าย เท็กซี่ เป็นแกนนำ นปก.2 และถูกจับคดีปาระเบิดศาลอาญา สรรเสริญมีอุดมการณ์มั่นคงมาก 

อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับสรรเสริญได้ที่ : 

สำหรับ สรรเสริญ หลังรัฐประหาร 2557 เขาถูกจับกุมตัวนำเข้าค่ายทหารจากการถูกกล่าวหาในคดีก่อเหตุปาระเบิดศาลอาญา รัชดาฯ เมื่อ 7 มี.ค.2558 เขาถูกซ้อมทรมานด้วยการช็อตด้วยไฟฟ้าในค่ายทหารเพื่อบังคับให้เขายอมรับสารภาพในข้อหาร้ายแรง แต่เขาก็ยังยืนยัน ไม่ยินยอมที่จะสารภาพในสิ่งที่เขาไม่ได้ทำ สรรเสริญถูกขังระหว่างพิจารณาคดีราว 2 ปี 2 เดือน โดยครอบครัวยื่นหลักทรัพย์ที่ดินที่ประเมินราคาได้ 6 ล้านบาท ต่อมา มิ.ย.65 ศาลยกฟ้องสรรเสริญและอีก 11 จำเลย เหตุฝ่ายโจทก์มีแต่ พล.ต.วิจารณ์ จดแตง ฝ่ายกฎหมายของ คสช. กับคำซัดทอดกันเองไม่มีหลักฐานอื่นไม่น่าเชื่อถือ มีเพียง 2 รายที่ถูกพิพากษาจำคุก 34 ปี 4 เดือน ฐานก่อเหตุระเบิดซึ่งอาจอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

ภาพรอยบาดแผลตามร่างกายของสรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน

เกี่ยวกับกรณีที่สรรเสริญถูกซ้อมทรมานนั้น สืบเนื่องจากเหตุระเบิดศาลอาญาในตอนค่ำของวันที่ 7 มี.ค.58 โดยคดีนี้มีผู้ต้องหาทั้งหมด 14 ราย ผู้ต้องหา 4 ราย ในความรับผิดชอบศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ร้องเรียนว่าถูกซ้อมทรมานระหว่างการสอบสวน หนึ่งในนั้นคือ สรรเสริญ โดยรูปแบบการซ้อมทรมาน เช่น การชกต่อย การกระทืบบริเวณศีรษะ ทรวงอก หลัง และข่มขู่ว่าจะทำร้าย เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลจากผู้ต้องหากลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ต้องหาบางรายยังโดนช็อตด้วยไฟฟ้า โดยเฉพาะของสรรเสริญที่ระบุว่าตนเองโดนช็อตที่ต้นขาถึง 30-40 ครั้ง และปรากฏร่องรอยดังกล่าวบริเวณผิวหนัง ระหว่างการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก ทางศูนย์ทนายฯ ได้ทำหนังสือถึงพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสำนวนคดี ขอให้รวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการซ้อมทรมานกรณีนายสรรเสริญ แต่ภายหลังได้รับหนังสือตอบจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลว่า บาดแผลของสรรเสริญสันนิษฐานว่าเกิดจาก “การกระทบหรือล้มไปกระทบกับสิ่งของไม่มีคม แต่ไม่อาจยืนยันได้ว่าบาดแผลดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด” แม้ว่าในรายงานตรวจสอบของพนักงานสอบสวนนั้น จะปรากฏบันทึกการตรวจร่างกายผู้ต้องหาโดยแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจและทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ จะระบุว่าพบรอยแผลไฟไหม้ก็ตามตั้งแต่หลังการรัฐประหาร ศูนย์ทนายฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการซ้อมทรมานระหว่างการถูกควบคุมตัวทั้งหมด 19 ราย ซึ่งข้อร้องเรียนระบุว่ามีการซ้อมทรมานเกิดขึ้นระหว่างการควบคุมตัวเจ็ดวันภายใต้กฎอัยการศึก หรือคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 ซึ่งไม่มีบุคคลภายนอกเข้าไปตรวจสอบได้ และเมื่อมีการซ้อมทรมานเกิดขึ้น ก็ไม่สามารถเข้าถึงพยานหลักฐาน รวมถึงเมื่อเกิดข้อร้องเรียนขึ้นแล้ว ยังมีปัญหาในการสอบสวนที่ขาดความเป็นอิสระและเป็นกลาง คดีระเบิดหน้าศาลอาญาจึงเป็นอีกคดีหนึ่งซึ่งมีผู้ต้องหาร้องเรียนปัญหาการซ้อมทรมานจำนวนมากในคดีเดียวกัน

สรรเสริญขณะถูกคุมตัว

นอกจากศูนย์ทนายฯ จะได้รับเรื่องร้องเรียนว่ามีการซ้อมทรมานจำเลยระหว่างการสอบสวนในคดีระเบิดศาลอาญาแล้ว คดีนี้ยังเป็นอีกคดีหนึ่งที่กระบวนการยุติธรรมเกิดความล่าช้าอย่างมาก โดยศาลทหารได้นัดสอบคำให้การจำเลยทั้งหมดครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 พ.ย.58 ซึ่งห่างจากวันที่อัยการได้ส่งฟ้องตั้งแต่ 5 มิ.ย.58 เป็นเวลา 5 เดือน คดีนี้ยังเกิดปัญหาฝ่ายโจทก์ฟ้องซ้อนกับจำเลยในคดีบางราย ทำให้การสอบคำให้การต้องเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 19 ม.ค.2559 ซึ่งทำให้จำเลยในคดีซึ่งยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ต้องรอกระบวนการดังกล่าวมาเป็นเวลาอย่างน้อย 7 เดือน โดยยังไม่ได้เริ่มพิจารณาคดี นอกจากนั้นคดีของพลเรือนที่ขึ้นสู่ศาลทหารและมีการสืบพยานตั้งแต่ภายหลังการรัฐประหารเป็นต้นมา ประสบปัญหาความล่าช้าในการนัดสืบพยานหลายคดี เนื่องจากศาลทหารไม่มีการกำหนดวันนัดสืบพยานทั้งหมดในคดีไว้ตั้งแต่วันนัดพร้อม แต่จะเป็นการนัดหลังสืบพยานเสร็จเป็นครั้งๆ ไป แต่ละนัดห่างกันกว่าเดือน และมักจะสืบพยานกันเพียงครึ่งวันเช้าหรือบ่ายเท่านั้น หลายครั้งพยานบางปากต้องมาให้การในศาลถึง 2-3 วัน  ทำให้กระบวนการพิจารณาคดียืดเยื้อยาวนาน การนำกฎหมายความมั่นคงมาดำเนินคดีต่อ
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net