Skip to main content
sharethis

สมาชิกสหภาพแรงงานในกรีซประท้วงมาตรการลดรายจ่ายของรัฐ 4 มิ.ย. 54 – สมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งหนุนหลังโดยพรรคคอมมิวนิสต์นับหมื่นคนชุมนุมประท้วงมาตรการลดรายจ่ายของรัฐด้วยการบุกยึดกระทรวงการคลัง โดยกลุ่มผู้ประท้วงได้พากันประณามรัฐบาลที่ไปทำข้อตกลฉบับใหม่กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ สหภาพยุโรป และธนาคารกลางยุโรปเพื่อขอรับเงินสนับสนุนการแก้ปัญหาหนี้สินงวดใหม่มูลค่า 110,000 ล้านยูโร ในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งผู้ประท้วงมองว่า เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนที่กำลังโดนพิษเศรษฐกิจเล่นงานจนย่ำแย่อยู่แล้ว ต้องรับภาระหนักยิ่งขั้นไปอีก สำหรับเงินกู้งวดใหม่นี้ รัฐบาลกรีซจำเป็นต้องใช้จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมกับพยายามลดตัวเลขการขาดดุลงบประมาณจาก 10.5% ของผลผลิตมวลรวม เมื่อปีที่แล้ว ให้เหลือ 7.5 % ในปีนี้ การที่จะได้รับเงินงวดใหม่นี้ รัฐบาลกรีซต้องยอมให้สถาบันการเงินทั้ง 3 เข้ามาแทรกแซงการบริหารจัดการได้เต็มที่ กษัตริย์ซาอุฯออกกฎหมายห้าม “ชาย” ทำงานในแผนกชุดชั้นในสตรี 6 มิ.ย. 54 – กษัตริย์อับดุลเลาะห์ยังทรงกำหนดให้อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น โรงงานผลิตยา รับเฉพาะคนงานหญิงเท่านั้น และทรงสนับสนุนการทำธุรกิจภายในครัวเรือน โดยเรื่องการรับพนักงานหญิงเข้าทำงานในร้านจำหน่ายชุดชั้นในเคยเป็นประเด็นขัดแย้งมาแล้วเมื่อ 3 ปีก่อน ระหว่างกระทรวงแรงงานกับองค์กรศาสนาอิสลาม ซึ่งออกคำตัดสินห้ามผู้หญิงทำอาชีพนี้ สตรีในซาอุดีอาระเบียต่างร้องเรียนมานานว่า รู้สึกไม่สบายใจที่ต้องซื้อชุดชั้นในจากพนักงานชาย และต้องการให้พนักงานขายสินค้าประเภทนี้ เป็นผู้หญิงด้วยกันมากกว่า ฟาติมา การุบ ผู้ก่อตั้งโครงการรณรงค์ “Enough Embarrassment” บนเว็บไซต์สังคมออนไลน์ กล่าวชื่นชมการตัดสินพระทัยของกษัตริย์อับดุลเลาะห์ โดยบอกว่า กฎหมายดังกล่าวจะช่วยสร้างงานให้แก่ผู้หญิงซาอุฯได้ถึง 6,000 ตำแหน่ง โดยกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานซาอุฯ จะต้องรับสนองพระบรมราชโองการดังกล่าว ภายใน 1 เดือนนับจากนี้ อนึ่งปัจจุบัน อัตราการว่างงานของสตรีในซาอุดีอาระเบียอยู่ที่ราวๆ 30 เปอร์เซ็นต์ ศรีลังกาขยับค่าแรงคนงานไร่ชาขึ้นอีกเกือบ 25 % 6 มิ.ย. 54 - ศรีลังกา ประกาศปรับขึ้นค่าแรงให้แก่คนงานไร่ชาอีกเกือบ 25 % จากวันละ 415 รูปี เป็น 515 รูปี เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น หลังล่าสุดอัตราเงินเฟ้อพุ่งเกือบแตะระดับ 10 % ทั้งนี้ ปัจจุบัน ศรีลังกา ถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตชารายใหญ่สุดของโลก คาดว่าปีนี้จะมีกำไรจากการส่งออกชามากเป็นประวัติการณ์ที่ราว 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเลย์เล็งอภัยโทษคนงานเข้าเมืองผิดกฎหมาย 6 มิ.