Skip to main content
sharethis

แรงงานนอกระบบสนเข้าประกันสังคม 3 แสนราย นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้รวบรวมรายชื่อผู้สนใจสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 พบว่ามีผู้แจ้งความจำนงทั้งสิ้น 3.29 แสนรายแล้ว โดยมีจังหวัดที่มีผู้สนใจเกินเป้า 2 จังหวัดประกอบด้วยแพร่มีผู้สนใจ 3.1 หมื่นคน คิดเป็น 141% ของเป้าที่ตั้งไว้ 2 หมื่ืนคน และที่ยะลามีผู้สนใจ 1.7 หมื่นคน คิดเป็น 101.71% ของเป้าที่ตั้งไว้ นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายงบกลางจำนวน 552 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์จูงใจให้ประชาชนแรงงานนอกระบบมาสมัครเข้ามาตรา 40 ขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือร่วมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ในการประชาสัมพันธ์ แจกจ่ายใบสมัครให้แก่กลุ่มลูกค้าของธนาคาร รวมถึงการรับชำระเงินสมทบ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานในรายละเอียดเพื่อจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ขณะที่ความคืบหน้าการประกาศใช้ร่าง พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกัน ตน พ.ศ.... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทั้งนี้นโยบายดึงแรงงานนอกระบบ 24 ล้านคนเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40โดยเปิดทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบ 2 อัตราคือ 100 บาท/เดือน และ 150 บาท/เดือน โดยหากจ่ายสมทบ 100 บาท/เดือน ผู้สมทบจะได้สิทธิประโยชน์ 3 อย่างคือ 1.เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย ได้วันละ 200 บาท/วัน เป็นเวลาไม่เกิน 20 วัน 2.เงินชดเชยทุพพลภาพ ได้ 1,000 บาท/เดือน ต่อเนื่องเป็นเวลา 15 ปี และ 3.เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต 2 หมื่นบาท/คน โดยรัฐอุดหนุนให้ 30 บาทและผู้ประกันตนจ่ายอีก 70 บาท ส่วนอัตรา 150 บาท/เดือน จะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มอีก 1 อย่างคือเงินบำเหน็จชราภาพซึ่งจะหักเงิน 50 บาทสะสมเป็นบำเหน็จ โดยผู้ประกันตนจะได้รับเงินเมื่อถึงอายุครบ 60 ปี มีการการันตีดอกผลขั้นต่ำ 3 % แต่อาจมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับผลกำไรที่นำไปลงทุน โดยอัตรานี้รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท และผู้ประกันตนจ่ายอีก 100 บาท เบื้องต้นสปส.ตั้งเป้าหมายว่าจะมีแรงงานนอกระบบสนใจเข้าร่วมโครงการ 2.4 ล้านคนในระยะเวลา 2 ปี (โพสต์ทูเดย์, 25-4-2554) ชมรมพิทักษ์สิทธิ์ฯ เตรียมฟ้องศาลแรงงานให้ สปส.คืนเงินสุขภาพผู้ประกันตน 28 เม.ย.นี้ 26 เม.ย. 54 - นางสาวสารี อ๋องสมหวัง โฆษกชมรมพิทักษ์สิทธิ์ผู้ประกันตน เปิดเผยว่า ขณะนี้ชมรมพิทักษ์สิทธิ์ผู้ประกันตนกำลังทำคำฟ้องให้รอบด้าน เพื่อยื่นฟ้องสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ต่อศาลแรงงานให้คืนเงินให้กับผู้ประกันตนที่เรียกเก็บตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2549 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นวันที่มีการยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท จากสิทธิการรักษาด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองมีผลบังคับใช้ เนื่องจากเงินที่ สปส.เรียกเก็บจากผู้ประกันตนในอัตราร้อยละ 1 ซึ่งคำนวณมาจากอัตราที่ สปส.เรียกเก็บจากผู้ประกันตนในเรื่องสิทธิสุขภาพ ได้แก่ สิทธิด้านการรักษาพยาบาลร้อยละ 0.88 และการคลอดบุตรร้อยละ 0.12 นั้น เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 30 ที่ระบุถึงการได้รับความเสมอภาคทางด้านสุขภาพของบุคคล มาตรา 51 การมีความเสมอภาคในการได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และมาตรา 80 (2) ที่ระบุว่ารัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มี มาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะไปยื่นฟ้อง สปส.