Skip to main content
sharethis
ศูนย์ข้อมูลติดตามสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง และภาคีเครือข่ายออกแถลงการณ์ต่อสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ชี้แต่ละฝ่ายต้องไม่นำความสูญเสียที่เกิดขึ้น ไปขยายผลเพื่อสร้างความเกลียดชังและความรุนแรงรอบใหม่ แต่ใช้เป็นบทเรียนเพื่อป้องกันความสูญเสียในอนาคต
 
21 ก.พ. 2557 ศูนย์ข้อมูลติดตามสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง และภาคีเครือข่ายออกแถลงการณ์ต่อสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ออกแถลงการณ์ต่อสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
สืบเนื่องจากเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่ ของ ศรส. ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งทาให้เกิดการปะทะกัน จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บจานวน 68 ราย และเสียชีวิต 5 ราย (อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557) ทั้งนี้ไม่รวมถึงผู้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตตลอดการชุมนุมที่ผ่านมา เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมือง ที่ขยายตัวเป็นความรุนแรงทางการเมือง ทาให้เกิดความสูญเสียต่อทุกฝ่าย และจะมีแนวโน้มขยายความเกลียดชังต่อไปในอนาคต
 
ศูนย์ข้อมูลติดตามสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง และภาคีเครือข่าย จึงมีข้อห่วงใยและมีข้อเสนอดังนี้
 
1. ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับว่า การจัดการความขัดแย้งทางการเมือง ต้องใช้วิธีการที่ไม่นาไปสู่ความรุนแรง และไม่ควรยอมรับความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย แม้จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตนเองก็ตาม
 
2. แต่ละฝ่ายต้องไม่นำความสูญเสียที่เกิดขึ้น ไปขยายผลเพื่อสร้างความเกลียดชังและความรุนแรงรอบใหม่ แต่ใช้เป็นบทเรียนเพื่อป้องกันความสูญเสียในอนาคต
 
3. รัฐต้องมีมาตรการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เป็นธรรม โดยเร่งด่วน เพื่อลดปัญหาข่าวลือและการสร้างความเกลียดชังระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่มีแนวโน้มมากขึ้น
 
4. “การขอคืนพื้นที่” ควรให้ความสาคัญกับการสื่อสารกับผู้ชุมนุมถึงขอบเขตพื้นที่ที่จะขอคืนให้ชัดเจนและให้ความสาคัญกับขั้นตอนการมีส่วนร่วมตัดสินใจจากผู้ชุมนุม เพื่อไม่สร้างเงื่อนไขที่นาไปสู่ความรุนแรง เช่น ต้องมีการเจรจาที่สมเหตุสมผล ในกรณีที่มีการยกระดับมาตรการต้องให้เวลาที่เหมาะสม มีการประสานงานที่ชัดเจนระหว่างผู้เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดกับผู้ที่อยู่ในพื้นที่
 
5. การเลือกวิธีการต่อสู้แบบสันติอหิงสา เป็นหนทางที่ควรสนับสนุน โดยที่แกนนาการชุมนุมยืนหยัดและให้ความสาคัญกับการคุ้มครองชีวิตและความปลอดภัยของผู้ร่วมชุมนุมเป็นลาดับแรก กระนั้นหากเห็นว่าอาจเกิดอันตรายต่อผู้ชุมนุม การยอมถูกควบคุมตัวในกรณี เวที กคป. ที่ บมจ.ปตท. ถือเป็นรูปธรรมของการต่อสู้แบบอหิงสาที่น่าชื่นชมมากกว่าการมองว่าเป็นเรื่องแพ้ชนะในทางการเมือง
 
19 กุมภาพันธ์ 2557
 
*ติดตามการประเมินสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองได้ที่ http://thaiviolencewatch.com/

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net