Skip to main content
sharethis

โดย รัชนี รัตติกาล


 


 


           


"เชียงตุง" ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์การสร้างบ้านเมืองในยุคสมัยใกล้เคียงกันกับเมือง "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" คือก่อตั้งเมื่อประมาณ 800 ปีที่ผ่านมา ตามตำนานการสร้างเมืองเชียงตุงกล่าวว่า ครั้งหนึ่งได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ขึ้น ณ ริมฝั่งลำน้ำขึน แต่มีพระดาบถรูปหนึ่งนามว่า "ตุงคฤาษี" แสดงอภินิหารอธิฐาน บนให้น้ำที่ท่วมไหลออกไป เหลือไว้แต่เพียงหนองน้ำใหญ่กลางใจเมือง ซึ่งในเวลาต่อมาหนองน้ำแห่งนี้ได้กลายเป็นที่มาของชื่อเมืองที่มีความรุ่งเรืองว่า "เชียงตุง" หรือ "เขมรัฐตุงคบุรี"


 


เชียงตุงวันนี้ยังคงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างน่าอัศจรรย์เป็นยิ่งนัก วิถีบนความแตกต่างและหลากหลายของประชากรหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่รวมกัน ประชากรส่วนซึ่งส่วนใหญ่ของเชียงตุงเป็นไตขึนหรือไตเขิน รองลงมาเป็นไตใหญ่ พม่า และมีชนกลุ่มน้อยอื่นๆ อีกหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์เช่น แอ่น ลาฮู่ อะข่า ปะด่อง คาลา ชิน ลีซู


 


เส้นทางไปเชียงตุงเป็นถนนลาดยางจากท่าขี้เหล็ก ลัดเลาะจากจังหวัดท่าขี้เหล็กกว่า150 กิโลเมตร ผ่านน้ำเลนเมืองท่าเดื่อ ผ่านหมู่บ้านชาวเขาและหมู่บ้านพี่น้องคนไตตลอดสองข้างทาง เชียงตุงเป็นเขตที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบแทรกอยู่เพียงเล็กน้อย เมืองมีลักษณะเป็นดินแดน "เมืองในหุบเขา" มีบ้านเรือนกระจายตัวออกไปตามพื้นที่ราบหุบเขาคล้ายกับแอ่งเชียงใหม่ลำพูน


 


 


หญิงสาวเชียงตุง


 


 


พิธีขอพรจากผู้ใหญ่


 


เมืองแห่ง 3 จอม 7 เชียง 9 หนอง 12 ประตู


เชียงตุงได้รับสมญานามว่าเมืองแห่ง 3 จอม 7 เชียง 9 หนอง 12 ประตู เมืองแห่ง 3 จอม หมายถึง เนินเขา เชียงตุงมีจอมจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ จอมทอง (จอมคำ) อันเป็นที่ตั้งขอวัดพระธาตุจอมคำที่เคารพสักการะของคนเชียงตุง จอมมนอันเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมมน ปัจจุบันพม่าสร้างพระพุทธรูปยืน คนไตเขินเรียกว่าพระเจ้าจี้(พระชี้นิ้ว)ตระหง่านหันหน้าและชี้พระหัตถ์มายังพระธาตุจอมคำ และจอมสักอันเป็นที่ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ ซึ่งเรียกว่า ไม้หมายเมือง ที่เชื่อถือของชาวเชียงตุงเช่นกัน ต้นไม้ยางใหญ่ปลูกโดยเจ้าอลองพญา ในปีพ.ศ.2290 (..1115) สูง 218 ฟุต รอบฐานกว้าง 39 ฟุต เป็นตั้งของหมู่บ้านขาวชาวเผ่าอาข่า(อีก้อ) และที่ตั้งค่ายทหารพม่า


 


เมืองแห่ง 7 เชียง เชียง หมายถึง บ้าน ซึ่งหมู่บ้านในเชียงตุงมีขึ้นด้วยเชียงมีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ เชียงงาม เชียงจัน เชียงลาน เชียงขุ่ม เชียงอิน เชียงยืน และเชียงจิน


เมืองแห่ง 9 หนอง หมายถึง หนองน้ำ ในเชียงตุงมีหนองน้ำจำนวน 9 หนอง ได้แก่ หนองตุง หนองโตง หนองเย หนองแล้ว หนองยาง หนองโปง หนองเข้ หนองไค้ และหนองตาช้าง


