Skip to main content
sharethis

เปิดมุมมองผู้ต้องหา-ทนายคดี 'หมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ' หลังประท้วงคำวินิจฉัยคดีประยุทธ์ นายกฯ 8 ปี ผู้ต้องหายันนี่ไม่ใช่การร้องขอ แต่นี้คือคำพิพากษาจากประชาชน ย้ำการแสดงความคิดเห็นไม่ได้ฆ่าใคร

วันที่ 30 กันยายน 2565 เป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่ายังดำรงในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ โดยเริ่มนับจากวันที่ประกาศรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งจะไม่นับช่วงที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะ คสช.

วันเดียวกันนั้นประชาชนได้แสดงออกถึงความไม่พอใจในคำพิพากษาของศาลรัฐธรรม หนึ่งในนั้นคือการแขวน แปะรูปหน้าผู้พิพากษา เพื่อแสดงถึงความไม่พอใจต่อศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินขัดจากหลักการประชาธิปไตย ที่มาผู้พิพากษาก็ไม่โปร่งใส และภายหลังการแขวนหุ่น 2 พ.ค. 2566 ได้หมายเรียกรายงานตัวรับความข้อกล่าวหา 6 ผู้ต้องหา “ดูหมิ่นศาลรัฐธรรมนูญ” ที่สภ.เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักกิจกรรม รวมตัวที่อ่างแก้ว จัดกิจกรรมหลังศาลรัฐธรรมนูญมติเสียงข้างมากให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่สิ้นสุดลง ตาม รัฐธรรมนูญ (30 ก.ย.65)

นักกิจกรรมและนักศึกษาจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 6 คน เดินทางมาที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา “ร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี” (22 พ.ค. 66)

ในนามของความสงบเรียนร้อย ขอให้ทุกคนปรับมุมมอง เปลี่ยนจุดยืน

“การที่คำตัดสินของศาลตามรธน. 60 ว่าประยุทธ์สามารถอยู่เป็นนายกต่อได้ มันเป็นคำอธิบายที่เพียงพอกับสังคมหรือไม่” พิฆเนษ ประวัง ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำคดีนี้ได้ตั้งคำถามต่อคำตัดสินของศาลนั้นมีน้ำหนักและมีเหตุผลเพียงพอในการอธิบายต่อสังคมหรือไม่ 

พิฆเนษ ประวัง ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำคดีนี้

“ในทางสากล มันเป็นฉันทามติว่าไม่มีนายกหรือผู้นำอยู่ในอำนาจในการบริหารประเทศเกิน 8 ปีเพื่อเลี่ยงไม่ให้เกิดการสร้างรกรากการสืบทอดอำนาจ คอร์รัปชั่น” พิฆเนษ กล่าว

ทนายความสิทธิมนุษยชนอธิบายถึงการที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ เกินกว่า 8 ปีโดยที่ศาลได้ยึดตามรัฐธรรมนูญ 60 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ระบุเอาไว้ว่าสามารถเป็นนายกต่อไปได้ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เคยขึ้นโดยยึดมาจากคำสั่งคสช. 

“ที่มาของพวกคุณก็ไม่ได้โปร่งใส อย่างลืมว่าพวกท่านมาจากการแต่งตั้งของคสช. ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินขัดกับเสียงของสาธารณะชนมาหลายครั้ง ที่มาก็ไม่ได้โปร่งใส”

พิฆเนศ ทนายความประจำคดีนี้ได้ชวนมองย้อนกลับถึงที่มาของศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นวันคณะรัฐประหารนำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้ายึดอำนาจและมีการเรียกตัวหลายคนจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นแกนนำการชุมนุม นักการเมืองพรรคต่างๆ สื่อสาธารณะ รวมถึงองค์กรอิอสระและศาลต่างๆก็เป็นหนึ่งในองค์กรอิสระที่ถูกเรียกเข้าไป “ปรับทัศนคติ” และเกิดการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง โครงสร้างต่างๆของศาลยุติธรรมในประเทศไทยทุกอัน

