Skip to main content
sharethis

กลุ่มทำทาง ร้องประธาน กมธ.สาธารณสุข ตรวจสอบ ติดตามการดำเนินงานเพิ่มจำนวนสถานบริการทำแท้งปลอดภัยให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการยุติการตั้งครรภ์ และมุ่งบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ย้ำเป็นเวลา 3 ปีแล้วที่กฎหมายทำแท้งฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ 

8 ก.พ.2567 เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา กลุ่มทำทางกับเครือข่ายขจัดการเลือกปฏิบัติฯ MovED และสถาบันวิจัยฯ IHRI ยื่นหนังสือถึง นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอให้ตรวจสอบ ติดตามการดำเนินงาน และให้ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงสาธารณสุข ในการเพิ่มจำนวนสถานบริการทำแท้งปลอดภัยที่รับงบประมาณสนับสนุนค่าบริการจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงประกาศรายชื่อสถานบริการทำแท้งปลอดภัยตลอดจนให้ข้อมูลสิทธิสุขภาพในการได้รับการสนับสนุนค่าบริการทำแท้ง และข้อมูลเรื่องการทำแท้งที่ถูกต้องให้ประชาชนได้ทราบ เพื่อบังคับใช้กฎหมายทำแท้งฉบับแก้ไขใหม่ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เนื่องจากไทยได้ประกาศ พ.ร.บ. เพิ่มเติมแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2564) หมวดว่าด้วยการทำแท้งในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ.64 เป็นต้นมา โดย สปสช. ได้สนับสนุนค่าบริการยุติการตั้งครรภ์ 3,000 บาท

สำหรับประเด็นข้อร้องเรียนระบุด้วยว่า แต่ในทางปฏิบัติพบว่า ยังมีปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ และต้องการเข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย แต่กลับพบว่าส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ โดยเฉพาะสถานบริการของภาครัฐที่ไม่ยินดีเปิดบริการทำแท้งปลอดภัยตามกฎหมาย ดังนั้น กลุ่มนำทาง จึงขอให้คณะ กมธ. การสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ตรวจสอบกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวหรือไม่ โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนสถานบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการยุติการตั้งครรภ์ และให้ข้อมูลเรื่องสิทธิสุขภาพในการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

กลุ่มทำทาง ยังระบุด้วยว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราได้ทำการยื่นจดหมายเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการจัดให้มีบริการยุติการตั้งครรภ์ครอบคลุมทั่วประเทศ อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง และประกาศรายชื่อสถานบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ตลอดจนดำเนินการเพื่อการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ให้กับบุคลากรด้านสาธารณสุข เพื่อลดอคติต่อการทำแท้ง แต่ก็ไม่เคยได้รับการตอบรับใด ๆ จากกระทรวงฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเพียงได้รับทราบว่ากรมอนามัยได้มีการจัดอบรมบุคลากรเพื่อให้การปรึกษาทางเลือกตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

กลุ่มทำทางจึงได้ทำหนังสือถึงกรรมาธิการสาธารณสุขเพื่อขอให้ตรวจสอบและเร่งรัดการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขที่นิ่งเฉยมาเป็นเวลา 3 ปีในการจัดให้มีบริการทำแท้งที่ปลอดภัยซึ่งเป็นบริการสขุภาพที่สำคัญและจำเป็นสำหรับประชาชน

กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า กมธ. จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาโดยเร่งด่วน พร้อมจะเชิญหน่วนงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้แทน สปสช. เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมผลักดัน เรื่องดังกล่าวให้เป็นนโยบายของรัฐบาลให้ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อไป

ขณะที่ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุขฯ กล่าวว่า ภายหลังรับหนังสือว่า กมธ. จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาโดยเร่งด่วน พร้อมจะเชิญหน่วนงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้แทน สปสช. เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมผลักดัน เรื่องดังกล่าวให้เป็นนโยบายของรัฐบาลให้ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อไป

เรียบเรียงจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'กลุ่มทำทาง' และสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net