Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

สิ่งที่ดูเหมือนเป็นข่าวการเมืองมาตลอด 2-3ปี จนกระทั่งร้อนแรงด้วยเท้ากันพรึ่บพรั่บในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น คือปัญหาเรื่องสถาบันกษัตริย์...สำหรับนักเสรีนิยมมันเป็นปัญหาสิทธิ เสรีภาพ...แต่สำหรับเหล่ามวลชนรอยัลลิสต์...ถึงที่สุดแล้วเป็นปัญหาความ รัก-ความสัมพันธ์...

คำว่ามวลชนรอยัลลิสต์ในที่นี้ผู้เขียนขอระบุหมายถึงบุคคลหลากหลายวิชาชีพของ ประเทศที่มีอาการรักเจ้า ทั้งโดยกำเนิดหรือถูกปลุกกระแสให้ติดไฟในช่วงปีที่ผ่านมา คนเหล่านี้หลายคนเป็นเพื่อนและคนใกล้ตัวผู้เขียนเอง ส่วนใหญ่เป็นคนที่ไม่ได้มีผลประโยชน์ทางตรงเกี่ยวกับกลุ่มเจ้าใดๆ แต่มี (หรือถูกกระตุ้นให้มี) ความรักอย่างเปี่ยมล้น บางคนมีมาก (เป็นพักๆ ) เสียยิ่งกว่าคนที่ออกมาปกป้องผลประโยชน์ของฝ่ายเจ้าเสียอีก ผู้เขียนเชื่อว่ามีคนแบบนี้ไม่น้อยในประเทศไทย แต่การมีจำนวนมากก็ไม่อาจหมายความไปทั้งในทางบวกหรือลบ เช่น คนส่วนใหญ่รักคือประชามติ หรือคนส่วนใหญ่รักจนคลั่งกลายเป็นชาตินาซีออกมาฆ่าคนเป็นล้านก็มีมาแล้ว การมีรักอย่างรุนแรงและมีจำนวนมากของมัน ทำให้ผู้เขียนอยากจะพูดเรื่องความรักของผู้คนเหล่านี้...ซึ่งต่อไปจะขอเรียก อย่างย่อๆ ว่า ”รอ." [1]

ยิ่งเข้าใกล้กัน ยิ่งอธิบายกัน ทำไมกลายเป็นแต่การคุกคามซึ่งกันและกัน?

ในทัศนะนักเสรีนิยม เขาไม่ได้คุกคามอะไรเหล่า รอ. แต่ที่ รอ.ปวดร้าวใจก็จากทัศนะการมองประเด็นสถาบันกษัตริย์แบบเหตุผลและสัจจนิยมที่ ไม่เจือปนคำรักที่เหล่าเสรีนิยมกล่าวต่างหาก หรือการไม่พูดคำรักเคารพชื่นชมบุคคลปนอยู่ในมุมมองแบบสถาบันของนักเสรีนิยม นั่นไม่ใช่แบบแผนที่เหล่า รอ.เคยได้ยินมาก่อน แม้ท่านมิได้เอ่ยว่าเกลียด แต่การไม่บอกรักนั้นเทียบเคียงเท่ากับการไม่รัก...เช่นการโพสต์ link รักเจ้าถามทางเป็นระยะๆ ใน facebook แล้วดูว่าใครมาลงชื่อหรือกดไลค์บ้าง ใครไม่มาเช็คชื่อ รอ.ก็จะถือเอาว่าเข้าใจนัยยะปิดเทอมความสัมพันธ์กันไป

...นักเสรีนิยมจึงกลายเป็นผู้คุกคามจิตใจอันบอบบางอ่อนไหวราวขนนกของ รอ.เหลือจะทน...