ที่ศาลแรงงานในวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายนนี้ เวลา 14.00 น. เพื่อให้ สปส.คืนเงินที่ผู้ประกันตนต้องถูกบังคับจ่ายอย่างไม่เป็นธรรมในสิทธิสุขภาพ คืนให้ผู้ประกันตน และหวังว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานประกันสังคมจะพูดคุย กันโดยเร็วตามที่รับปากไว้กับผู้ประกันตนด้วย (สำนักข่าวไทย, 26-4-2554) ก.แรงงาน เตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ ก.คลัง ปล่อยเงินกู้ให้แรงงานไทยที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศ 26 เม.ย. 54 - นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (27 เม.ย.54) จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงแรงงาน กับ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีธนาคารของรัฐ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการช่วยเหลือคนหางานเข้าถึงแหล่งเงินกู้ ตามปฏิญญา 3 สิงหา โดยจะปล่อยกู้ให้กับแรงงานไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ซึ่ง 1 คน สามารถกู้ได้ในวงเงินไม่เกิน 150,000 บาท อัตราดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 9-10 ต่อปี ซึ่งถือว่าถูกกว่าเงินกู้นอกระบบ ทั้งนี้ในช่วงแรกจะปล่อยกู้ให้กับแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากลิเบียก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มแรงงานที่ได้รับความเดือดร้อนมากในขณะนี้ ส่วนหลักการค้ำประกันจะมีอยู่ 2 กรณีคือ กรณีแรก บริษัทจัดหางาน จะเป็นผู้ค้ำประกันให้ โดยแรงงานจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประมาณ 1-2 พันบาท ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับความเสี่ยงให้กับบริษัทจัดหางาน ส่วนกรณีที่ 2 คือ กรมการจัดหางานเป็นผู้ค้ำประกัน สำหรับการจัดส่งโดยกรมการจัดหางาน โดยใช้สัญญาจ้างเป็นหลักประกัน ซึ่งจะต้องตกลงกับนายจ้างและบริษัทจัดหางาน ให้ส่งเงินเดือนของแรงงานกลับมาประเทศไทย ผ่านธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อหักเงินตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงแรงงาน ยังฝากถึงแรงงานไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ว่า หากต้องการไปทำงานด้วยความมั่นคง ขอให้ดำเนินการผ่านกรมการจัดหางาน หรือติดต่อที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด ซึ่งจะช่วยดูแลในเรื่องของข้อเสียเปรียบระหว่างการทำสัญญา โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาอยู่ตลอด รวมถึงยังดูแลในเรื่องของแหล่งทุน หากไม่มีหลักทรัพย์ในการดำเนินการ ก็สามารถนำสัญญาจ้างมาค้ำประกันได้ (สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, 26-4-2554) บอร์ด สปส.เพิ่มสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาลผู้ประกันตนหลายรายการ 26 เม.ย. 54 - บอร์ด สปส.เพิ่มสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนหลายรายการ ทั้งผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง 7 ชนิด และทุพพลภาพ คาดมีผลบังคับใช้ใน 2 สัปดาห์ พร้อมขยายเวลาให้ธนาคารปล่อยกู้เงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ผู้ประกันตนใน พื้นที่ประสบอุทกภัยภาคใต้อีก 6 เดือน นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) กล่าวว่าที่ประชุมบอร์ด สปส.วันนี้มีมติเพิ่มสิทธิประโยชน์ในส่วนของการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกัน ตนหลายรายการ ประกอบด้วย 1.ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง จากเดิมให้สิทธิในการฟอกเลือด ล้างไตทางช่องท้อง และผ่าตัดเปลี่ยนไต ที่ให้สิทธิเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในระบบประกันตน เปลี่ยนเป็นให้สิทธิการรักษาทั้งป่วยก่อนและหลังเข้าระบบประกันตน และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการให้ยาเพิ่มเลือด คิดเป็นเงินเฉพาะผู้ป่วยโรคไต 200 ล้านบาทต่อปี 2.ให้การรักษาผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ขยายสิทธิจากเดิมที่รักษาใน รพ.รัฐและ รพ.เอกชนในวงเงิน 2,000 บาท ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ขยายเพิ่มเป็นรักษา รพ.รัฐฟรีทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ส่วน รพ.เอกชน ขยายเพิ่มวงเงินเป็น 4,000 บาทกรณีผู้ป่วยใน ส่วนผู้ป่วยนอกวงเงิน 2,000 บาทเท่าเดิม เพิ่มค่าพาหนะเหมาจ่ายในการเดินไปรักษาที่ รพ. 500 บาทต่อเดือน กรณีนี้ให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2554 และ 3. มีการเพิ่มสิทธิในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง 7 ชนิด ซึ่งเดิมให้การรักษาฟรีอยู่แล้ว เพียงแต่ให้ รพ.รักษาเบิกจ่ายได้ในวงเงิน 50,000 บาทต่อราย ซึ่งส่งผลทำให้ รพ.หลายแห่งจำกัดค่ารักษา จึงอนุมัติเพิ่มวงเงินให้เบิกจ่ายได้สูงสุดถึง 270,000 บาทต่อราย ซึ่งต้องอยู่ในแนวทางรักษาที่ สปส.ระบุและได้รับการยอมรับในสากล โดยหลังจากนี้ฝ่ายเลขา สปส.จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการแพทย์ ของ สปส.ประกาศและลงนามให้มีผลบังคับใช้หลังจากนี้อีก 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังอนุมัติช่วยผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคใต้ โดยขยายช่วงเวลาโครงการอนุมัติสินเชื่อในการซ่อมที่อยู่อาศัยให้ผู้ประกันตน ในการขอกู้เงินจากธนาคารต่อไปอีก 6 เดือน และให้ธนาคารปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ดังกล่าว ในวงเงินไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท (สำนักข่าวไทย, 26-4-2554) อนุมติงบ 525 ล้านให้ประกันสังคมดึงแรงงานเข้าระบบ 26 เม.ย. 54 - นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม. ) อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอของบ 525 ล้านบาท เพื่อเดินหน้าโครงการจูงใจให้แรงงานนอกระบบ เข้าเป็นผู้ประกันตนในระบบตามมาตรา 40 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 พ.ค 2554 นี้ รายงานข่าวจากรประกันสังคม แจ้งว่าขณะนี้มีแรงงานนอกระบบสนใจเข้าโครงการนี้แล้วมากกว่า 3 แสนราย โดยสำนักงานประกันสังคม(สปส.) จะใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลางเพื่อประชาสัมพันธ์จูงใจให้แรงงานเข้าร่วม โครงการ 525 ล้านบาท สำหรับประสานเครือข่ายท้องถิ่น ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นศูนย์กลางลงทะเบียนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่แรงงานนอกระบบ ที่ต้องการสมัครเข้าระบบประกันสังคม มาตรา 40 โดยจะเริ่มจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. นี้ (โพสต์ทูเดย์, 26-4-2554) ครม.อนุมัติ​แต่งตั้ง คกก.​แก้​ไขปัญหาวิกฤติ​การณ์ขาด​แคลน​แรงงานของประ​เทศ นพ.มารุต มัสยวาณิช รอง​โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติ​แต่งตั้งคณะกรรม​การ​แก้​ไขปัญหา​การขาด​แคลน​แรงงานตามที่กระทรวง​ แรงงาน​เสนอ สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรม​การฯ ชุดดังกล่าวจะมี รมว.