ย. 54 - นายไฮชัมมุดดิน ฮุสเซน รัฐมนตรีด้านความมั่นคงภายใน เผยว่ามาเลเซียจะเสนออภัยโทษแก่ผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายบางรายจากจำนวน 2 ล้านราย ตามแผนบรรเทาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมบริการ มาเลเซียเป็นชาติหนึ่งที่มีแรงงานต่างชาติเข้าไปทำงานมากที่สุดในเอเชีย เพราะมาเลเซียต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะจากเอเชียอาคเนย์ สำหรับการทำงานต่างๆ อย่างงานบ้าน ดูแลเด็ก ก่อสร้าง เรือกสวนไร่นา และโรงงาน แรงงานจำนวนมากเป็นชาวอินโดนีเซียที่ได้ค่าแรงต่ำและทำงานหลายชั่วโมงในงานหลายอย่างที่คนมาเลย์ไม่ทำ นายไฮชัมมุดดินกล่าวว่าโครงการอภัยโทษแก่ผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายจะเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้ได้มีงานทำและไม่ถูกเอาเปรียบจากนักค้ามนุษย์ โดยหวังจะเริ่มโครงการนี้ได้ในเดือน ก.ค. แรงงานอพยพในกวางโจว ชุมนุมประท้วง หลังเกิดเหตุขัดแย้งเรื่องค่าแรง 8 มิ.ย. 54 - แรงงานอพยพมากกว่า 200 คน ในเมืองเฉาโจว มณฑลกวางโจว ได้รวมตัวกันประท้วงอยู่ด้านหน้าอาคารที่ทำการรัฐบาลท้องถิ่นเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 54 เรียกร้องให้มีการลงโทษผู้ต้องสงสัยจำนวน 3 คน ที่ทำร้ายร่างกายคนงาน เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา รายงานข่าวระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พยายามระงับเหตุประท้วงดังกล่าว แต่เหตุการณ์กลับบานปลายจนเกิดการปะทะกัน ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 18 คน และถูกจับกุม 9 คน ขณะที่ ยานพาหนะที่จอดอยู่บริเวณดังกล่าวเสียหายไป 15 คัน ทั้งนี้ เหตุขัดแย้งเรื่องค่าแรงที่เกิดขึ้นกับเหล่าแรงงานอพยพที่ทำงานตามโรงงานต่างๆ ทั่วประเทศจีน มีให้เห็นมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เป็นการเรียกร้องการเพิ่มค่าแรงและมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ฮุนไดระงับผลิตรถยนต์ หลังเจอปัญหาคนงานฆ่าตัวตาย 9 มิ.ย. 54 - เหล่าแรงงานของสหภาพพากันวอล์คเอาต์ ณ โรงงานผลิตรถยนต์ของฮุนไดในเมืองอาซาน ห่างจากกรุงโซล ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 100 กิโลเมตร ตั้งแต่เวลา 14.30 น.(ตามเวลาท้องถิ่น) โดยอ้างว่าสมาชิกของสหภาพรายหนึ่งต้องฆ่าตัวตายเพราะทางฮุนได พยายามกำจัดนักเคลื่อนไหวของสหภาพ สำนักข่าวยอนฮับรายงานว่าชายวัย 49 ปีนามสกุลปาร์ครายนี้ ถูกพบเสียชีวิต ณ เวลา 8.30 น. โดยต่อมาตำรวจเปิดเผยว่าศพของเขาอยู่ในสภาพแขวนคอตายภายในห้องน้ำของโรงงาน เหตุฆ่าตัวตายครั้งนี้มีขึ้นท่ามความตึงเครียดภายในบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่แห่งนี้ โดยทางฮุนไดต้องการให้สหภาพลดจำนวนพนักงานเต็มเวลาลงภายใต้กฎหมายใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีที่แล้ว ขณะที่ทางตำรวจและเจ้าหน้าที่สหภาพบอกว่า ปาร์ค ได้ทิ้งจดหมายลาตายโดยตำหนิฝ่ายบริหารของฮุนได ที่พยายามขัดขวางการทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของสหภาพของเขา และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าโรงงานแห่งนี้ต้องระงับการผลิตนานเท่าใด โดยโรงงานแห่งนี้ใช้ผลิตรถยนต์ขนาดกลางทั้งโซนาตาและแกรนด์เจอร์ ซีดาน และมีกำลังผลิต 240,000 คันต่อ กัมพูชาเดินขบวนรณรงค์ยุติแรงงานเด็ก 12 มิ.