รอ.เหมือนคนที่รักบูชาพ่อดังที่เขาเปรียบเทียบตัวเองอยู่เสมอ แล้ว รอ.ก็มักจะหลงทางอยู่ในบริบทเปรียบเทียบที่สร้างขึ้น เหมาเอาว่าทุกคนในประเทศไทยย่อมตกอยู่ในภาวะเสมือนจริงนี้เช่นกัน การตีโพยตีพายของเขาต่อเหล่านักเสรีนิยมไม่ต่างกับคนอกหัก ที่ไม่ยอมเข้าใจว่า เหตุใดเธอจึงไม่บอกรักบ่อยๆ เท่าที่เขาทำ หรือทำทีเฉยชาทั้งๆ ที่ดีแสนดี คนที่ไม่มีใจให้นั้นใจบอด และเจ็บแค้นที่เราไม่อาจรักในสิ่งเดียวกัน ดังเช่นที่ยังมีการเปรียบเทียบ ”เขา” ที่ไม่รัก (หรือเฉยๆ ) ว่าเป็น ”พี่น้อง” หรือยังสร้างภาวะเสมือนมาผูกพัน ”เรา” เข้ากับ ”เขา” อยู่นั่นเอง เขียนๆ ไปผู้เขียนก็นึกถึงหนังเรื่อง ”ชั่วฟ้าดินสลาย” เข้าไปทุกที (ลูกนั้นไม่ได้เกลียดพ่อ แต่ห้ามใจไม่ให้รักแม่เลี้ยงไม่ได้เท่านั้นเอง ส่วนพ่อทั้งๆ ที่รักลูกและเมีย แต่ก็ห้ามใจไม่ให้แค้นและลงมือทำอะไรเถื่อนๆ ไม่ได้เหมือนกัน แล้วจบเห่ที่บ้านไฟไหม้วอดวาย)

ในแง่นี้มันเป็นปมความรักที่ดึงดูดใจรสนิยมคนชั้นกลางแบบรอยัลลิสต์เป็น อย่างยิ่ง เพราะเมื่อใดที่ท้องอิ่มเสียแล้ว มนุษย์ก็มักจะสอดส่ายสายตาหาเรื่องซับซ้อนมาครุ่นคิดให้สมองได้บริโภคกันใน ลำดับถัดไป มันเป็นปมแบบรักที่พบอุปสรรคศัตรูที่เราทั้งรักทั้งเกลียด มีเหตุผลทั้งในการรักและการเกลียดในเวลาเดียวกันอย่างที่ยากจะชั่งใจไปในทาง ใดทางหนึ่ง พร้อมๆ กับความจริง-ลวงที่มาบั่นทอนความมั่นใจในรักต่างๆ นานาให้ต้องเข้าปกป้อง ประกอบกับมันมิใช่การรักตัวเองแต่อย่างใด แต่สูงส่งกว่าเพราะเป็นการรักผู้อื่นอย่างเปี่ยมล้น เหมือนๆ กับเรื่องราวรักส่วนตัวที่ได้วนเวียนเข้ามาในชีวิตเพื่อนคนชั้นกลางรอบๆ ตัวผู้เขียน ที่ฟังกันมาจนกว่ามันจะมีผัวเมียกันไปข้างนึง หากแต่กรณีนี้ มันยิ่งใหญ่ทางอุดมการณ์เสียยิ่งกว่า เมื่อเราสามารถใส่อารมณ์ความรู้สึก ทัศนะส่วนตัวและที่สำคัญคือความรักเข้าไปไว้ในอุดมการณ์ระดับชาติ มันก็ช่างเหมือนการยกระดับความรักความโรแมนติคที่เดิมเป็นแค่ประสบการณ์ส่วน ตัว เข้าไปบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งและสามารถมีประสบการณ์ร่วมทางอารมณ์ทางสังคมกับ คนอื่นๆ ในจำนวนที่มากพอที่จะรู้สึกขนลุก หรือการสามารถมีอารมณ์ความรู้สึกเปี่ยมล้นแบบรวมหมู่...นี่อาจเป็นรสชาดหอม หวานที่ รอ.เสพมาแต่กำเนิด ที่หากใครบังอาจมาพรากจากเขาไป...เขาจึงต้องปกปักรักษามันไว้ยิ่งชีพ

ดังนี้แล้วคำว่า “รักษาสถาบัน” ที่ รอ.กล่าวกันอยู่เสมอนั้น...เอาเข้าจริงมันอาจหมายถึงการปกป้องที่จะรักษารส ชาดรวมหมู่ที่ตนได้สัมผัสและรักที่จะเสพมันรวมหมู่ไปตลอดกาลตะหาก...

