Skip to main content
sharethis

คนงานลำพูนร่วมงานวันแรงงานแห่งชาติ หนุนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ชี้ยังมีปัญหาเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างตลอดเวลา ยื่นหนังสือถึงนายกผ่านผู้ว่าฯ ให้ช่วยแก้ปัญหา

 

นายอัครเดช ชอบดี ประธานสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนให้ช่วยลงมาแก้ไขปัญหาที่แรงงานลำพูนเผชิญอยู่

1 พ.ค. 55 – ที่โรงเรียนจักรคำคณาทร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน ได้มีการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติจังหวัดลำพูน ประจำปี 2555 โดยมีนายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานในการจัดงาน

นายวชิระ ศรีบัวชุม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน กล่าวว่า การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติจังหวัดลำพูน ประจำปี 2555 เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานจากหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดลำพูน ได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ด้วยการเล่นกีฬาร่วมกัน พร้อมทั้งให้พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน ได้แสดงพลังความสามัคคี และตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่กลไกลในการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ ได้ใช้ชื่อว่าแรงงานไทย ร่วมใจสดุดี ราชวงศ์จักรี รักสามัคคีเพื่อแผ่นดินในปีนี้มีผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานทั้งจากภายในและภายนอกการนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ(กนอ.)หมู่ 4 ต.บ้านกลาง และ สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ หมู่ 15 ต.ป่าสัก อ.เมือง รวม 30 แห่ง ประมาณ 1 พันคนมาร่วมกิจกรรมร่วมกันในวันนี้

ทั้งนี้ ก่อนพิธีเปิดนั้นบรรดาสถานประกอบการได้มีการเดินรณรงค์ ไปตามถนนสายต่างๆ ก่อนเข้ามาสู่โรงเรียนจักรคำคณาทร ซึ่งภายในขบวนได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้รู้รักสามัคคี และต้านยาเสพติด โดยเฉพาะในสถานประกอบการ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว วันแรงงานแห่งชาติจังหวัดลำพูน ประจำปี 2555 ที่จัดให้กับผู้ใช้แรงงานทุกคน ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคคล 

องค์กรแรงงานออกแถลงการณ์ หนุนนโยบายค่าจ้างขั้นตำ 300 บาท

ทั้งนี้องค์กรแรงงานในพื้นที่ภาคเหนือ ประกอบไปด้วย สหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์, สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์, กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ, สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน ได้ออกแถลงการณ์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ..

แถลงการณ์วันกรรมกรสากล

เนื่องด้วยวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น ”วันกรรมกรสากล” ซึ่งเป็นวันที่ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกได้รำลึกถึงการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมของผู้ใช้แรงงาน เป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน สิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับในฐานะมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับประชาชนคนกลุ่มอื่นๆ และในฐานะที่ผู้ใช้แรงงานถือเป็นฝ่ายผลิตที่สำคัญในการผลักดัน ส่งเสริมพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า

ในปี พ.ศ.2555 นี้ องค์กรผู้ใช้แรงงานและองค์กรส่งเสริมสิทธิผู้ใช้แรงงาน ภาคเหนือ ได้ประเมินและพิจารณาถึงสถานการณ์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจและสังคม มีข้อเรียกร้องมายังรัฐบาล ดังนี้

1. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการ และนโยบาย ผลักดันให้ บริษัท โฮยากลาสดิสค์(ประเทศไทย) จำกัด รับพนักงานเข้าทำงานตามเดิม จำนวน 153 คน เนื่องจากพนักงานดังกล่าวไม่ยินยอมเข้าโครงการเลิกจ้างของบริษัทฯ และกำลังเป็นความฟ้องร้องอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการยุติปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากการเลิกจ้างและการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม

2. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการและนโยบาย มิให้บริษัทโฮยากลาสดิสค์(ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทต่างๆ ไม่ให้ใช้มาตรา 75 (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541) หรือข้ออ้างอื่นๆของนายจ้างเพื่อเลิกจ้างพนักงาน ต้องไม่มีการเอาเปรียบลูกจ้าง และให้พิจารณาวัตถุประสงค์ของนายจ้างให้เป็นไปแบบสมเหตุสมผล ตลอดทั้ง มิใช่เพื่อทำลายสหภาพแรงงานซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานในระบอบประชาธิปไตย 

3. เราขอสนับสนุน นโยบายค่าจ้างขั้นตำ 300 บาท ทั่วประเทศในต้นปี 2556 เพื่อสร้างความเป็นธรรมกับผู้ใช้แรงงานมากขึ้น แม้ว่าสมาคมนายจ้างแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯและองค์กรของนายทุนต่างๆ ที่เห็นแต่ผลประโยชน์ส่วนตนจะคัดค้านนโยบายนี้ก็ตาม แต่รัฐบาลต้องยืนยันนโยบายนี้ ตามที่หาเสียงไว้ ควรฟังเสียงของผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก

