Skip to main content
sharethis

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนออกแถลงการณ์ ระบุการใช้กฎหมายมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา กับกรณี “อากง” ส่งผลให้คนจำนวนมากในสังคมรู้สึกอึดอัดและไม่พอใจเพราะผลการวินิจฉัยนั้น ขัดแย้งกับสามัญสำนึกแห่งความยุติธรรม ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อเนื่องไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่ไม่ ควรจะเกิดขึ้น

(1 ธ.ค.54) มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออก แถลงการณ์ ระบุการใช้กฎหมายมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา กับกรณี “อากง” ส่งผลให้คนจำนวนมากในสังคมรู้สึกอึดอัดและไม่พอใจเพราะผลการวินิจฉัยนั้นขัด แย้งกับสามัญสำนึกแห่งความยุติธรรม ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อเนื่องไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่ไม่ ควรจะเกิดขึ้น พร้อมเสนอหากไม่ต้องการเปิดโอกาสให้มีการใช้กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือทำร้าย ผู้คนเช่นที่ผ่านมา จำเป็นต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 เพื่อป้องกันผู้บริสุทธิ์จากการรังแกของกฎหมาย และปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นในสังคมประชาธิปไตย

 


แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรื่อง ความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ในห้วงเวลาที่ความขัดแย้งในการเมืองไทยมีความรุนแรงมากขึ้น กฎหมายมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพ ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการใส่ร้ายป้ายสีบรรดาผู้คนที่ยืนอยู่ในฝ่ายตรง กันข้าม ซึ่งนำไปสู่การลงโทษอย่างรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง อันมีผลทำให้ความขัดแย้งยิ่งบานปลายออกไปมากขึ้น

โดยที่กฎหมายนี้มีปัญหาและข้อบกพร่องปรากฏอยู่อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะทั้งในด้านของเนื้อหาสาระของกฎหมายและกระบวนการในการดำเนินคดีดัง กล่าวนี้

ในด้านของเนื้อหา จะพบว่าในแง่ของการริเริ่มคดีที่เปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้สามารถที่จะริ เริ่มคดีกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ อันนำมาซึ่งการกล่าวโทษกันอย่างง่ายดายและกว้างขวาง บทลงโทษของการกระทำความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นการแสดงออกประเภทหนึ่งแต่มีโทษจำ คุกรุนแรงถึง 15 ปี

ในด้านของกระบวนการ จะพบว่านับตั้งแต่ขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาจะพบกับความยุ่งยากในการประกันตัว และชั้นพิจารณาคดีก็จะต้องเผชิญกับความยุ่งยากในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่มักถูกให้เหตุผลก็คือเป็นคดีที่มีโทษ รุนแรงหรือเป็นคดีที่กระทบต่อสถาบัน และด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้จึงมักจะทำให้การวินิจฉัยคดีอยู่ภายใต้แรงกดดัน หรือความเชื่อซึ่งอาจนำไปสู่การวินิจฉัยที่ละเลยหรือตีความที่ละเมิดต่อ สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย

ด้วยปัญหาที่กล่าวมาจึงทำให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ใช่เพียง เครื่องมือใส่ร้ายป้ายสีระหว่างฝักฝ่ายต่างๆ ในทางการเมืองเท่านั้น หากยังขยายรวมออกไปถึงประชาชนอีกเป็นจำนวนไม่น้อยที่ต้องได้รับโทษจากกฎหมาย นี้อย่างไม่เป็นธรรม กรณีคำวินิจฉัยใน “คดีอากง” เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของกฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพที่กระทำต่อประชาชนได้อย่างง่ายดาย ทำให้เกิดการใช้กฎหมายนี้อย่างฟุ่มเฟือยโดยมีวาระทางการเมืองแอบแฝง และหากเปรียบเทียบกับการลงโทษที่เกิดขึ้นในหลายคดีที่แม้เป็นการฆาตกรรมต่อ ชีวิตของบุคคลอื่นก็ยังไม่ได้รับโทษเทียบเท่ากับกรณีนี้ ย่อมสะท้อนให้เห็นบทลงโทษที่รุนแรงและไม่สอดคล้องกับการกระทำที่ได้บังเกิด ขึ้น

การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับกรณี “ อากง” ส่งผลให้คนจำนวนมากในสังคมรู้สึกอึดอัดและไม่พอใจเพราะผลการวินิจฉัยนั้นขัด แย้งกับสามัญสำนึกแห่งความยุติธรรม ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อเนื่องไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่ไม่ ควรจะเกิดขึ้น

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมีความเห็นว่าหากไม่ต้องการที่จะเปิดโอกาสให้การใช้ กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายผู้คนดังเช่นที่ได้เกิดขึ้นมา จำเป็นที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงการป้องกันผู้บริสุทธิ์จากการรังแกของกฎหมายเพียงอย่าง เดียว หากจะเป็นการปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นในสังคมประชาธิปไตยให้มีความ เข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น
1 ธันวาคม 2554
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net