Skip to main content
sharethis

องค์กรสิทธิมนุษยชนสากล แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ชี้ผู้บริหารมธ. ต้องยกเลิกมติห้ามนิติราษฎร์เคลื่อนไหวเรื่องม.112 ระบุประชาชนต้องสามารถพูดคุยถกเถียงเรื่องสถาบันต่างๆ ได้โดยไม่ต้องกลัวการถูกดำเนินคดี ตามหลักที่คุ้มครองไว้ในสนธิสัญญาสากล 

เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 55 องค์กร สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกเลิกมติการตัดสินใจที่ห้ามกลุ่มนิติราษฎร์จัดกิจกรรมในมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ โดยระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการและการแสดงความ คิดเห็นของประชาชน ซึ่งขัดแย้งกับหลักการตามอนุสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีตั้งแต่ปี 1999

0000

ประเทศไทย: คุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัย

มติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ห้ามไม่ให้กลุ่มนัก วิชาการใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยเพื่อรณรงค์การปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพ ถือเป็นการละเมิดหลักการสิทธิมนุษยชนในด้านเสรีภาพทางวิชาการ และควรยกเลิกมติดังกล่าว แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์

เมื่อวันที่ 30 มกราคม นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกาศไม่อนุญาตให้คณะนิติราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการเจ็ดท่านจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อรณรงค์การปฏิรูปมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย มาตราดังกล่าวหรือที่เรียกกันว่าเป็นกฎหมายหมิ่นฯ เป็นการเอาผิดต่อการพูดดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ของไทย

นายสมคิด จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระบุว่า เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็น หน่วยงานของรัฐ” “ประชาชนอาจเข้าใจว่าธรรมศาสตร์เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการรณรงค์ครั้งนี้และการกระทำของคณะนิติราษฎร์อาจส่งผลกระทบต่อ ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย

 

มติของมหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายาม อย่างต่อเนื่องในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย ทั้งยังเป็นการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการด้วย

เสรีภาพทางวิชาการเป็นหลักการที่มีพื้นฐานมาจากสิทธิที่ จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความเห็น รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับการศึกษา สิทธิดังกล่าวได้รับการรับรองตามข้อ 26 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights - UDHR) และข้อ 13 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR) ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคีตั้งแต่ปี 2542

การอภิปรายถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนและอาจมีการเผชิญหน้า และการแสดงความไม่เห็นด้วย ถือเป็นเสาหลักของเสรีภาพทางวิชาการ กรณีที่เกรงว่าการใช้เสรีภาพทางวิชาการอาจทำให้เกิดความรุนแรง การแก้ปัญหาที่ถูกต้องน่าจะเป็นการเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่าเพื่อคุ้มครอง เสรีภาพดังกล่าว ไม่ใช่ไปจำกัดเสรีภาพโดยการออกคำสั่งห้ามปฏิบัติการของกลุ่มบางกลุ่ม

คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Committee on Economic, Social, and Cultural Rights - CESCR) ซึ่งเป็นผู้ตีความกติกา ICESCR ได้ระบุว่า สิทธิด้านการศึกษาจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการส่งเสริมเสรีภาพทางวิชาการของเจ้าหน้าที่และนักศึกษาด้วย

ในส่วนความเห็นต่อสิทธิด้านการศึกษาคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมได้เขียนไว้ว่า

            เสรีภาพทางวิชาการครอบคลุมถึงความเป็นอิสระของบุคคลที่จะแสดงความเห็นอย่าง เสรีเกี่ยวกับสถาบันหรือระบบที่ตนเองทำงานอยู่ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยไม่มีการแบ่งแยก หรือโดยไม่มีความกลัวว่าจะถูกปราบปรามจากรัฐหรือบุคคลอื่น ๆ ความสามารถที่จะเข้าร่วมในหน่วยงานด้านวิชาการแบบมืออาชีพหรือสมาคมวิชาการ และการได้รับสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นที่รับรองในระดับสากล และเป็นสิทธิที่บุคคลอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลเดียวกันพึงได้รับ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net