4. ขอให้รัฐบาล พิจารณาและควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคให้คงที่ ไม่มีการขยับราคาขึ้นเกินความเป็นจริง

5. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการและนโยบาย ให้สำนักงานประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจากเดิมร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เป็นร้อยละ 3 ของค่าจ้าง ให้ขยายเวลาออกไปอีก เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้แรงงาน

6. ขอให้ทางรัฐบาลพิจารณารับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ98 เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ในการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานได้อย่างเสรี ตามหลักการประชาธิปไตยและเหมือนดั่งอารยประเทศที่พึงกระทำ

7. ขอสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อไม่ให้อำนาจนอกระบบประชาธิปไตยแทรกแซงทางการเมือง เพื่อ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเพื่อสร้างประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ตลอดทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ผู้ใช้แรงงาน คือ ขอเสนอให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิการเลือกตั้งในสถานประกอบการ ตามสภาพเงื่อนไขการดำรงชีวิตที่เป็นจริงของผู้ใช้แรงงาน

8. ขอเรียกร้องให้ประชาชนทุกชนชั้น ทุกกลุ่มชน ร่วมกันผลักดันสังคมไทยสู่รัฐสวัสดิการ ครบวงจร ระบอบเดียวเสมอภาค กันถ้วนหน้า โดยมาตรการเก็บภาษีที่ก้าวหน้า เพื่อสร้างความเสมอภาคในสังคม

9. ขอให้รัฐบาลมีมาตรการ นโยบาย และกฎหมาย ที่เปิดให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเท่าเทียมกับ

ผู้ใช้แรงงานไทย ในฐานะที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยด้วยเช่นกัน

สหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์

สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์

กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ

สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน

เผยคนงานลำพูนยังมีปัญหาเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างตลอดเวลา

ด้านนายอัครเดช ชอบดี ประธานสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (สหภาพแรงงานโฮย่า) นิคม อุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์ของแรงงานยังไม่ดีขึ้น แม้จะมีกฎหมายคุ้มครองแต่ยังเสี่ยงต่อการถูก เลิกจ้างตลอดเวลา ขณะที่การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาลกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการเลิกจ้างสูงขึ้น ปัญหาดังกล่าวไม่ใช้ความผิดพลาดของรัฐบาลที่ต้องการดูแลแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่เป็นเรื่องของนายจ้างที่ต้องการลด ภาระค่าใช้จ่าย โดยเลือกเลิกจ้างกลุ่มแรงงานที่มีอายุมาก หรือมีอายุงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป เพราะฐานค่าจ้างและเงินเดือนสูงอยู่แล้ว หากปรับขึ้นค่าจ้างตามนโยบายของรัฐบาลก็จะทำให้นายจ้างต้องจ่ายค่าแรงแก่แรงงานสูงขึ้นตามไปด้วย

ส่วนปัญหาหาการเลิกจ้างที่เกิดขึ้นกับพนักงานของบริษัท โฮย่า กลาสดิสค์ ประเทศไทย จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน กว่า 1,000 คน ล่าสุดเหลือพนักงานเพียง 153 คนเท่านั้นที่ไม่ยินยอมเซ็นเอกสารตามข้อเสนอของบริษัทฯ คือนอกจากเงินชดเชยตามอายุงาน ยังเพิ่มเติมให้อีก 2 เดือน ขณะที่ตัวแทนพนักงานและสหภาพฯได้เดินทางไปพบกับคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้ แทนราษฎร ซึ่งคณะกรรมาธิการฯมีมติให้บริษัท โฮย่า รับแรงงานทั้งหมดกลับเข้าทำงานภายใน 1 เดือน แต่ล่าสุดบริษัทฯกลับปฎิเสธทำตามและไม่ยอมเจรจา

นอกจากนี้ตนเองยังถูกบริษัทฯเลิกจ้างเมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า สร้างความเสื่อมเสียให้แก่บริษัทฯ ตนเองและพนักงานที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมทั้ง 153 คน จึงต้องเดินหน้าฟ้องร้องบริษัทฯเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยและให้รับกลับเข้าทำงาน

"สาเหตุที่บริษัทฯเลิกจ้างพนักงานกว่า 1,000 คน ได้ให้เหตุผลว่าประสบปัญหาขาดทุนเพราะโรงงานถูกน้ำท่วม แต่ข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบงบดุลบริษัทฯมีผลกำไรมาโดยตลอด ไม่ได้ประสบปัญหาเหมือนโรงงานอื่นๆที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งสาเหตุที่เลิกจ้างเพราะ เดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้ บริษัทฯมีการเปลี่ยนสายการผลิตใหม่จึงมีการปรับปรุงโรงงานและเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ทั้งหมด ทำให้ บริษัทฯวางแผนเลิกจ้างพนักงานโดยเลือกพนักงานที่มีอายุงานมาก และกลุ่มที่มีอายุสูงวัย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และปลายเดือนพฤษภาคมเมื่อโรงงานแล้วเสร็จจะเปิดรับพนักงานใหม่ทั้งหมด"

ทั้งนี้นายอัครเดช ได้ยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนให้ช่วยลงมาแก้ไขปัญหาที่แรงงานเผชิญอยู่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ..