 


เมืองแห่ง 12 ประตู เชียงตุงมีประตูเมืองในจุดสำคัญ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ ประตูป่าแดง ประดูเชียงลาน ประตูง่ามฟ้า ประตูหนองผา ประตูแจ่งเมือง ประตูยางคำ ประตูหนองเหล็ก ประตูน้ำบ่ออ้อย ประตูยางเพิ่ง ประตูไก่ไห้ ประตูผายั้ง และประตูป่าม่าน


 


อดีตและลมหายใจ เชียงตุง-ล้านนา


ยุคสมัยพญามังรายกล่าวไว้ว่า จุลศักราช 591 (พ.ศ.1772) พญามังรายประพาสป่าและไล่กวางทองมาจนถึงเมืองเชียงตุง พระองค์เล็งเห็นภูมิประเทศก็พอพระทัยสั่งให้ข้าราชบริพารสลักรูปพรานจูงหมาพาไถ้ แบกธนูไว้บนดอย หลังจากนั้นเสด็จกลับมาเมืองเชียงรายแล้วส่งกองทัพ นำทัพโดยขุนคง ขุนลังมาชิงเมืองจาก ชาวลัวะแต่ไม่สำเร็จ จึงส่งมังคุม มังเคียน ซึ่งเป็นชาวลัวะมารบอีกครั้งหนึ่งก็รบชนะ และได้มอบให้มังคุมและมังเคียนครองเมือง ภายหลังเมื่อทั้งสองสิ้นชีวิต พระองค์จึงส่งเจ้าน้ำท่วมผู้เป็นราชบุตรไปปกครองเมืองเชียงตุงเมื่อ พ.ศ. 1786 เชียงตุงจึงเป็นเมือง "ลูกช้างหางเมือง" ขึ้นกับอาณาจักรล้านนา(พงศาวดารเมืองเชียงตุง)


 


ในการปกครองระบบเจ้าฟ้าเชียงตุงอันมีพระมหากษัตริย์หรือจ้าวมหาชีวิต เป็นประมุขสูงสุด ทำหน้าที่ดูแลไพร่ฟ้าประชาชน ในหัวเมืองอันเป็นอาณานิคมของล้านนานั้นเคยมีการปกครองด้วยระบบกษัตริย์ ซึ่งเป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจของผู้คนชาวเมืองมาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ เชียงแสน เชียงตุง ลำพูน ซึ่งกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ถูกสืบทอดต่อมาในเชื้อสายของราชวงศ์ตามหลักฐานระบุว่ามีเจ้าฟ้าปกครองอยู่ 48 พระองค์ พระองค์สุดท้ายคือ "เจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง"


 


การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเชียงตุงและเชียงใหม่สมัยราชวงศ์มังราย อาจกล่าวได้ว่าตอนต้น เสริมสร้าง ความสัมพันธ์โดยใช้ระบบเครือญาติ เนื่องจากเจ้าเมืองเชียงตุงส่วนใหญ่เป็น เชื้อสายของกษัตริย์เชียงใหม่ ช่วงที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในอาณาจักรล้านนาการเสริมสร้างความสัมพันธ์จึงเน้น การเผย แผ่พระพุทธศาสนาจากเชียงใหม่สู่เชียงตุง


 


ต้นพุทธศตวรรษที่ 24 เชียงตุงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลพม่าส่วนเชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสยาม ความขัดแย้งของพม่าและสยามมีผลต่อความสัมพันธ์เชียงใหม่และเชียงตุง ซึ่งนำไปสู่การทำสงครามเชียงตุงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(สรัสวดีอ๋องสกุล.ประวัติศาสตร์ล้านนา. 2539: 189)



ความสัมพันธ์ของเจ้าฟ้าเชียงตุงกับเจ้าหลวงล้านนายังคงดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมา โดยเฉพาะในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ราชสำนักเชียงตุงกับเชียงใหม่ มีความเกี่ยวดองทางเครือญาติกันยิ่งขึ้นเมื่อมีราชตระกูลของทั้งสองฝ่ายทำการอภิเษกสมรสกัน เช่น เจ้าอินทนนท์ ราชบุตรของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายสมรสกับเจ้านางสุคันธา ราชธิดาของเจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าเชียงตุง และเจ้าหญิงทิพวรรณ ณ ลำปางทรงสมรสกับเจ้าพรหมลือ ราชบุตรของเจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของราชตระกูลทั้งสองในอดีตที่ผ่านมา