ย. 54 - ชาวกัมพูชาหลายร้อยคนเดินขบวนในกรุงพนมเปญวานนี้ เนื่องในวันต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก พร้อมชูป้ายเรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็กที่มีอยู่ทั่วประเทศ การเดินขบวนดังกล่าวจัดขึ้นโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO และรัฐบาลกัมพูชา ที่ตั้งเป้ายุติการใช้แรงงานเด็กในประเทศให้ได้ภายในปี 2559 และยังได้ประกาศเปิดตัวโครงการที่จะจัดระเบียบพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำของกรุงพนมเปญที่มักมีแรงงานเด็กอยู่เป็นจำนวนมากให้ได้ภายในปีถัดไป ตามข้อมูลของ ILO ระบุว่า ชาวกัมพูชาที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ประมาณ 1.5 ล้าน ถูกบังคับให้ทำงาน และมากกว่า 310,000 คน จากจำนวนดังกล่าวทำงานที่เสี่ยงอันตรายเช่น งานพ่นยาฆ่าแมลง หรือทำงานในโรงงานอิฐ ทั้งนี้กัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ 1 ใน 3 จากประชากรประมาณทั้งหมด 14 ล้านคน มีรายได้น้อยกว่า 1 ดอลลาร์ต่อวัน. ตำรวจจีนยิงแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมของแรงงานอพยพ 13 มิ.ย. 54 – ตำรวจปราบจลาจลยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมของกลุ่มแรงงานอพยพที่รวมตัวประท้วงกรณีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยผลักสตรีตั้งครรภ์รายหนึ่งล้มลงกับพื้นระหว่างการจับกุมผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเมื่อสุดสัปดาห์ บรรดาแรงงานอพยพที่โกรธแค้นราว 1,000 คนรวมตัวกันตามท้องถนนหลายแห่งของเมืองเซ็งเชงในมณฑลเสฉวนใกล้กับมณฑลกว่างโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน พากันทุบกระจกหน้าต่างรวมทั้งจุดไฟเผาอาคารรัฐบาลหลายแห่งและคว่ำรถตำรวจด้วย ตำรวจปราบจลาจลต้องยิงแก๊สน้ำตาใส่กลุ่มผู้ประท้วงก่อนเข้าสลายการชุมนุมและจับกุมผู้ประท้วงใส่กุญแจมือไปหลายราย กลุ่มแรงงานอพยพได้รวมตัวกันประท้วงเหตุการณ์เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในหมู่บ้านต้าตุนผลักสตรีวัย 20 ปี ซึ่งเป็นคนขายของหาบเร่และกำลังตั้งครรภ์ล้มลงขณะเข้าเคลียร์พื้นที่ ทำให้ผู้อพยพเหล่านี้ไม่พอใจเจ้าหน้าที่ นับเป็นเหตุประท้วงครั้งล่าสุดในหลายระลอกที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาทางภาคใต้ของจีน พนักงานดับเพลิงบราซิลประท้วงขอขึ้นค่าแรง-สวัสดิการ 13 มิ.