​แรงงาน ​เป็นประธานกรรม​การ ปลัดกระทรวง​แรงงาน ​เป็นรองประธานกรรม​การ ส่วนกรรม​การประกอบด้วย ปลัดกระทรวง​การคลัง ปลัดกระทรวง​เกษตร​และสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงมหาด​ไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิ​การ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ​เลขาธิ​การคณะกรรม​การพัฒนา​การ​เศรษฐกิจ​และสังคม​แห่งชาติ ​เลขาธิ​การคณะกรรม​การ​การศึกษาขั้นพื้นฐาน ​เลขาธิ​การคณะกรรม​การ​การอาชีวศึกษา ​เลขาธิ​การคณะกรรม​การ​การอุดมศึกษา ​เลขาธิ​การสภา​การศึกษา ​เลขาธิ​การคณะกรรม​การส่ง​เสริม​การลงทุน ​ผู้ว่า​การ​การ​เคหะ​แห่งชาติ รองปลัดกระทรวง​แรงงาน (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านส่ง​เสริมขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขันของประ​เทศ) อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือ​แรงงาน อธิบดีกรมสวัสดิ​การ​และคุ้มครอง​แรงงาน ​เลขาธิ​การสำนักงานประกันสังคม ประธานสภาอุตสาหกรรม​แห่งประ​เทศ​ไทย ประธานสภาหอ​การค้า​แห่งประ​เทศ​ไทย ประธานสภาองค์​การนายจ้าง​แห่งประ​เทศ​ไทย ประธานสภาองค์​การลูกจ้างสภาศูนย์กลาง​แรงงาน​แห่งประ​เทศ​ไทย ประธานสภาองค์​การลูกจ้าง​แรงงาน​เสรี​แห่งชาติ ​โดยมีอธิบดีกรม​การจัดหางาน​เป็นกรรม​การ​และ​เลขานุ​การ รองอธิบดีกรม​การจัดหางาน​และ​เจ้าหน้าที่กรม​การจัดหางานที่อธิบดีกรม​การ จัดหางานมอบหมาย ​เป็นกรรม​การ​และ​ผู้ช่วย​เลขานุ​การ ​โดยคณะกรรม​การฯ มีหน้าที่กำหนด​แนวทาง​และมาตร​การ​แก้​ไขปัญหา​การขาด​แคลน​แรงงาน​ใน​แต่ ละภาค​การผลิต​เพื่อ​เสนอ ครม.พิจารณามีมติ​ให้หน่วยงานที่​เกี่ยวข้องดำ​เนิน​การต่อ​ไป, ประสานน​โยบาย​และ​แผน​การ​แก้​ไขปัญหา​การขาด​แคลน​แรงงาน​ทั้งภาครัฐ​และ ภาค​เอกชน, ส่ง​เสริม​และสนับสนุน​การ​แก้​ไขปัญหา​การขาด​แคลน​แรงงาน​ทั้งภาครัฐ​และ ภาค​เอกชน, ติดตาม​และประ​เมินผล​การดำ​เนิน​การตาม​แนวทาง​และมาตร​การ​แก้​ไขปัญหา​ การขาด​แคลน​แรงงานของหน่วยงานต่างๆ ที่​เกี่ยวข้องตามมติ ครม. ​และมีอำนาจ​แต่งตั้งคณะอนุกรรม​การ​หรือคณะ​ทำงาน​เพื่อดำ​เนิน​การตามที่​ เห็นสมควร (สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 26-4-2554) ก.แรงงาน เปิดเบอร์โทรฉุกเฉินช่วยเหลือแรงงานใน ตปท. ตลอด 24 ชม. ก.แรงงาน 27 เม.ย.- นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังทำพิธีเปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำหรับแรงงานไทยในต่าง ประเทศ ที่บริเวณชั้น 1 กระทรวงแรงงานว่า จากการที่แรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมา ประสบปัญหาความเดือดร้อน อาทิ ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศลิเบีย สถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการติดต่อสื่อสารของแรงงานไทย แม้บางประเทศรวม 11 ประเทศจะมีสำนักแรงงานในต่างประเทศ (สนร.) แต่ก็ยังถือว่าไม่เพียงพอหากเกิดปัญหา ดังนั้น เพื่อให้แรงงานที่ประสบความเดือดร้อน สามารถโทรศัพท์ร้องทุกข์มายังกระทรวงแรงงานได้อย่างทันท่วงที จึงได้มีการเปิดหมายเลขโทรศัพท์พิเศษ ผ่านทางหมายเลข 800 662 662 66 เพื่อให้แรงงาน โทรมาร้องขอความช่วยเหลือที่ประเทศไทยได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่คิดค่าบริการ เบื้องต้นโครงการดังกล่าวจะนำร่องใน 20 ประเทศที่มีแรงงานไทยเป็นจำนวนมาก ประกอบด้วย แคนาดา จีน สาธารณรัฐ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี ฮ่องกง ฮังการี อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ โปตุเกส รัสเซีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ สวีเดน ไต้หวัน และอังกฤษ ก่อนจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ในอนาคต (สำนักข่าวไทย, 27-4-2554) สรส.ลงมติเอกฉันท์ให้ \สมศักดิ์ โกศัยสุข - สาวิทย์ แก้วหวาน\" ถอนตัวแกนนำเสื้อเหลือง รายงานข่าวแจ้งว่า สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มีมติเป็นเอกฉันท์สั่งให้นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) รุ่นที่ 1 และนายสาวิทย์ แก้วหวาน แกนนำพธม.รุ่นที่ 2 ถอนตัวจากพธม. ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 เม.ย. ที่ผ่านมา (มติชนออนไลน์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net