ในปีพ.. 2450 หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากการประชุมร่วมกับอังกฤษที่ประเทศอินเดียแล้ว พระองค์ได้สร้างพระราชวังหลวง หรือ "หอหลวง" ด้วยสถาปัตยกรรมแบบอินเดียผสมกับยุโรปขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นหอหลวงที่ใหญ่โตและสง่างามยิ่ง แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองการเมืองในพม่าเกิดความระส่ำ เกิดความขัดแย้งและความสับสนในการเจรจาเรื่องเอกราชกับอังกฤษทำให้เชียงตุงและรัฐฉานกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพพม่า


 


รัฐบาลทหารเผด็จการพม่าต้องการรวมอำนาจการปกครองให้ขึ้นตรงกับพม่า ทำการขุดรากถอนโคนทำลายระบบเจ้าฟ้าในหัวเมืองต่าง ๆ ของพม่า ด้วยเหตุนี้พระราชวังหลวง หรือ หอคำหลวงเมืองเชียงตุง จึงถูกทุบทิ้งด้วยเหตุผลทางด้านการท่องเที่ยวที่พม่ากำลังจะเปิดประเทศออกสู่สายตาชาวโลก ซึ่งเหตุผลของการทุบทิ้งหอหลวงเมืองเชียงตุงเมื่อปี พ.ศ.2534 เพียงเพราะพม่าต้องการพื้นที่ใช้สร้างโรงแรมเชียงตุง ซึ่งเป็นบาดแผลในใจของคนไตอยู่จนปัจจุบัน                                                                          


 


ราชสำนักเชียงตุงที่มีกษัตริย์สืบทอดราชบังลังก์ต่อเนื่องยาวนานถึง 48 พระองค์นานกว่า 800 ปีก็ถึงกาลล่มสลาย ชาวไทขึนในเชียงตุงและชาวไทใหญ่ในรัฐฉานจึงมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยและพลเมืองชั้นสอง ถูกปิดกั้นทางเสรีภาพทางการเมือง อย่างไรก็ตามด้วยความผูกพันต่อระบบกษัตริย์ที่ฝังรากลึกมายาวนานทำให้ชาวไทขึนแห่งเชียงตุงมิอาจแยกความเป็น "บ่าวและเจ้า" ออกจากวิถีชีวิตได้ ทุก ๆ ปีในช่วงวันสงกรานต์บรรดาลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าผู้ครองนครจะทำการปัดกวาดเช็ดถูกู่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้าเชียงตุงซึ่งตั้งอยู่กลางเมือง


 


ชัยบุญ สิงหา อายุ 43 ปี ซึ่งเป็นชาวบ้านเจียงจันในฐานะของผู้ถือกุญแจเข้าสุสานเจ้าฟ้าเชียงตุง ได้อนุเคราะห์ให้พวกเราเข้าไปคารวะกู่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้าเชียงตุงซึ่งตั้งเรียงรายจำนวน 9 กู่


 


 


กู่อัฐิของเจ้าฟ้าเชียงตุง


 



โรงแรมเชียงตุง อดีตหอคำเจ้าฟ้าที่ถูกทางการพม่าทุบทิ้ง



คุณชัยบุญได้บอกเล่าเรื่องราวของเจ้าฟ้าเชียงตุงผ่านข้อความภาษาไทขึนที่ติดไว้ข้างแต่ละกู่ว่า…