ที่ สออส.และสหภาพอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์

วันที่ 1 พฤษภาคม 2555

เรื่อง ข้อเรียกร้องในโอกาสวันกรรมกรสากล 

เรียน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่าน นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน

เนื่องด้วยวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น ”วันกรรมกรสากล” ซึ่งเป็นวันที่ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกได้รำลึกถึงการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมของผู้ใช้แรงงาน เป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน สิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับในฐานะมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับประชาชนคนกลุ่มอื่นๆ และในฐานะที่ผู้ใช้แรงงานถือเป็นฝ่ายผลิตที่สำคัญในการผลักดัน ส่งเสริมพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า

ในปี พ.ศ.2555 นี้ องค์กรผู้ใช้แรงงานและองค์กรส่งเสริมสิทธิผู้ใช้แรงงาน ภาคเหนือ ได้ประเมินและพิจารณาถึงสถานการณ์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจและสังคม มีข้อเรียกร้องมายังรัฐบาล ดังนี้

1. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการ และนโยบาย ผลักดันให้ บริษัท โฮยากลาสดิสค์(ประเทศไทย) จำกัด รับพนักงานเข้าทำงานตามเดิม จำนวน 153 คน เนื่องจากพนักงานดังกล่าวไม่ยินยอมเข้าโครงการเลิกจ้างของบริษัทฯ และกำลังเป็นความฟ้องร้องอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการยุติปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากการเลิกจ้างและการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม

2. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการและนโยบาย มิให้บริษัทโฮยากลาสดิสค์(ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทต่างๆ ไม่ให้ใช้มาตรา 75 (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541) หรือข้ออ้างอื่นๆของนายจ้างเพื่อเลิกจ้างพนักงาน ต้องไม่มีการเอาเปรียบลูกจ้าง และให้พิจารณาวัตถุประสงค์ของนายจ้างให้เป็นไปแบบสมเหตุสมผล ตลอดทั้ง มิใช่เพื่อทำลายสหภาพแรงงานซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานในระบอบประชาธิปไตย 

3. เราขอสนับสนุน นโยบายค่าจ้างขั้นตำ 300 บาท ทั่วประเทศในต้นปี 2556 เพื่อสร้างความเป็นธรรมกับผู้ใช้แรงงานมากขึ้น แม้ว่าสมาคมนายจ้างแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯและองค์กรของนายทุนต่างๆ ที่เห็นแต่ผลประโยชน์ส่วนตนจะคัดค้านนโยบายนี้ก็ตาม แต่รัฐบาลต้องยืนยันนโยบายนี้ ตามที่หาเสียงไว้ ควรฟังเสียงของผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก

4. ขอให้รัฐบาล พิจารณาและควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคให้คงที่ ไม่มีการขยับราคาขึ้นเกินความเป็นจริง

5. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการและนโยบาย ให้สำนักงานประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจากเดิมร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เป็นร้อยละ 3 ของค่าจ้าง ให้ขยายเวลาออกไปอีก เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้แรงงาน

6. ขอให้ทางรัฐบาลพิจารณารับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ98 เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ในการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานได้อย่างเสรี ตามหลักการประชาธิปไตยและเหมือนดั่งอารยประเทศที่พึงกระทำ

7. ขอสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อไม่ให้อำนาจนอกระบบประชาธิปไตยแทรกแซงทางการเมือง เพื่อ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเพื่อสร้างประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ตลอดทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ผู้ใช้แรงงาน คือ ขอเสนอให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิการเลือกตั้งในสถานประกอบการ ตามสภาพเงื่อนไขการดำรงชีวติที่เป็นจริงของผู้ใช้แรงงาน 

8. ขอเรียกร้องให้ประชาชนทุกชนชั้น ทุกกลุ่มชน ร่วมกันผลักดันสังคมไทยสู่รัฐสวัสดิการ ครบวงจร ระบอบเดียวเสมอภาค กันถ้วนหน้า โดยมาตรการเก็บภาษีที่ก้าวหน้า เพื่อสร้างความเสมอภาคในสังคม

9. ขอให้รัฐบาลมีมาตรการ นโยบาย และกฎหมาย ที่เปิดให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเท่าเทียมกับ

ผู้ใช้แรงงานไทย ในฐานะที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยด้วยเช่นกัน

นายวิสิษฐ์ ยาสมุทร

ประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์

นายอัครเดช ชอบดี

ประธานสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์

 

ที่มาข่าวบางส่วนจาก: เนชั่นทันข่าว

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net