ท่านไม่ได้สูงส่งกว่าใคร

“ศาลไม่ได้ดำรงอยู่แยกจากสังคม ถ้าศาลตัดสินออกมาแล้วก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ศาลมีอำนาจในการดูแลสังคมด้วยเป็นตัวกลางในการตัดสินบางอย่างเพื่อความยุติธรรม เที่ยงธรรมแก่สังคม เพราะงั้นศาลจึงเป็นอิสระจากองค์กรของรัฐ”ทนายพิฆเนศ กล่าว พร้อมเล่าให้ฟังว่าตามปกติศาลต้องไม่อยู่ภายใต้อำนาจของสถาบันทุกสถาบันทางสังคม เป็นองค์กรอิสระที่มีหน้าที่มอบการตัดสินที่เป็นธรรม บนหลักการประชาธิปไตย และเมื่อพิพากษาเรียบร้อยแล้ว อำนาจในคดีความนั้นย่อมจบลงด้วยเช่นกัน ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพราะคำพิพากษาเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อสังคม

“ทุกวันนี้ปัญหาทางการเมืองหลายประการก็มาจากการที่ตุลาการ หรือตุลาการภิวัฒน์  ไม่ใช่แค่คำสั่งคสช.และรธน. 60 แต่ตัวตุลาการ และนักกฎหมายก็ใช้ความรู้ ความสามารถเข้าไปบิดกฎหมาย กระบวนการตุลาการ เพื่อนำไปรับใช้อำนาจเผด็จการ คุณได้สร้างปัญหาไว้ให้สังคมต้องตามแก้ขึ้นและแก้เยอะขึ้นอีกเรื่อยๆ อีก”

พิฆเนศกล่าวถึงการมีส่วนร่วมของศาลกับคสช. ก่อนอธิบายถึงดีทางการเมืองว่าศาลเกี่ยวข้องกับคดีทางการเมืองหลายร้อยคดีนับตั้งแต่มีการเข้ามายึดอำนาจคสช. 

สำหรับบทบาทของศาล ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนคนนี้ มองว่า เป็นส่วนหนึ่งในกลไกที่ช่วยให้คณะรัฐประหารได้เข้ายึดและรวบรวมอำนาจ อย่างคดีความอาญาที่รัฐฟ้องประชาชน โดยอ้างถึงขัดคำสั่งคสช.ที่ 3/57 เท่ากับว่าเมื่อประชาชนทำกิจกรรมหรือมีความคิดเห็นใดก็ตามที่ขัดต่อคำสั่งคสช. ก็จะนับว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เท่ากับว่าคำสั่งของคสช.ในตอนนั้นมีน้ำหนักในการปกครองประเทศมากกว่ารัฐธรรมนูญเสียอีก และยังถูกพัฒนามาเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ยิ่งเป็นการเพิ่มอำนาจให้คณะรัฐประหารหรือรัฐบาลของพล.อ. ประยุทธ์ และลดเสรีภาพของประชาชนแทน

"แต่ศาลใช้อำนาจปิดปากคนเห็นต่าง ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของคุณ และจะให้ประชาชนพอใจได้อย่างไร แถมยังใช้ปิดปากประชาชน ด้วยคดีนี้ก็เช่นกัน" ทนายในคดีนี้กล่าว พร้อมระบุด้วยว่าศาลก็อำนวยให้คสช.ดำเนินคดีความกับประชาชน ด้วยการให้อำนาจแก่ศาลทหารในการเรียกตัวและเอาผิดประชาชน และภายหลังเกิดรัฐธรรมนูญ 60 ขึ้นมาศาลยุติธรรมต่างๆ ยังคงมีคำตัดสินที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การแสดงออกความคิดเห็นต่อรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของคสช.ด้วยการชุมนุม มากกว่า 100 คดีที่ประชาชนถูกรัฐฟ้องและได้รับโทษในฐานะนักโทษทางความคิด จากการแสดงออกความต้องการของตนเองว่า ต้องการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องการรัฐบาลทหารอีกต่อไป และศาลตัดสินให้การแสดงออกความคิดทางการเมืองของประชาชนกลายเป็นความผิด