"
สุสานของเจ้าฟ้าเชียงตุงที่นี่จะเป็นกู่บรรจุอัฐิเฉพาะเจ้าฟ้าที่เป็นผู้ชายเท่านั้น องค์แรกเป็นของเจ้ามหาขนาน ประสูติเมื่อ วันเสาร์แรม 7 ค่ำเดือน 10 ..1143 ครองราชย์เมื่อปี จ.. 1175 สวรรคตเมื่อปี จ..1219 ส่วนองค์ที่สองเป็นของเจ้ามหาพรหม ลูกชายของเจ้ามหาขนาน องค์ที่สามเป็นของเจ้าน้อยแก้ว ซึ่งประสูติเมื่อปี จ.. 1180 ครองราชย์ได้ปีเดียวเมื่อปี จ.. 1238 และสวรรคตในปี จ.. 1239 กู่บรรจุอัฐิองค์ที่ 4 เป็นของเจ้าฟ้าเจียงแข็งหรือเจ้ากองไต ลูกชาของเจ้ามหาขนาน องค์ที่ 5 เป็นของเจ้ากองคำฟู ลูกชายของเจ้ากองไต ประสูตเมื่อปี จ.. 1236 ครองราชย์ในปี จ.. 1248 สวรรคตปี จ.. 1257 องค์ที่ 6 เป็นของเจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง น้องเจ้ากองคำฟู เป็นกู่ที่สร้างขึ้นได้สวยงามซึ่งสร้างโดยช่างชาวอินเดีย องค์ที่ 7 เป็นของเจ้ากองไต ลูกของเจ้ารัตนก้อนแก้ว ซึ่งถูกยิงเสียชีวิต องค์ที่ 8 เจ้าพรหมลือ น้องเจ้ากองไต ส่วนองค์สุดท้ายเป็นของเจ้าจายหลง ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าลำดับที่ 48 พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์มังราย(ธีรภาพ โลหิตกุล กว่าจะรู้ค่า คนไทในอุษาคเนย์ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาสน์ 2544)


 


อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รัฐบาลพม่าได้เปิดเชียงตุงออกสู่สายตาคนภายนอกอีกครั้ง ทำให้เมืองแห่งนี้ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในฐานะของดินแดนซึ่งครั้งหนึ่งเคยรุ่งเรืองไพบูลย์ด้วยระบบกษัตริย์ มีผู้คนจำนวนมากต่างใฝ่ฝันที่จะได้เดินทางเข้ามาเยือนเมืองแห่ง "อุดมคติ" ที่มั่งคั่งด้วยพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต


 


มีเรื่องราวมากมายที่ไม่สามารถจะหาคำมาบรรยาย แรงบันดาลใจในการร้อยเรื่องราวของเชียงตุง(เขมรัฐบุรี) ที่มีวิถีชีวิตและเรื่องราวของผู้คน ณ ดินแดนแห่งนี้นั้น หาใช่ใครอื่นไกลที่ไหนแต่เป็นความผูกพันธุ์ต่อกันของผู้คนที่มีมานับร้อยปี นับพันปี วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนที่อยู่อย่างเรียบง่าย ประหยัด พึ่งพาตนเอง มีธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่งดงาม


 


เหมือนอย่างกับคำโบราณที่ว่า "หนตางบ่าได้เตียวมันก็หมอง ปี้น้องบ่าวได้แอ่วหากั๋นมันก็ลืม"(เส้นทางไม่มีคนเดินย่อมรกร้าง ญาติพี่น้องไม่ได้มาเยี่ยมเยียนหากันมันก็ลืม)


 


 


ลำน้ำเขิน


 


วิถีไต...ชาติเชื้อไต


ไตเขินหรือไตขึนชาติเชื้อไตยวนหรือไตโยนก เรื่องราวเหล่านี้ดูเหมือนจะห่างไกลกันไปทุกทีทุกขณะกับความรู้สึกที่ถูกให้ค่าของผู้คนและดินแดนในขณะนี้ เป็นช่องว่างและถูกกีดขีดขวางด้วยเส้นแนวพรมแดนไทย-พม่า ทั้งๆที่ผู้คน ผิวพรรณสำเนียงภาษา รอยยิ้ม ก็ไม่ผิดแผกแตกต่างไปกับพี่น้องคนไทยในดินแดนล้านนาในเวลานี้แม้แต่น้อย


 


ผู้คนส่วนใหญ่ของเมืองเชียงตุงเป็นชาวไทเขินแต่เดิมก็เรียกตนเองว่า "ยวน" แล้วจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า "ขืน" หรือ "เขิน" เมื่อภายหลัง ไม่ว่าจะโดยคนกลุ่มใด ความรู้สึกถึง ความเป็นเชื้อชาติ "ไท" นั้น อาจเป็นเชื้อชาติทางวัฒนธรรม มากกว่าที่จะเป็นชาติพันธุ์หนึ่งดังที่เข้าใจกัน ดังนั้นความเป็นไทขืนจึงหมายถึงคนไทกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่แห่งนี้