ทัศนะแบบเสรีนิยมที่มาบอกว่าความรักที่ รอ.มีนั้นมันเจือปนไปด้วยเรื่องแต่ง อันที่จริงเป็นตรรกะที่ รอ.เข้าใจได้ไม่ยากหากเพียงเป็นแค่การพูดคุยซุบซิบกันแบบปัจเจกที่เพื่อน รอ.หลายคนเองก็ทำกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่การประกาศมันออกมาเป็นอุดมการณ์สาธารณะ มันคือการออกมาทำลายความเชื่ออันหอมหวานนี้ลงเสีย เพราะเมื่อใดที่มวลชนคลายความซาบซึ้ง ความโรแมนติคเปี่ยมล้นรวมหมู่ก็ยากที่จะดำเนินต่อไปและนั่นก็อาจถึงกับเป็น การพังทลายทางอารมณ์ความรู้สึกของเหล่า รอ.จากการขาดเอ็นดอร์ฟินโดยกระทันหัน

แน่นอนที่ว่าความซาบซึ้งตรึงใจเป็นสมบัติส่วนตัวตราบใดที่ยังไม่ถึงขั้น เมารักแล้วออกระรานผู้อื่น เพราะนั่นคือการคุกคามมนุษย์ที่ต่อให้ไม่ได้เป็นเสรีนิยมเป็นใครก็ต้องโวย ในสถานการณ์ปัจจุบัน รอ.ทำตัวราวกับคนที่ตกอยู่ในห้วงรักที่นิยายรักขมวดปมมาถึงห้วงยามของความ ขัดแย้งไม่มั่นใจ และผิดหวังในรัก...ตบเท้า?... รอ.กำลังแปรอารมณ์รักออกมาเป็นอำนาจในการฟาดงวงฟาดงาใส่ผู้อื่นใดๆ ก็ตามที่ตนคิดว่าเป็นเหตุแห่งการไม่รัก รอ.ทำให้ตัวเองดูเหมือนเด็กที่ไม่ได้รักดังใจจึงต้องออกมากระทืบเท้าเสียง ดังๆ หรือหากใครบางคนสั่งให้ รอ.ทำเช่นนั้นเพื่อบอกอะไรบางอย่าง ใครบางคนนั้นออกมาพูดภาษาคนแทนภาษาเท้าจะไม่เป็นการดีกว่าหรือ? เหตุใด รอ.จึงใช้เท้าปกป้องสถาบันกันทุกครั้งไป? ลองฝึกใช้อวัยวะอื่นจะดูสุภาพกว่าไหม?

รอ.จึงเป็นแค่...คนที่รักไม่เป็น...และต้องการโซ่ตรวนในการแก้ปัญหาอยู่ ร่ำไป...และเป็นมวลชนผู้น่าสงสารที่เล่นบทคนมีรักที่จะอกหักไปตลอดกาล เฉกเช่นอดีต รอ.รุ่นพี่-ลูกเสือชาวบ้านที่ป่านนี้คงมีอายุ60-70ปี... รอ.พึงถามเขาเถิดว่า...35ปีที่ผ่านมาสิ่งใดบันดาลให้เขาปลีกตัวหายไปจาก สังคม?

เราสามารถจัดการกับปัญหาความรักได้โดยกฎหมาย?

ดังนี้แล้ว มันจึงเข้าใจได้ว่า รอ.ไม่มีทางนึกออกว่าการพูดประเด็นม.112จะแก้ปัญหาความรักให้เขาได้อย่างไร นึกไม่ออกว่าการเลือกตั้งจะเกี่ยวอะไรกับการบรรเทาอาการอกหัก เขาจึงได้แต่ส่ายหน้าเซย์ “โน “เพราะไม่ว่าทางไหนก็ไม่มีทางได้ดั่งใจ

เราสามารถรักชาติหรือศาสนาในแบบที่มนุษย์รักสิ่งนามธรรม(เท่าที่เคยได้ รับฟังคนที่เขาบอกว่ารักมา เพราะผู้เขียนก็ไม่เคยมีประสบการณ์รู้สึกรักอย่างลึกซึ้งต่อสองสิ่งนี้ด้วย ตนเองเหมือนกัน) เช่นรักเสรีภาพ(อันนี้ยังพอนึกออก) รักความยุติธรรมเป็นต้น แต่พอมาถึงสถาบันกษัตริย์ รอ.กลับไม่ได้มีนิยามความรักแบบเดียวกับสองสิ่งนั้น มันเป็นความรักในตัวบุคคลที่กฎหมายใดๆ ก็เอาเข้ามาจัดการบังคับขืนใจไม่ได้ แต่กาลกลับตาลปัตรไปว่า...กฏหมายหมิ่นม.112และรัฐธรรมนูญกลับยังกล่าวถึง กษัตริย์ในฐานะที่เป็นบุคคลมิใช่สถาบัน....ทำให้ความรักของ รอ.ถูกต้องตามกฏหมายโดยไม่รู้ตัว ว่า รอ.รักก่อนหรือ รอ.ปฏิบัติตัวตามกฏหมายก่อน?

ถ้า รอ.รักสถาบันในฐานะที่เป็นตัวบุคคล เป็นบุคคลาธิษฐานที่บริสุทธิ์ไร้ที่ติ ก็ต้องแยกความรู้สึกและความเชื่อส่วนตัวนี้ให้ออกจากความหมายของกษัตริย์ที่ เป็นสถาบัน แยกให้ออกว่ายังมีคนอื่นที่อยู่ร่วมสังคมกับ รอ. ที่มีทั้งคนที่ไม่ได้เชื่ออีกแล้วว่ากษัตริย์เป็นเทพเจ้าที่ไม่มีวันทำผิด มีทั้งคนที่รักชอบกษัตริย์และราชวงศ์ในแบบสามัญชนหรือcelebสักคน มีทั้งคนที่เฉยๆ ไม่ได้ชอบหรือเกลียดแค่ไม่เชื่อว่าโลกนี้มีเทพเจ้าอีกแล้ว และก็มีทั้งคนที่แค่ชอบเมาท์ซุบซิบเรื่องราชวงศ์เหมือนที่ผู้ดีอังกฤษทำ แม้แต่กับ รอ.ที่เปลี่ยนนามสกุลตามแฟชั่นเมื่อปีที่ผ่านมาก็ตาม หลายคนเป็นเพื่อนที่ผู้เขียนรู้จักกันมานาน จนรู้ว่าการเมาท์เรื่องพวกนี้เป็นแค่หนึ่งในบทสนทนาที่เราหามาคุยทำลายความ เงียบกันเพื่อฆ่าเวลา (ที่ปัจจุบันนี้บาปและมีโทษจำคุก3-15ปีมากกว่าการไปฆ่าคนที่ราชประสงค์เสีย อีก) โดยแทบไม่ได้มีใครสนใจจริงจังกับความจริงหรือเท็จของมัน นั่นก็เป็นสิ่งที่ รอ.หลายล้านคนน่าจะยอมรับกันตรงๆ เถิดว่าท่านเองก็เคยทำกันมาสักครั้งหนึ่งในชีวิตอย่างเป็นปกติมาหลายสิบปี แล้ว มันจึงน่าสมเพชมากที่ประเทศนี้เราทำการฆ่าคนได้ แต่คนที่ตำรวจต้องระดมกำลังรอไว้เพื่อควานหาเหตุมาใส่ตัวเขา เพื่อเอาเขามาใส่คุกอีกทีให้ได้อย่างถูกกฏหมาย คือคนที่คิดอะไรก็พูดออกมาตรงๆ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ และทั้งๆ ที่โดยถูกต้องตามสิทธิขั้นพื้นฐานและไม่ผิดม.112ก็ตาม...และนั่นก็คือการคุก คามมนุษย์อย่างรุนแรง...

- รอ.สับสนเอาประเด็นความรักในบุคคลเข้ามาพัวพันกับสถาบันทางการเมืองที่เป็น สมบัติสาธารณะเช่นสถาบันกษัตริย์ ที่มนุษย์พึงมิได้มิความรู้สึกใดๆ เพื่อมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน เช่น คงไม่มีใครคิดอยากทำสติกเกอร์ “ฉันรักศาสนาพุทธ “มาแปะรถเพื่อท้าทายเพื่อนบ้านที่นับถืออิสลาม?

- รอ.เอาทัศนคติส่วนตัวทางความรักที่ผิดพลาดมาเรียกร้องคนอื่น เช่นอกหักที่เขาไม่รักคนที่ตนรัก รอ.ก็ต้องทำใจรักษาตัวเองตะหาก มิใช่กระทืบเท้าเรียกร้องความสนใจ

- รอ.ใช้ความรักอ้างเป็นอำนาจ ถึงขั้นจะใช้อำนาจล่ามโซ่เขาแบบพะตีให้ได้ เพื่อลงโทษคนอื่นที่ไม่เลือกการรัก-ชังตามแบบของ รอ.

...ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นปัญหาในใจ รอ.ก็คือการหมกมุ่นในความรักและมีทัศนะความรักที่ไม่รู้จักโตของ รอ.เอง แปรปัญหาส่วนตัวแบบรวมหมู่นี้ออกมาเป็นมีผลกระทบต่อผู้อื่น เมื่อ รอ.ไม่รู้จักจัดการกับความรู้สึกนี้ให้สัมพันธ์ต่อคนแวดล้อมอย่างสงบสุขใน กาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป...หรือมีปัญหาในการจัดการความสัมพันธ์กับผู้คน

 

“Street is a room of agreement" [2]
มันคงเป็นหนึ่งในปัญหาที่มาพร้อมกำเนิดของมนุษย์ ที่ต้องหาทางและครุ่นคิดในจัดการความสัมพันธ์กับความรัก หรือจัดความสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งที่รักและไม่รัก ให้มีระยะที่เหมาะสม หรือมีคำอธิบายให้กับมันในการตัดสินใจที่จะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวพันกัน...ใน ช่วงเวลาหนึ่งๆ ...ใจความสำคัญอีกอันหนึ่งคือคำสุดท้ายที่ว่า “ในช่วงเวลาหนึ่ง”

ในทางสถาปัตยกรรมมันมีการแก้ปัญหาการอยู่ร่วมของคนที่ไม่ได้ต้องการปฏิ สัมพันธ์กันตลอดเวลาในดีกรีต่างๆ ได้ทั้งอย่างละมุนละไมไปจนถึงเย็นชาเป็นอย่างยิ่ง... เช่น คุณลองนึกถึงคอนโดหรูห้องละร้อยตารางเมตร 2-4 ห้องที่หันหลังชนกันสิ เพื่อความเป็นส่วนตัวอันแสน exclusive แล้ว...แต่ละห้องสามารถถูกจัดให้ต่างมีชีวิตแบบอยู่ฝาติดกันโดยที่ไม่ต้อง เจอกันเลยทั้งปีก็ยังได้ โดยการจัดเส้นทางสัญจรของแต่ละยูนิตไม่ให้มีทางมาเจอกัน...ถ้ามันเป็นโจทย์ ของการออกแบบจริงๆ ละก้อ....หรือเรายังอยากมีห้องมากินข้าวด้วยกัน หรือว่าแค่เจอกันบ้างแบบบังเอิญที่ทางเข้าบ้านแค่นั้นพอ ไม่ว่าเราอยากอยู่ในการเมืองแบบคอนโดหรือแบบบ้านเดี่ยว โจทย์คือเราพึงยอมรับแรงเสียดสีซึ่งกันและกันได้เพียงใด ดังที่ผู้เขียนเคยเขียนไว้สักแห่งว่า มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนทั้งประเทศจะรักกันมากพอที่จะกอดกันได้ แต่สังคมที่จัดวางระยะห่างที่พอดีๆ เพื่อเราจะมีชีวิตอยู่ในนั้นด้วยกันตะหากที่เราต้องมาเถียงกัน แลกเปลี่ยนกัน เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดก่อความรำคาญไปจนถึงเข้าไปคุกคามอีกฝ่าย นี่เป็นใจความสำคัญที่ไม่แม้แต่เพียงต่อประเด็นสถาบันกษัตริย์แต่มันควร ต้องapplyกับเรื่องอื่นๆ ในสังคมด้วยเช่นกัน