"ศาลเองก็ไม่ได้วางตัวเป็นองค์กรอิสระที่รักษาไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม แต่ใช้การปกครองด้วยกฎหมายของเผด็จการมาควบคุมประชาชน ไม่ให้สังคมเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตย และกดให้จอดไว้อยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการแทน” พิฆเนศกล่าว

นี่ไม่ใช่การร้องขอ แต่นี้คือคำพิพากษาจากประชาชน

วันที่ 30 กันยายน 2565 มีการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกถึงคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญที่ยกฟ้องพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาให้ไม่มีความผิดในการรัฐประหารและสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปได้โดยยึดจากวันประกาศรัฐธรรมนูญ 60 ไม่นับช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชายังเป็นหัวหน้าคสช.

ผู้ต้องหาในคดีนี้มี 6 คน ซึ่งยังไม่ถูกพิสูจน์ว่าได้ออกไปแขวนหุ่นตามที่ถูกฟ้องร้องได้อธิบายว่า ...

วิทยา ไชยคำหล้า หนึ่งในผู้ต้องหาที่ถูกฟ้องร้องโดยจนท.ตำรวจที่ได้รับอำนาจการดำเนินการฟ้องร้องจากผู้พิพากษาอีกในคดีหมิ่นประมานผู้พิพากษา ได้แสดงความเห็นต่อหมายเรียกครั้งนี้ว่า

“เมื่อศาลมองไม่เห็นความผิดของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เข้ามาแทรกแซงการเมืองด้วยการรัฐประหารเข้ามาเป็นนายก สืบทอดอำนาจตัวเองด้วยการเขียนรัฐธรรมนูญที่มาจากคำสั่งคสช. แต่งตั้ง 250 สว.อนุมัติโครงการต่างๆที่สร้างผลกระทบต่อชีวิตประชาชน เอื้อประโยชน์ต่อนายทุน ดำเนินคดีทางการเมืองและใช้ความรุนแรงจนนำไปสู่การบาดเจ็บและสูญเสียของประชาชน โดยที่นายกเองก็ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งประชาชนเรียกร้องละแสดงออกมาโดยตลอดแต่ก็ไร้ซึ่งการตอบรับ มีเพียงแต่ความรุนแรงที่ได้รับกลับมา และในวันที่ 30 กันยายน 2565 ศาลรัฐธรรมนูญก็ยกฟ้อง มีคำพิพากษาว่า พล.อ.ประยุทธ์ยังคงมีอำนาจและสืบทอดตำแหน่งต่อไปได้ 

นั่นเท่ากับว่าศาลเองก็ไม่ได้มองเห็นการกระทำของรัฐบาลคสช.ว่าเป็นความผิด มันจะไม่ผิดได้อย่างไร เราเห็นกันอยู่คาตา”

ผู้ต้องหาทั้ง 6 มองว่าช่วงเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ความผิดของรัฐบาลคสช.มีให้เห็นอยู่ตลอด จึงไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา ไม่ว่าผู้คนจะแสดงออกอย่างไร แต่คำพิพากษาไม่ใช่สิ่งที่สูงส่งกว่าประชาชน และต้องวิจารณ์ได้  “เพราะเราล้วนเป็นมนุษย์เหมือนกัน จะใครสูง-ต่ำ กว่ากันไม่ได้ นั่นไม่ใช่ประชาธิปไตย”

“ก็ไม่ว่าใครจะเป็นคนทำ แต่การฟ้องร้องประชาชนโดยศาล มันไม่สมเหตุผล เพราะถ้าคำพิพากษามีน้ำหนัก และชัดเจนในหลักการประชาธิปไตย ทุกคนก็ต้องสามารถวิจารณ์ได้ แต่นี่นอกจากไม่เห็นความผิดของประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังดำเนินคดีปิดปากประชาชน ดังนั้นศาลที่ตัดสินเช่นนี้ ไม่ใช่ศาลที่มอบความยุติธรรมให้แก่สังคม แต่เป็นศาลที่มอบอำนาจให้เผด็จการ”