 


คำว่า "ขืน" หรือ "ขึน" ว่าน่าจะมาจากสภาพน้ำขืนที่ไหลขึ้นเหนือ จึงถูกเรียกว่า "เมืองขืน" หรือ "เมืองขึน" ดังนั้นผู้คนที่อาศัยในบริเวณนี้ จึงมีชื่อว่า "ไทขืน" หรือ "ไทขึน" (สุพิน ฤทธิ์เพ็ญ.เขมรัฐนครเชียงตุง. 2541:68)


 



วิถีคนไตในชนบทของเมืองเชียงตุง


 


เชียงตุง เสมือนเมืองสวรรค์เหนือจินตนาการและสมจริงในแง่ประวัติศาสตร์                            เชียงตุง เสมือนเป็นเมืองสวรรค์เหนือจินตนาการ และให้ความสมจริงมากขึ้นจากเรื่องราวในประวัติศาสตร์ แต่น้อยนักจะรู้ว่าเชียงตุงได้ผ่านความเรื่องราวจริงๆ มาอย่างไร ผู้คนเป็นอยู่อย่างไร มีความหลากหลายทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์มากน้อยแค่ไหน การผสมผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรม ไว้อย่างมากมาย ได้อย่างไร แม้แต่ในเรื่องของศาสนาความเชื่อ


 


เราอาจพบเห็นวัดในศาสนาพุทธ โบสถ์ของศาสนาคริสต์ที่มีขนาดใหญ่โตหลายแห่ง และมัสยิดของศาสนาอิสลาม ณ ที่ไหนสักแห่งในเมืองเชียงตุง ความเชื่อในเรื่องเทพาอารักษ์ในที่เกือบทุกแห่ง เชียงตุงเป็นเมืองที่ทุกคนที่น่าไปสัมผัสบ้าง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเชียงตุงจะอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า แต่เนื้อหาที่ได้สัมผัสและพี่น้องเชื้อสายที่ยู่ที่นั่นก็คือพี่น้องของไตเฮานั้นเอง หาใช่คนอื่นไกลไม่


ผู้คนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันหลากหลาย มีผู้ที่ทำงานในเมืองใหญ่ทั่วไป และกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม หมู่บ้านต่างๆที่อยู่รอบเมืองต่างยังคงรักษาเอกลักษณ์เฉพาะตน การดำรงชีพที่พึ่งตนเองทำนาทำสวน ปลูกผักเลี้ยงปลา ทำการเกษตรแบบธรรมชาติที่ต้องพึ่งพากับธรรมชาติจริงๆโดยมิได้เติมแต่ง


 


ร่องรอยความเป็นอดีต การผสมผสานยังคงวนเวียนอยู่ในเชียงตุง ผู้สัมผัสอาจได้พบกาดหมั้วที่มีการมีการจุดไต้ในยามเช้ามืด และสัมผัสการจับจ่ายซื้อของในตลาดใหญ่ ประเพณีวัฒนธรรมที่ยังคงรักษาความงดงาม ความใสซื่อบริสุทธิ์ของจิตใจและนิสัยใจคอที่แย้มยิ้มแจ่มใสกับคนไทยที่ได้ไปเยี่ยมเยือนประหนึ่งพี่น้องที่จากกันเนิ่นนาน ซึ่งทำให้อดคิดไม่ได้ว่าเราคนหนึ่งคนใดอาจเป็นเครือญาติกับใครคนหนึ่งของที่นั้นก็เป็นได้.


วิถีแห่งอดีต…เมืองเชียงตุงกับสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ หากหวนคิดถึงรากรอยของแผ่นดินและวิถีของเรา เลือดเนื้อจิตวิญญาณพรรพบุรุษที่เคยร่วมสร้างแผ่นดินไว้ให้ลูกหลาน


 


คุณค่าของอดีตและวันเวลาที่ยังหลงเหลือไว้เมื่อวันวาน อาจจะสะท้อนอะไรให้เราได้บ้างในเมืองเชียงตุง ก่อนที่เราจะเห็นเชียงตุงเปลี่ยนไปมากกว่านี้ .....


…………………………….

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net