Skip to main content
sharethis

คอป.เสนอรัฐบาลยิ่งลักษณ์ครั้งแรก เน้น “กระบวนการยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน” เสนอเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายทั้งก่อน–หลังรัฐประหาร จี้ให้สิทธิพื้นฐานประกันตัวคดีการเมือง ผู้ชุมนุมเสื้อแดง พร้อมแนะแนวทางแก้ปัญหาคดีหมิ่นฯ เสนอพื้นที่พิเศษคุมนักโทษการเมือง‘ยิ่งลักษณ์’ รับลูกเร่งเยียวยา ตั้ง รมว.มหาดไทย ประธานประสาน คอป. 20 ก.ย.54 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ที่ประชุมครม.รับทราบ และมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน โดยคอป.ได้เคยเสนอรายงานมาแล้วครึ่งหนึ่งในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ นายกฯ กล่าวว่า วันนี้เป็นครั้งแรกของรัฐบาลนี้ที่คอป.นำเสนอต่อรัฐบาลให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างบรรยากาศปรองดอง สิ่งที่ทางคอป.เสนอคือให้ยึดหลักยุติธรรม นิติธรรม เคารพกฎหมาย และยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก และขอให้รัฐบาลเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงในการชี้แจงความชัดเจนเกี่ยวกับการแจ้งข้อกล่าวหาในการดำเนินคดีอาญา และคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง หมายความว่า เร่งให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดกระบวนการในการสืบสวนสอบสวนอย่างยุติธรรมเป็นไปตามหลักนิตธรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลค้นหาความจริง ซึ่งไม่ให้จำกัดอยู่แค่เหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค.53 แต่ให้ดูภาพรวมทั้งหมดทั้งหลังและก่อนเกิดกการปฏิวัติ ส่วนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น จะเป็นไปในเรื่องการป้องกันเพื่อไม่ให้บุคคลต่างๆ เหล่านี้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องดำเนินการทุกวิถีทาง โดยที่เป้าหมายสุดท้ายเพื่อเป็นการปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า คอป.ยังมีข้อเสนอในเรื่องการเร่งดำเนินการเยียวฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงของทุกฝ่ายอย่างรวดเร็ว และจริงจัง โดยที่ไม่ได้ยึดติดกับกรอบเดิมๆ แต่ขอให้มีการตั้งกรอบในการดูแลเยียวยาฟื้นฟูที่เป็นกรอบแนวกว้าง เพื่อให้การปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นไปตามหลักนิติธรรม และให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวตามสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย หมายความว่าในช่วงที่มีการพิจารณาคดีนั้น ขอให้มีการเร่งปล่อยตัวชั่วคราว หรือหากผู้ที่จะถูกคุมขังจองจำก็ขอให้เป็นไปตามสิทธินักโทษทางการเมือง ดังนั้นที่ประชุมครม.จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสาน และติดตามผลการดำเนินงานข้อเสนอของ คอป.เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีเจตนาและความจริงใจที่จะทำงานร่วมกันกับทาง คอป.เพื่อให้การดำเนินการสามัคคีปรองดองสมานฉันท์เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยแต่งตั้งให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เป็นประธาน ซึ่งจะดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป สำหรับ คอป.นั้นได้มีหนังสือด่วนที่สุดถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ต่อนโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ลงวันที่ 15 ก.ย.54 นำเสนอรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ 1. คอป. เห็นว่า ในระหว่างที่สังคมไทยยังมีความขัดแย้งอยู่นั้น รัฐบาลต้องมีเจตนารมณ์ ทางการเมือง (Political Will) ที่จะยึดถือหลักนิติธรรม (Rule of Law) ในการบริหารประเทศโดยเคารพกฎหมาย และยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการเพื่อลดความขัดแย้ง โดยตรวจสอบว่าเจ้าพนักงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ให้ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนและผู้ต้องหา ที่ต้องการความช่วยเหลือ 2. ในระหว่างที่ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ และสังคมไทยเริ่มมีความหวังที่จะก้าวข้ามความขัดแย้งไปสู่ความปรองดอง คอป. ขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกากับและควบคุมการใช้อานาจรัฐ พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง กลุ่มบุคคล และองค์กรต่างๆ ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งยวดในการกระทาการใดๆ ซึ่งอาจเป็นการกระทบกระเทือนถึงบรรยากาศในการปรองดอง 3. คอป. เห็นว่าสภาพความขัดแย้งในทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมาเป็นสาเหตุสาคัญ ที่นามาสู่ความรุนแรงและการกระทาความผิดกฎหมายอาญาของผู้ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งฝ่ายต่างๆ ความรุนแรงและการกระทาความผิดกฎหมายอาญาในลักษณะเช่นนี้มิใช่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมในภาวะปกติทั่วไปที่ไม่มีความขัดแย้งในทางการเมืองเช่นนี้ เพราะการกระทาความผิดมีมูลฐานเริ่มต้นจากความคิดเห็นในทางการเมือง การดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อจากัดของกระบวนการในการสืบสวนสอบสวน การตั้งข้อหาการรวมรวมพยานหลักฐานที่ถูกมองว่าไม่เป็นกลางและโน้มเอียงไปในทางที่เป็นคุณต่อผู้กุมอานาจรัฐในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย คอป. จึงมีความเห็นว่าการดาเนินคดีอาญาในคดีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และคดีที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั้งหลายทั้งก่อนและหลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. รวมทั้งคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ล้วนเป็นเรื่องที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง รัฐบาลสมควรดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการดาเนินคดีในความผิดดังกล่าว ดังนี้ 3.1 เร่งรัดตรวจสอบให้ชัดเจนว่าการแจ้งข้อหาและการดาเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและจาเลยสอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งการกระทาหรือไม่ และทบทวนว่ามีการตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินสมควร หรือการดาเนินคดีที่พยานหลักฐานอ่อนไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดหรือไม่ 3.2 ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อให้ผู้ต้องหาและจาเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวอันเกิดจากการถูกจากัดเสรีภาพ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ยื่นคาร้องต่อศาลเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาและจาเลยว่ามีเหตุที่จะหลบหนี เหตุที่จะทาลายพยานหลักฐาน หรือเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อสังคมหากได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือไม่ หากไม่มีสาเหตุดังกล่าว ให้ยืนยันหลักกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยมีสิทธิได้รับการปล่อยชั่วคราว 3.3 เนื่องจากผู้ต้องหาและจาเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตามปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางการเมือง รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจาปกติเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาและจาเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต 3.4 เนื่องจากคดีอาญาเหล่านี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ดาเนินอยู่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาโดยผู้กระทาผิดมีมูลเหตุจูงใจในทางการเมือง และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีรากเหง้าที่สาคัญมาจากสภาพสังคมไทยอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน (Transition) การนาเอาหลัก ความยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice) ที่มีเพียงมาตรการการฟ้องคดีอาญาในเชิงลงโทษมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จึงไม่เหมาะสมกับสภาพของปัญหา ดังนั้น จึงสมควรที่จะนาเอาหลักวิชาการเกี่ยวกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาศึกษาและปรับใช้ เพื่อนาหลักการและแนวทางของหลักวิชาการดังกล่าว ตลอดจนประสบการณ์ของต่างประเทศที่เคยเผชิญความขัดแย้งอย่างรุนแรงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทย 4. คอป. เห็นว่า รัฐบาลควรเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง โดยกลุ่มเป้าหมายในการเยียวยาไม่ควรจากัดเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในช่วงเดือนเมษายน -พฤษภาคม 2553 เท่านั้น แต่ควรครอบคลุมถึงบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงตั้งแต่ก่อนการรัฐประหารเป็นต้นมา โดยให้รวมถึงประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ สื่อมวลชน และภาคเอกชน ตลอดจนครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ควรขยายขอบเขตการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบในระดับพื้นที่ ชุมชน และสังคมด้วย โดยเฉพาะแหล่งที่อยู่อาศัยและย่านการค้าที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมและเหตุการณ์ความรุนแรงและควรจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทาหน้าที่ในการให้การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างจริงจัง โดยจัดให้มีองค์กรเฉพาะกิจที่มีประสิทธิภาพ รายละเอียดข้อเสนอ คอป. ฉบับเต็ม อยู่ในไฟล์แนบด้านล่าง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net