ผู้ต้องหาทั้ง 6 คน  ให้ความเห็นว่าการแสดงออกความคิดเห็นต่อคำพิพากษาเป็นเรื่องที่ทำได้ การแขวนหุ่นผู้พิพากษาเพื่อแสดงออกว่าการตัดสินที่ไม่เป็นธรรมเชนนี้ ไม่ใช่ศาลที่ยุติธรรม แต่เป็นศาลที่รับใช้เผด็จการ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่เกิดความเป็นธรรมต่อสาธารณะชน เสรีภาพในการแสดงออกก็เป็นเรื่องปกติ ทุกคนสามารถทำได้ แต่ที่ทำแล้วโดนคดีนี่คือความผิดปกติของโครงสร้างประเทศนี้ 

การแสดงความคิดเห็นไม่ได้ฆ่าใคร

“โทษ 1-7 ปีเทียบเท่า มาตรา 116 เป็นภัยความมั่นคงของรัฐ ก็มองตีความได้ว่า การวิพากย์วิจารณ์ผู้พิพากษาเป็นความผิดร้ายแรงเท่าการเป็นภัยต่อความมั่นคงต่อรัฐ หรืออาจร้ายแรงกว่าเพราะโทษมันแรงเริ่มต้นที่จำคุก 1-7 ปี แต่มาตรา 116 จำคุก 0-7 ยังมีโอกาสที่ไม่ต้องเข้าเรือนจำมากกว่าหารดูหมิ่นผู้พิพากษา”

พิฆเนษ ประวัง ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ความเห็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาแล้วมีโทษที่หนักและหนักเกินกว่าความจำเป็น เป็นสิ่งที่สะท้อนมุมมองรัฐไทยในการออกกฎหมายว่าต้องการควบคุมเสรีภาพทางความคิดแบะการแสดงออกของประชาชน

“การวิพากย์วิจารณ์กับคำตัดสิน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร เป็นตลกร้าย ที่ศาลมาดำเนินการคดีความ เพราะไม่อยากเห็นสังคมพูดถึงต่อคำตัดสิน แต่กลับปิดปาก เพราะว่าหน้าที่ของศาลคือคนกลาง ถ้าผลออกมาจากความยุติธรรม มั่นใจในความเที่ยงธรรม ก็แค่ให้สังคมต้องเห็น และออกความคิดเห็นกันไป ไม่ได้จำเป็นต้องมาจัดการความคิดเห็นประชาชน ให้สังคมออกความเห็นกันเองได้”

ผู้ต้อง ธรีภารณ์ พุดทะสี  อีกหนึ่งผู้ต้องหาคิดว่าคำพิพากษาของศาลต้องเป็นเรื่องที่วิจารณ์ได้ ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพที่จำชะทำ เป็นเรื่องปกติ

“แล้วจริงๆคำพิพากษามันเป็นสาธารณะ คดีแบบนี้คุณควรให้สังคมออกความเห็นด้วยซ้ำว่า สังคม ประชาชนสาธารณะจะว่าอย่างไร เพราะขอบเขตของอำนาจตุลาการ มันไม่ได้มีไว้เพื่อจัดการควบคุมความคิดสังคม เว้นแต่เขาไปทำร้ายใกล้ตัวในขณะพิพากษา เช่น ควักปืนมายิง 

ละคนจะพอใจได้อย่างไร คำตัดสินเช่นนี้ประชาชนย่อมไม่เห็นด้วยเป็นธรรมดา

เพราะงั้นการที่ศาลรธนและศาลยุติธรรมอื่นๆ ได้มีคำตัดสินมีผลต่อสังคมนั้น มันเป็นผลต่อสาธารณะในทันที มีผลทันที 

ดังนั้นสิ่งที่คุณจะขาดไม่ได้เลยลคือ การให้เหตุผลอย่างชัดเจน ครบถ้วน หนักแน่น เพื่อที่สังคมจะได้ดูว่าเหตุและผลคืออะไร โต้แย้งด้วยเหตุและผลได้ อย่างที่สังคมประชาธิปไตยเป็น ไม่ใช่อย่างทุกวันนี้”