ย. 54 - พนักงานดับเพลิงชาวบราซิลราว 27,000 คน รวมตัวประท้วงที่ย่านโคปาคาบานาในนครรีโอเดจาเนโร เพื่อเรียกร้องขอเงินเดือนขึ้นและให้ทางการปรับปรุงสวัสดิการต่าง ๆ สำหรับพนักงานดับเพลิง ตำรวจได้ส่งเจ้าหน้าที่ 150 คน ไปควบคุมสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม การประท้วงเป็นไปอย่างสงบ แตกต่างจากการประท้วงครั้งก่อนเมื่อต้นเดือนนี้ เมื่อผู้ประท้วงเกิดปะทะกับตำรวจส่งผลให้พนักงานดับเพลิงถูกจับไป 500 คน กลุ่มผู้ประท้วงยังเรียกร้องให้มีอภัยโทษแก่ผู้ประท้วงที่ถูกจับกุมไประหว่างการประท้วงครั้งก่อนด้วย. ประชาชนกรีซผละงานประท้วง ค้านแผนรัดเข็มขัดฉบับใหม่ 15 มิ.ย. 54 - ตำรวจปราบจลาจลได้ติดตั้งเครื่องกีดขวาง สกัดกั้นไม่ให้ประชาชนเข้าถึงตัวอาคารรัฐสภา ทางการประเมินว่ามีมวลชนจำนวน 20,000 คนออกมาชุมนุมตามคำเรียกร้องของกลุ่ม “ดิ อินดิกเน็นต์ส” (The indignants - ความโกรธแค้น) แต่จากการประเมินของสื่อชี้ว่ามีชาวกรีซไม่ต่ำกว่า 40,000 คนเข้าประท้วง โดยกลุ่มดิ อินดิกเน็นต์ส ซึ่งได้อิทธิพลมาจากการประท้วงในสเปน ได้ยึดจัตุรัสซินดักมา (Syntagma Square) กลางกรุงเอเธนส์ เป็นเรือนนอนมานานกว่า 3 สัปดาห์ ด้านสมาชิกสภานิติบัญญัติภายในอาคารรัฐสภากำลังถกกันถึงมาตรการรัดเข็มขัดแพ็จเกจใหม่ มูลค่ากว่า 28 ล้านยูโร (ประมาณ1,200 ล้านบาท) ตามเงื่อนไขของอียูและไอเอ็มเอฟ เจ้าหนี้ของกรีซ แลกเปลี่ยนกับเงินช่วยเหลือก้อนใหม่ที่กรีซกำลังต้องการอย่างหนัก ทั้งนี้ มีรายงานว่าเกิดการแปรพักตร์ภายในรัฐบาล ประกอบกับการที่พรรคอื่นๆ ยืนยันที่จะลงมติคัดค้านมาตรการฉบับใหม่ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่สภาจะไม่รับรองแผนการครั้งนี้ ทั้งนี้การผละงานประท้วงครั้งที่ 3 ในรอบปีวันนี้ส่งผลให้การคมนาคมทั่วประเทศเป็นอัมพาต ความตึงเครียดเริ่มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เนื่องจากประชาชนไม่พอใจต่อแผนการปรับลดรายจ่ายของรัฐบาลขนานใหญ่ มิหนำซ้ำอาจมีการเพิ่มภาษี กัมพูชาจวก \พูม่า\" ใช้แรงงานเกินเวลาทำลูกจ้างป่วยหมู่ 19 มิ.ย. 54 - สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า บริษัทผู้ผลิตรองเท้ากีฬายักษ์ใหญ่ “พูม่า” แห่งเยอรมนี ถูกทางการกัมพูชากล่าวหาละเมิดกฎหมายด้านสุขภาพและความปลอดภัย โดยบังคับใช้แรงงานทำงานเกินเวลาหลายชั่วโมง ทำให้คนงาน 101 คน เป็นลมหน้ามืดหลายคนเมื่อช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยบริษัทพูม่า ยอมรับข้อกล่าวหาดังกล่าว ทั้งรับปากเร่งอบรมคนงานและหัวหน้างาน ให้เคารพเงื่อนไขความปลอดภัยในการ ทำงานอย่างเข้มงวดมากขึ้น ทั้งนี้ โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งในกัมพูชามักถูกพบมาตรฐานสุขอนามัยต่ำ และระบบระบาย อากาศภายในโรงงานไม่ดีพอ. กลุ่มคนงานก่อสร้างชาวศรีลังกาในอิรัก อดอาหารประท้วง หลังถูกนายจ้างเบี้ยวค่าแรงมานาน 2 ปี 19 มิ.ย. 54 - คนงานก่อสร้างชาวศรีลังกาในอิรัก จำนวน 30 คน ร่วมกันอดอาหารประท้วง หลังถูกนายจ้างอิรัก เบี้ยวไม่ยอมจ่ายค่าแรงมานาน 2 ปี ทั้งที่ก่อนเริ่มงานสัญญาจะจ่ายค่าจ้างให้เดือนละ 2

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net