Skip to main content
sharethis

นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพยาธิ Caenorhabditis elegans 12 รุ่น ในสถานีอวกาศ พบว่ามันมีความทนทานต่อสภาพอวกาศได้ และอาจใช้เป็นตัวแทนสำรวจดาวอังคารแทนมนุษย์เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องอันตราย จากการเดินทางในอวกาศ ภาพ: NASA (30 พ.ย.54) เว็บไซต์ Livescience รายงานว่านักวิทยาศาสตร์ค้นพบพยาธิตัวกลม ที่มีความสามารถดำรงชีวิตในห้วงอวกาศและอาจช่วยมนุษย์ชาติในการตั้งถิ่นฐานยังดาวอังคาร นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาการเจริญเติบโตและการเจริญพันธุ์ของพยาธิตัวกลมขนาดจิ๋วที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caenorhabditis elegans พวกเขาค้นคว้าผ่านพยาธิ 12 รุ่น ในสถานีอวกาศนานาชาติ โดยผู้วิจัยบอกว่าการศึกษาพยาธิที่มีความทนทานต่อสภาพในอวกาศนี้ อาจช่วยมนุษย์ในเรื่องความเสี่ยงจากการเดินทางและสภาพแวดล้อมอันโหดร้ายในดาวอังคาร \พวกเราแสดงให้เห็นได้ว่า พยาธิพวกนี้สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ในอวกาศได้เป็นเวลานานพอจะเดินทางไปถึงดาวเคราะห์อีกดวง และมีพวกเราคอยตรวจสอบสภาพของพวกมันได้ด้วย\" นาธานีล ซีวชีคกล่าว เขามาจากมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮมของอังกฤษ และเป็นหัวหน้าการวิจัยชิ้นนี้ \"ผลที่ได้คือพยาธิ C. elegans นี้ เป็นทางเลือกหนึ่งที่คุ้มค่าสำหรับการศึกษาค้นคว้าเรื่อง ผลกระทบจากการเดินทางในอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิต\" นาธานีลกล่าวและว่า \"ที่สุดเลยคือ ตอนนี้พวกเราอยู่ในฐานะที่สามารถเลี้ยงและศึกษาสัตว์ในดาวเคราะห์อื่นได้\" พยาธิในสถานีอวกาศ C.elegans เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่นักชีววิทยามักจะนำมาศีกษา ย้อนไปในปี /2541 (1998) พยาธิที่อาศัยอยู่ในดินตัวนี้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จำพวกแรกที่แผนที่ทางพันธุกรรม (genome) ได้ถูกบันทึกไว้ทั้งหมด พยาธิตัวกลมชนิดนี้มียีนส์รหัสโปรตีน (protein-coding genes) ถึง 20

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net