พิฆเนศ ประวังอธิบายถึงบทบาทและขอบเขตอำนาจของศาล หากคำพิพากษานั้นมาจากหลักการประชาธิปไตย เมื่อพิพากษาแล้วก็ย่อมให้คนวิจารณ์ได้ แม้จะมีผลต่อสังคม แต่ศาลไม่ได้มีคำพิพากษาไว้เพื่อจัดการ ควบคุมความคิดของประชาชน และกล่าวทิ้งท้ายต่อสถานการณ์กฎหมายไทยในตอนนี้ว่า

“สถานนการณ์แบบนี้ ต้องขอยืมคำอาจารย์ธงชัยมาใช้  นี่คือ Rule by Law ไม่ใช่ Rule of Law อย่างสากล ซึ่งแบบเราคือการปกครองของกฎหมาย ไม่เป็นที่ยอมรับในทางสากล”

การไม่เห็นด้วยกับความไม่เป็นธรรม นำมาสู่ความผิดของผู้แสดงออก ข้อหาหมิ่นผู้พิพากษา

“รู้สึกว่าตลก คือศาลรัฐธรรมนูญฟ้องหมิ่นศาล ถ้าสมมุติไปถึงการไต่สวนบนชั้นศาล มันจะตลก ศาลเป็นคนฟ้องละเราก็ไปฟังศาลตัดสินเราอีกทีโดยศาลที่ฟ้องเรานั่นแหละ และอีกอย่างมันคือการแสดงออกของประชาชนที่ไม่พอใจกับคำตัดสินของศาลว่าประยุทธ์ไม่ผิด

ธีราภรณ์ พุดทะสี ผู้ต้องหาให้ความเห็นต่อการโดนหมายครั้งนี้ว่าเป็น “ตลกร้าย” ที่ถูกฟ้องหมิ่นศาลโดยศาลเอง และยังเล่าถึงบรรยากาศในช่วงที่คำพิพากษาของศาลต่อคดีของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นภาษาเหนือ แปลความได้ว่า

“ไปเดินกาดเขายังด่ากันเลย ด่ากันม่วนขนาด เพราะ 8 ปีที่ประชาชนอดทนกันมา มันเดือดร้อนกันทุกคน ไม่มีใครอยากให้เขาเป็นนายกต่อ ถึงได้จับตาดูการตัดสินคดีความนี้ แล้วต้องเจอกับความผิดหวังของระบบตุลาการไทย ใครจะเชื่อมั่นผู้พิพากษาได้อีก”

ณัฐชัย ศรีเจริญ ผู้ต้องหาอีกคนให้ความเห็นต่อการโดนฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทศาลนั้น เป็นการยืนยันได้ว่าสังคมไทยไม่มีเสรีภาพในการคิด พูด วิจารณ์สังคมได้เลย

“พอโดนหมายรอบนี้มันคือการยืนยันว่า ประชาชนไม่มีสิทธิในการวิพากย์นายก ศาลหรืออะไรเลย ทำให้รู้สึกว่าประเทศนี้ไม่มีเสรีภาพแม้กระทั่งวิจารณ์องค์กรอิสระ เช่น ศาล ที่ก็กินภาษีของประชาชนอยู่ทุกวัน”

ในส่วนของการสอบปากคำครั้งนี้ ผู้ต้องหาคดีนี้ให้กการปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ณัฐชัย ได้กล่าวทิ้งท้ายก่อนเดินทางกลับว่า

“ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา เพราะ ค. บ่า ประเทศนี้ เห้อ (ถอนหายใจ) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง คำพิพากษา หรือเรื่องใดก็ตามมันคือความคิด ทุกคนมีความคิดไม่มีใครควบคุมได้ เพราะมนุษย์ เพราะประชาชน คือผู้มีเสรีภาพโดยธรรมชาติ แต่ผิดแปลกมันคือโครงสร้างประเทศนี้ที่พยายามบิดเบี้ยวธรรมชาติมนุษย์ออกไป”

แถลงการณ์ผู้ต้องหาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net