Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

เราจะรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ได้อย่างไร ถ้าไม่พูดถึงประเด็นสถาบันกษัตริย์?

เราจะพูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ในปีนี้ ครบรอบ 45 ปีได้อย่างไร โดยไม่พูดถึงการชุมนุมของเยาวรุ่น #ราษฎร ที่หนึ่งในสามข้อเรียกร้องของพวกเขา คือ ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์?

เราจะรำลึกถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 โดยไว้อาลัยให้กับวีรชนผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ ติดคุก ได้รับผลกระทบ แต่เพียงอย่างเดียว แล้วแยกย้าย ปีหน้าก็กลับมารำลึกกันใหม่ทุกปี โดยไม่พูดถึง “ต้นตอของปัญหา” โดยไม่รณรงค์ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ไม่รณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 ไม่รณรงค์ปฏิรูปศาล ปฏิรูปกองทัพ ได้อย่างไร?

นับตั้งแต่ คสช. ก่อรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และสืบทอดอำนาจจนถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์จำนวนมาก จนทำให้ระบอบการปกครองมีลักษณะโน้มเอียงไปในทาง “สมบูรณาญาสิทธิราชย์จำแลง” มากกว่า Constitutional Monarchy

หากตำแหน่งแห่งที่และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ยังเป็นเช่นนี้

หากศาลยังเป็นเช่นนี้

หากกองทัพยังเป็นเช่นนี้

หากคนก่อรัฐประหาร คนฆ่าประชาชนที่คิดต่างกับรัฐไทย ยังคงลอยนวลอยู่เช่นนี้

#6ตุลา ก็ยังคงกลับมา “ฉายหนังซ้ำ” ได้อีกเสมอ

การรำลึก 6 ตุลา 19 จึงจำเป็นต้องพูด รณรงค์ ผลักดัน #ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ศาล กองทัพ

 

ที่มา: Facebook Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net