Skip to main content
sharethis

ประชาชนลงชื่อในจดหมายเปิดผนึก เรียกร้องให้คณะรัฐมนตรียกเลิกประกาศ พรก.ฉุกเฉินทันที ชี้ไม่มีเหตุผลในการออก พรก.ฉุกเฉิน และยกระดับความขัดแย้งให้มีความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้น แถมลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยทั่วไปโดยไม่มีความจำเป็น เผยถ้ารัฐบาลเพิกเฉยจะร้องศาลปกครองต่อไป

เย็นวานนี้ (7 เม.ย.) หลังจากที่คณะรัฐมนตรีนำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ได้มีผู้ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงทันที โดยให้เหตุผลว่าข้ออ้างในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขาดเหตุผลและไม่จำเป็น เพราะผู้ชุมนุม นปช. ชุมนุมอย่างสงบภายใต้ความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ

“การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงของรัฐบาล นอกจากไม่เป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองแล้ว ยังเป็นการยกระดับความขัดแย้งให้มีความตึงเครียดและเปราะบางเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังทำให้รัฐบาลกลายเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับผู้ชุมนุม เป็นการขยายวงของความขัดแย้งกับประชาชนออกไปกว้างมากขึ้น และเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยทั่วไปโดยไม่มีความจำเป็น” จดหมายเปิดผนึกของประชาชนกลุ่มดังกล่าวระบุ

ผู้ลงชื่อยังระบุว่า หากรัฐบาลยังเพิกเฉย จะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอความคุ้มครองจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของรัฐบาลต่อไป โดยจดหมายเปิดผนึกมีรายละเอียดดังนี้

000

เรียน คณะรัฐมนตรี
เรื่อง ขอให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงทันที 

7 เมษายน 2553

ข้าพเจ้า ผู้มีรายชื่ออยู่ท้ายจดหมายฉบับนี้ ขอแสดงเจตจำนงต่อต้านการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงที่รัฐบาลภายใต้ การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 7 เม.ย. 2553 เมื่อเวลา 18.00 น. ที่มีใจความสรุปว่า แม้ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามรักษาสถานการณ์ภายใต้การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง แต่การเคลื่อนไหวของประชาชนเสื้อแดงได้พัฒนาไปสู่การกระทำที่ผิดกฎหมาย เกินขอบเขตของรัฐธรรมนูญ มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างกว้างขวาง รวมถึงกระทบต่อภาพลักษณ์ในประชาคมโลก นอกจากนั้นในช่วงสองวันที่ผ่านมาผู้ชุมนุมยังขัดขืนเจ้าหน้าที่และบุกรุกเข้าไปในรัฐสภา ฉะนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีมาตรการรับมือแก่ผู้ชุมนุมใหม่ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง

ข้าพเจ้าฯ เห็นว่าข้ออ้างเพื่อประกาศพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ขาดเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือที่เรียกว่า “คนเสื้อแดง” เป็นไปอย่างสงบ สันติและปราศจากอาวุธ ที่ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ หากแต่ความล้มเหลวในการจัดการกับผู้ชุมนุมนั้นเป็นความล้มเหลวในการบริหาร จัดการของฝ่ายรัฐบาลเอง มิได้เกิดจากการก่อความไม่สงบของผู้ชุมนุมแต่อย่างใด การชุมนุมที่ดำเนินมายังไม่มีสัญญาณใดๆ ที่จะใช้เป็นหลักฐานได้ว่าการชุมนุมได้ละเมิดบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมให้รัฐบาลยุบสภา มิได้ขัดต่อระบอบประชาธิปไตย และมิได้มีเนื้อหากระทบต่อความมั่นคงของรัฐดังที่รัฐบาลได้กล่าวอ้างแต่อย่างใด ข้ออ้างของรัฐบาลที่ใช้ในการสลายการชุมนุม จึงไม่มีเหตุผลที่ชอบธรรม เนื่องจากผู้ชุมนุมมิได้พกพาอาวุธ หรือแสดงพฤติกรรมอันชัดเจนว่ามีจุดประสงค์ที่ต้องการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ทำลายทรัพย์สินของราชการหรือเอกชน ในทางตรงข้าม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ฝ่ายรัฐบาลได้ใช้มาตรการที่สร้างความตึงเครียดและกดดันการชุมนุม ส่วนการอ้างว่าผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในพื้นที่ของรัฐสภานั้น รัฐบาลไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการประกาศพรก.ฉุกเฉินได้ เนื่องจากผู้ชุมนุมถูกยั่วยุจากการขว้างระเบิดแก๊สน้ำตามาจากภายในรัฐสภา รวมถึงภายหลังผู้ชุมนุมยังตรวจพบระเบิดแก๊สน้ำตา พร้อมปืนขนาด 11 ม.ม. 2 กระบอก และปืนเอ็ม 16 อีกหนึ่งกระบอก ซึ่งมีการซุกซ่อนไว้ภายในรัฐสภาด้วย จากเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบกับการปล่อยให้มีผู้พกพาอาวุธเข้าไปในบริเวณ อาคารรัฐสภาด้วย

