Skip to main content
sharethis

แรงผลักดันที่ทำให้ทั้งสองประเทศกลายเป็นปรปักษ์ต่อกันถูกขับเคลื่อนอย่างไม่หยุดยั้ง การปะทะกันครั้งนี้อาจจะถือได้ว่าเป็นความสำเร็จของกลุ่มการเมืองชนชั้นกลางไทยบางส่วน ที่นำประเด็น "เขาพระวิหาร" มาปลุกกระแสโจมตีรัฐบาลและอดีตนายกรัฐมนตรีที่พวกเขาคิดว่าเป็นต้นตอแห่งความเลวร้ายทั้งปวงของประเทศนี้


 


แต่ชนชั้นกลางไทยเหล่านั้น แสดงความรักชาติแค่เพียงผ่านการปราศรัยและใช้มือตบเปาะแปะอย่างดุเดือด แต่กลับผลักภาระความสูญเสียไปให้กับทหารในเขตชายแดน ส่วนฝ่ายตรงข้ามกันกับเรานั้น เขาดูจริงจังกว่ายิ่งนัก..


 


ก่อนหน้าการปะทะกันในวันที่ 15 .. หนังสือพิมพ์ Phnom Penh Post ได้ทำการสัมภาษณ์กองกำลังอาสาสมัครป้องกันดินแดน, ทหารประจำการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง กับการร่วมป้องกันพื้นที่ในเขตความขัดแย้งไทย-กัมพูชา (เผยแพร่เมื่อวันที่ 10 .. 51)


 


 


 



ที่มาภาพ: Phnom Penh Post


 


ประเทศกัมพูชา ในพื้นที่ อ.ตระเปงปราสาท (Trapaing Prasat) ชายหนุ่มกับชายสูงวัยคุยนั่งคุยกัน ในความตรึงเครียดบนพื้นที่ความขัดแย้งชายแดนไทย - กัมพูชา ท่ามกลางวิกฤตนี้มีชายชาวกัมพูชาหลายคนเดินทางมาสู่พื้นที่ความขัดแย้งโดยมาเป็นอาสาสมัครให้กับกองทัพ


 


ลอตห์ โสเขียน (Loth Sokhean) เด็กนักเรียนอายุ 19 ปี จากอันลอง เวง (Anlong Veng) ลาออกจากการเป็นนักเรียนเพื่อเข้าร่วมกับกองพลน้อยที่ 43 ซึ่งได้ตั้งฐานคุมเชิงอยู่ใกล้ๆ กับปราสาทเขาพระวิหารมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม เขาอยู่ในค่ายตรงจุดพนม ทรบ (Phnom Trop) ห่างจากตัวปราสาทประมาณ 2 - 3 กิโลเมตร


 


"ผมเข้าร่วมมาเป็นอาสาสมัครป้องกันดินแดน ไม่ได้ถูกเกณฑ์มาโดยกองทัพ" เขากล่าว "ผมรู้สึกแค้นใจ เมื่อทหารไทยบุกรุกวิหารของเรา"


 


"ผมเคยถือปืนให้พ่อ ตอนที่ผมยังเป็นเด็กกว่านี้ และผมมีการประสบการณ์ซ่อนตัวในที่กำบังในสนามรบพร้อมกับพ่อผมเมื่อช่วงทศวรรษ 1990"


 


ส่วนคนอื่นๆ ถึงแม้จะไม่ใช่วัยหนุ่มสาว แต่เลือดรักชาติของพวกเขาก็ยังคงมีเต็มเปี่ยม


 


นัน รอม (Nun Rom) วัย 39 ปี อาศัยอยู่กับภรรยาและลูกอีกสามคนใกล้กับเขตเทือกเขาพนมดงรักอันเป็นเขตกั้นดินแดนระหว่างไทยและกัมพูชา เขาเคยเป็นทหารตั้งแต่ปี 1980 - 2003 และได้รับการร้องขอจากผู้บังคับบัญชาของเขาให้กลับสู่กองทัพอีกครั้ง


 


เขากล่าวว่าเขายินดีตอบรับในการกลับมาเป็นทหารอีกครั้งหนึ่ง และรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาสวมเครื่องแบบ ซึ่งเขาพร้อมที่จะป้องกันประเทศบ้านเกิดของเขา ต่อต้านการรุกล้ำใดๆ ของทหารไทย - โดยมีชายจากเขตที่อยู่ของเขากว่า 280 คนอาสาเข้ามาร่วมรบกับกองทัพด้วย


 


เช็ง เพีย (Chheng Phea) วัย 43 จากหมู่บ้านเดียวกับนัม รอม เข้ามาเป็นอาสาสมัครป้องกันดินแดนด้วยเช่นกัน "ผมมาเข้าร่วมก็เพราะว่าผมเห็นทหารไทยกำลังยึดดินแดนของพวกเรา ถ้าผมไม่มาเป็นทหาร แล้วผมจะป้องกันการบุกรุกนั้นได้ยังไง?"


 


ชิม เซเรราช (Chhim Sereyrath) หนุ่มวัย 24 เขาเป็นลูกชายของอดีตนายทหารฝ่ายเสนาธิการกองทัพเขมรแดง "ถ้ารัฐบาลต้องการผม ผมจะทำมัน และผมก็รู้ว่าเพื่อนๆ ของผมหรือคนอื่นๆ ก็รู้สึกอย่างเดียวกันด้วย"


 


ชิน ทัช (Chin Touch) เคยทำหน้าที่เป็นหน่วยพยาบาลให้กับกองทัพเขมรแดง ในช่วงระหว่างปี 1971 - 1980 เธอกล่าวว่าลูกชายของเธออยากจะเป็นอาสาสมัครป้องกันดินแดนในห้วงสงคราม


 


"ฉันมีลูกชายสามคน พวกเขาพร้อมเสมอหากรัฐบาลต้องการ" เธอกล่าว "ถ้าหากมีสงคราม, ฉันจะบอกพวกเขาให้ไปสมัครเป็นทหาร"


 


 


……


ที่มา:


Border crisis a call to arms (Thet Sambath, The Phnom Penh Post, 10-10-2008)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net