Skip to main content
sharethis

บทนำ

นับตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืนที่จังหวัดนราธิวาสในวันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นต้นมา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของของความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อย่างเป็นทางการ จนถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในวันที่ 28 เมษายน 2547 ที่มีการรวมตัวของกลุ่มผู้ก่อเหตุบุกทำลายสถานที่ราชการ 10 จุด นำมาสู่การตอบโต้อย่างรุนแรงจากภาครัฐไม่ว่าที่มัสยิดกรือเซะหรือที่อำเภอสะบ้าย้อย และนำมาสู่การเสียชีวิตของผู้ก่อการถึง 106 ศพ เหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นเรื่อยมาโดยมีการทำร้ายทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนรายวัน จนถึงเหตุการณ์การชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ซึ่งมีการสลายการชุมนุม และเกิดกรณีการเสียชีวิตจากการควบคุมตัวขณะขนย้ายผู้ชุมนุม จนทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมถึง 85 คน

ถึงทุกวันนี้เหตุการณ์ความไม่สงบได้ทวีความรุนแรงขึ้น รวมทั้งขยายตัวมาสู่ 5 อำเภอชายแดนของจังหวัดสงขลา และสร้างความหวั่นวิตกให้กับทุกคนในพื้นที่ สำหรับโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่นั้น ต่างก็มีการปรับตัวและวางมาตรการในการดูแลขวัญกำลังของเจ้าหน้าที่และจัดระบบการทำงานเพื่อความปลอดภัยในหลากหลายรูปแบบ ตามเงื่อนไขและบริบทของพื้นที่และโรงพยา
บาลนั้นๆ

สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) และ สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ ( สวรส.ภาคใต้ ) ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดให้มีการสัมมนาเพื่อแสวงหาบทเรียนและรูปแบบการเตรียมความพร้อมในด้านความปลอดภัยในโรงพยาบาลชุมชนจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้จัดสัมมนาขึ้นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีในวันที่ 26 ธันวาคม 2547

โดยมีการนำเสนอบทเรียนจากโรงพยาบาลชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 4 โรง พยาบาลชุมชนคือ โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา โรงพยาบาลกะพ้อ จังหวัดปัตตานี โรงพยาบาลตากใบและโรงพยาบาลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีบทเรียนที่แตกต่างกันตามบริบทและสถานการณ์ในพื้นที่ที่น่าสนใจยิ่ง และเป็นบทเรียนที่มีค่า ดังจะได้นำเสนอเป็นรายโรงพยาบาลดังต่อไปนี้

เรียบเรียงโดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา
24 กุมภาพันธ์ 2548

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net