และเพื่อที่จะยอมรับผู้คนอันมีจิตใจและความคิดอันหลากหลายไม่ว่าจะสัจ จนิยมหรือโรแมนติคต่อประเด็นนี้ดังที่กล่าวไปแล้ว การมีข้อตกลงร่วมกันที่จะมีระยะห่างที่ไม่รบกวนกันคือทางแก้ไข การเรียกร้องให้มารักและรักกัน หรือการถกเถียงว่าคำพูดแบบใดคือไม่รัก เกือบจะเกลียด หมิ่นเหม่ที่จะไม่รัก ล้วนคือการหลงทางอยู่แต่ในเรื่องที่เอาประเด็นความรักมาใช้แก้ปัญหาไม่ได้ และหนักเข้าไปอีกเมื่อมีทัศนะความรักที่ไม่เข้าใจความเป็นมนุษย์อีกตะหาก

กฏหมายก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างข้อตกลงและระยะห่าง เช่นเดียวกับกำแพงและทางสัญจรที่ถูกออกแบบให้คนไม่ต้องมาเผชิญหน้ากันใน สภาวะแวดล้อมที่อาจทำให้มีการทะเลาะจนทำร้ายกัน หรือบังคับกันจนเกินไปให้ปัจเจกเดินไปในทางหรือตกอยู่ในพื้นที่ที่ตนไม่ได้ ประสงค์จะต้องผ่าน และยอมให้ผู้คนมาเจอกันในบางเวลาและสถานที่ที่เราอาจมาร่วมมือกัน หรือหาประโยชน์ร่วมกันมาแบ่งกันได้ในบางเรื่อง...เท่านั้นมิใช่หรือ...คือ การอยู่ร่วมกันของคนที่มันถึงจะสงบสุขกันได้ ยังไม่นับว่าข้อตกลงเหล่านี้เรายังจะต้องทำกันไปตลอดชีวิตทางสังคม...แต่...

....เรื่องเหล่านี้จะไม่มีวันยุติ ถ้าหากแม้แต่การเรียกร้องให้มาออกแบบกฏหมาย กำแพง และทางสัญจรที่พอดีแก่การดำรงชีวิตรักของใครของมันโดยไม่ให้เอื้อมมือมาฟาด หัวกันไปมาอยู่เรื่อยๆ นั้น...ก็ยังฟูมฟายไม่ยอมรับกัน

...ยกเลิกม.112 แล้วมีรักเท่าที่มนุษย์ปุถุชนเป็นกันเถิด...

 

อ้างอิง:

  1. อีกเหตุผลหนึ่งของชื่อย่อก็คือ ความไม่สามารถแสดงตัวหรือไม่อยากแสดงตัวของรอยัลลิสต์จำนวนหนึ่ง ชื่อย่อหรือนามแฝงจึงดูเหมาะสมกับความลึกลับของเขาเหล่านั้นเป็นอย่างดี
  2. “The room, the street and human agreement” by Louis I. Kahn (สถาปนิก 1901-1974) เสนอว่าทางสัญจรหรือถนนหน้าบ้าน อีกด้านหนึ่งก็คือพื้นที่ปฏิสัมพันธ์กันทางสังคมของคนหรือ common room เมื่อแต่ละคนเปิดประตูบ้านอันเป็นห้องส่วนตัวของตัวเองที่เรียงกันอยู่บนถนน ออกมา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net