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงของรัฐบาล นอกจากไม่เป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองแล้ว ยังเป็นการยกระดับความขัดแย้งให้มีความตึงเครียดและเปราะบางเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังทำให้รัฐบาลกลายเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับผู้ชุมนุม เป็นการขยายวงของความขัดแย้งกับประชาชนออกไปกว้างมากขึ้น และเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยทั่วไปโดยไม่มีความจำเป็น

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาในข้างต้น ข้าพเจ้าดังมีรายนามต่อท้ายจดหมายนี้ จึงไม่อาจยอมรับการประกาศใช้พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงว่ามีความชอบธรรม และขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าวในทันที หากรัฐบาลยังเพิกเฉย ข้าพเจ้าจะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอความคุ้มครองจากการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบของรัฐบาลต่อไป

 

ด้วยความเคารพ

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
นครินทร์ วิศิษฎ์สิน
ธนาวิ โชติประดิษฐ
กิตติกร นาคทอง
พัชรี แซ่เอี้ยว
บัณฑิต เอื้อวัฒนานุกูล
พีระยุทธ เลขะวณิชย์
ธนาพล ทรงพุด
รวินทร์ คำโพธิ์ทอง

ขวัญระวี วังอุดม
พินผกา งามสม
วิวรรธน์ กุลปวโรภาส
บุญยืน สุขใหม่
ศิริภาส ยมจินดา
ไพโรจน์ นิมิบุตร ประธานชมรมนักข่าวเพื่อเสรีภาพไทย
อิสรา ยมจินดา ชมรมนักข่าวเพื่อเสรีภาพไทย
สมศักดิ์ ภักดิเดช ที่ปรึกษาชมรมนักข่าวเพื่อเสรีภาพไทย
ธัญสก พันสิทธิวรกุล
ศาสวัต บุญศรี 

ทูนธรรม เหรียญทอง
สายสัมพันธ์ รัตนปรีดากรณ์
ชญานิน เตียงพิทยากร
ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
ธนกร มาณะวิท
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
ชนรดา นราวศินชัย
อรรถพล ปะมะโข
สมชาย เหลืองสุขวิมล 

นภัทร สาเศียร
กานต์ ทัศนภักดิ์
สมบัติ บุญงามอนงค์
สายชล แมดพิมาย
Supanutt Sasiwuttiwat
อุเชนทร์ เชียงเสน นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ณัฐเมธี สัยเวช
ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง
ศุภรัตน์ เหมือนปราสาท
วิทย์ ประสมปลื้ม 

อดิศร เกิดมงคล
นรินทร์ เจริญสุข
เนตรดาว เถาถวิล
ปรียาภรณ์ ศรีสุวรรณ์
อารีรัตน์ ถิ่นเพาะ
พิชัย วงศ์หาญ
ภาวิดา ฉวีวงศ์
ดวงดาว ศิลปดนตรี
Pavida Chaweevong
Solawan Luckchonlatee 

ดร.อภินภัส รุจิวัตร์
สุข์ปราณีย์ คันธะชัย
เมษ จารุอมรจิต
หัทยา ชื่นขำ
สิทธิ แทนประเสริฐสุข
จักรทอง อุบลสูตรวนิช
สุชาติ เศรษฐมาลินี
ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
มธุรส ภิืรมย์รักษ์
อติเทพ ไชยสิทธิ์ 
 

ชาติ ไชยสิทธิ์
พรทิพย์ ไชยสิทธิ์
เมษ จารุอมรจิต
หัทยา ชื่นขำ
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
อรชพร นิมิตกุลพร
ปรียาภรณ์ กันทะลา
สาโรช คงคาประเสริฐสิน
อารยา ภาคภูมิเกียรติคุณ
ธงชัย วินิจจะกุล 

มัทนา โกสุมภ์
สุลักษณ์ หลำอุบล
สุขชัย ไตรกิศยาโสภณ
Vutiporn Moob
Soonyata Mianlamai
Kiraphat Khianthongkul
โกวิท แก้วสุวรรณ
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์
ชาญณรงค์ บุญหนุน
เชษฐา พวงหัตถ์ 

ภิภัทร์ภรณ์ ทองศรี

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net