รอวันเปิดโรงงาน: ความหวังหลังน้ำลดของคนงานอยุธยา

ย่านนิคมอุตสาหกรรม ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำได้ท่วมขังมาเป็นเวลากว่าหนึ่งเดือน แม้สัปดาห์ที่ผ่านมา ระดับน้ำจะเริ่มลดลง และเริ่มมีการกู้โรงงาน แต่พื้นที่นอกคันกั้นน้ำ ยังมีพนักงานโรงงานในย่านดังกล่าวได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และมีหลายกรณีที่เกิดการพักงาน หรือเลิกจ้างพนักงานโรงงานในช่วงที่เกิดน้ำท่วม โดยพวกเขาเหล่านั้นรอวันที่โรงงานจะกลับมาเดินเครื่องจักรตามปกติ และจ้างงานพวกเขาอีก ประมวลภาพน้ำท่วมย่านโรงงานอุตสาหกรรม อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา (12 พ.ย. 54) พีระกานต์ มณีศรี คณะทำงานศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบอุทกภัย เล่าว่า หลังจากน้ำเริ่มท่วมที่บางปะอินเมื่อวันที่ 12 ต.ค. กลุ่มผู้ใช้แรงงาน จ.อยุธยาและใกล้เคียงก็เริ่มตั้งเต๊นท์ \ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบอุทกภัย\" บริเวณทางลงแยกต่างระดับบางปะอิน ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. เป็นต้นมา พีระกานต์ เล่าว่า การลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือจะแบ่งทีมงานออก เป็น 6 จุด ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ไฮเทค บางปะอิน เฟคตอรี่แลนด์ วังน้อย นวนคร รังสิต มีทีมเรือ ทีมเอกสาร ทีมออกพื้นที่ ช่างดูแลเรือและรถ โดยจะมีทีมแพ็คของที่จะตรวจสอบว่าถุงยังชีพที่ได้มาแต่ละรอบ จะสามารถยังชีพได้หรือไม่ หากไม่พอจะจัดถุงใหม่เพื่อให้ประชาชนหรือคนงานที่ติดในหอพักสามารถ ยังชีพได้ อย่างน้อย 4-7 วัน ประกอบด้วยข้าวสาร 1 ถุง ประมาณ 3 กก. ปลากระป๋อง 2 กระป๋อง มาม่า 6 ห่อ น้ำ 6 ขวด อาหารสำเร็จรูปที่พอหาได้ สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก นอกจากนี้แล้วจะมีการตรวจวันหมดอายุด้วย เงินและข้าวของบริจาคมาจากการระดมความช่วยเหลือของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อต่างๆ โดยการลงพื้นที่แจกถุงยังชีพ จะทำไปพร้อมกับการสำรวจข้อมูลของแรงงาน ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน ค่าครองชีพ-หนี้สินที่ต้องใช้จ่าย ตลอดจนสถานะการทำงาน พีระกานต์บอกว่า แม้จะมีบางรายที่ไม่อยากให้ข้อมูลเพราะกลัวผลกระทบ แต่ศูนย์ฯ ได้อธิบายถึงความจำเป็นว่า แม้จะไม่จำเป็นต้องมีบ้านเลขที่ เหมือนกรณีการรับความช่วยเหลือจากรัฐ แต่หากเพื่อนคนงานไม่ให้ข้อมูล ก็จะไม่มีฐานข้อมูลไปต่อรองหรือให้ข้อมูลกับรัฐบาลว่าแรงงานเรามีความเดือดร้อนมากน้อยแค่ไหน และการจะรับของหรือถุงยังชีพ เราควรจะมีที่มาที่ไปว่า เรารับมา 100 ชุด ออกไปที่นี่กี่ชุด เพื่อบอกกับสื่อหรือผู้ที่มาบริจาคของว่าเรารับมาแล้วจ่ายไปให้ประชาชนหรือแรงงานที่เดือดร้อนได้จริงๆ โดยปัญหาที่คนงานในอยุธยาร้องเรียนมามีทั้งที่ยังไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกเลิกจ้าง โดยส่วนใหญ่เป็นพนักงานจ้างเหมาค่าแรงและพนักงานรายวัน ซึ่งขณะนี้มีผู้มาร้องเรียนที่ศูนย์ฯ มากกว่า 1

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท