Skip to main content
sharethis

ประชาไท—5 ส.ค 48 รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายถึงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยว่า พระราชอำนาจนั้นมี 2 ส่วนคือ พระราชอำนาจตามพระราชอัธยาศัย เช่น การแต่งตั้งองคมนตรี


 


พระราชอำนาจอีกส่วนหนึ่งคือ พระราชอำนาจในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของประเทศ ซึ่งทรงมีพระราชอำนาจในการปรึกษาหารือ ตรวจสอบ ทักท้วง และขอคำอธิบายจากองค์กรผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย


 


ทั้งนี้ทรงมีพระราชอำนาจในการตรวจสอบและยับยั้ง กฎหมายซึ่งมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 94 ซึ่งบัญญัติว่า


 


"มาตรา 94 ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างประราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญใดพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทาน คืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง


 


"เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมภิไธย พระราชทานคืนมาภายในสามสิบวันให้นายกรัฐมนตรีนำพระราช บัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระ มหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว"


 


 


อีกส่วนหนึ่งคือพระราชอำนาจในการแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และยังเป็นประเด็นที่ยังไม่มีข้อยุติว่าจะทรงใช้พระราชอำนาจในกรณีนี้ได้เพียงใด


 


อย่างไรก็ตามโดยหลักการแล้ว ในการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งของบุคคลสำคัญต่างๆ โดยปกติหากองค์กรผู้รับ ผิดชอบถูกต้อง และได้กระทำตามกระบวนการที่ถูกต้องแล้ว พระมหากษัตริย์ก็มักจะทรงอนุโลมตาม แต่หากไม่ทรงเห็นชอบด้วย ก็ต้องกลับมาพิจารณาว่าองค์กรผู้รับผิดชอบจะต้องรับผิดชอบแค่ไหน อย่างไร


 


สำหรับการใช้พระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมายที่เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ ปรากฏขึ้นในการทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชบัญญัติระเบียบราชการครู ซึ่งทรงทักท้วงและไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย


 


ส่วนเรื่องการแต่งตั้งบุคลากรนั้น ดร.วรเจตน์กล่าวว่าไม่มีปรากฏเป็นบันทึกชัดเจนว่ามีขึ้นในคราวใดบ้าง อีกทั้งไม่มีการยืนยันจากองค์กรซึ่งถวายคำแนะนำ


 


อย่างไรก็ตาม ดร.วรเจตน์กล่าวว่า แม้จะไม่ได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเรื่องพระราชอำนาจในการแต่งตั้งบุคลากร แต่การใช้พระราชอำนาจยับยั้งการแต่งตั้งบุคลากรซึ่งผ่านกระบวนการที่ถูกต้องแล้ว อาจจะทรงคำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญประกอบด้วย เนื่องจากรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมารวมถึงฉบับปัจจุบันที่บัญญัติเรื่องพระราชอำนาจไว้ก็ด้วยเจตนารมณ์เพื่อต้องการเทิดทูนพระมหากษัตริย์ไว้ในฐานะที่เคารพสักการะ พระมหากษัตริย์จึงควรอยู่ในฐานะที่พ้นจากการตำหนิหรือการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งปวง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net