Skip to main content
sharethis

พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานศูนย์วัฒนธรรมอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม 24 องค์กร จะร่วมกันจัดงาน และฟังการอภิปราย “รำลึก 5 ปี กรณีกรือเซะ ตากใบ บนเส้นทางกระบวนความยุติธรรม” ในวันที่ 24 ตุลาคม ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่เวลา 09.00 น.17.00 น. เพื่อหารายได้สมบทกองทุนประชาชนเข้าถึงความยุติธรรม

โดยภาคเช้า จะได้ ชมวีทีอาร์ “รำลึกเหตุการณ์ มัสยิด กรือเซะตากใบ” และ อภิปราย “ประสบการณ์ ผลกระทบ และข้อเสนอของผู้ได้รับผลกระทบ” ตัวแทนกรณีกรือเซะ ตัวแทนกรณีตากใบ ตัวแทนกรณีสะบ้าย้อย ดำเนินการอธิปรายโดย นางโสรยา จามจุรี นักวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี

จากนั้นเป็นการอภิปราย หัวข้อ “กฎหมาย และ ข้อจำกัดในการช่วยเหลือและการเยียวยา”ผู้ร่วมอธิปราย ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานวิชาการการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบฯ หรือผู้แทน (ศวชต.) นายยุทธเดช ยังอภัย หัวหน้าศูนย์เยียวยาจังหวัดปัตตานี นางสาวนารี เจริญผลพิริยะ ศูนย์ศึกษาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล นายอนุกูล อาแวปูเต๊ะ ชมรมทนายความมุสลิม ดำเนินรายการโดย นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นักสิทธิมนุษยชน
 
ส่วนภาคบ่ายจะเป็นการอภิปราย หัวข้อ “แนวคิด ทางออก ทางการเมือง เพื่อยุติความขัดแย้ง ”ผู้ร่วมอธิปราย ได้แก่ นายพระนาย สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) หรือผู้แทน พลโทกสิกร คีรีศรี ผู้บัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) หรือผู้แทน นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายวรวิทย์ บารู สมาชิก วุฒิสมาชิก นายเจ๊ะอามิง โต๊ะตาหยง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดนราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานกรรมาธิการความมั่งคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร นายแพทย์แวมะฮาดี แวดาโอ๊ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส พรรคเพื่อแผ่นดิน ดำเนินรายการโดย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม

พล.ต.ต.จำรูญ นอกจากนี้ ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหาปัจจัยความขัดแย้ง และสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุป แนวทางแก้ไข เสนอแนะรัฐบาล เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างองค์กร และให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้วย

พล.ต.ต.จำรูญ เปิดเผยอีกว่า โดยในเวทีจะมีการจัดเวทีอภิปราย เหตุการณ์สำคัญ และรับฟังความคิดเห็น และประชุมกลุ่มแกนนำองค์กรเครือข่าย บันทึกเสนอต่อรัฐบาล โดยคาดว่านอกจากเกิดเครือข่ายองค์ภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง การให้การช่วยเหลือบรรเทาเยียวยาให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ สนับสนุน ส่งเสริมภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ตรงเป้าหมาย ถูกต้องเหมาะสมแล้ว ยังต้องการให้เกิดกองทุนประชาชน เพื่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมด้วย

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวว่า สำหรับเหตุที่จัดโครงการนี้ขึ้นมา เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 เป็นต้นมา ยังไม่มีหนทางแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ในเวลาอันใกล้ แม้รัฐบาลปัจจุบันจะมีนโยบายการเมืองนำการทหารและนโยบายอื่นๆ ก็ไม่ปรากฏผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

พล.ต.ต.จำรูญกล่าวต่อว่า ปัจจัยสำคัญของปัญหาประการหนึ่ง คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน การเลือกปฏิบัติ และการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เสมอภาค และไม่เป็นธรรม จึงทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบันและ ในอนาคต ประชาชนผู้สุจริตจะต้องได้รับผลกระทบ เช่น กรณีเหตุการณ์ที่ มัสยิดกรือเซะ ตากใบ และเหตุการณ์อื่นๆ อีกหลายกรณี

พล.ต.ต.จำรูญกล่าวอีกว่า ประกอบกับผลการพิจารณาในกระบวนความยุติธรรมยังมีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันในภูมิภาคอื่นและในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นองค์กรภาคประชาสังคม ต่างตระหนักต่อปัญหานี้ จึงได้ร่วมกันกำหนดจัดกิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อร่วมกันศึกษาพิจารณาข้อเท็จจริง ให้ความรู้แก่ประชาชน และเสนอแนะต่อภาครัฐต่อไป

สำหรับองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ร่วมโครงการ ได้แก่ 1.สภาองค์กรมุสลิมแห่งประเทศไทย 2.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม 3.สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (สงขลา) 4.สมาคมจันทร์เสี้ยว การแพทย์และสาธารณสุข 5.สมาคมมุสลิม จังหวัดปัตตานี 6.สมาคมอิสลาม จังหวัดนราธิวาส 7.มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ 8.ศูนย์ทนายความมุสลิม 9.สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย 10.สหพันธ์นิสิตนักศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้

11.เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน 12.องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 13.เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความ ศูนย์ทนายความมุสลิม 14.ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านฮาลาล 15โครงการสื่อสันติภาพเพื่อลดความรุนแรง 16.เครือข่ายวิทยุชุมชนมุสลิมยะลา 17เครือข่ายสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ

18.สถาบันอัส สลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 19.วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี 20.เครือข่ายชุมชนศรัทธา 21.มูลนิธิเพื่อการศึกษา อามานะศักดิ์ 22.คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี 23.คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา และ 24.คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net