Skip to main content
sharethis

 

 
ด้วยวันที่ 4 ธันวาคมที่จะถึงนี้ตรงกับวันสิ่งแวดล้อมไทย ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ความพร้อมของไทยในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ”  โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล  จำนวนทั้งสิ้น 1,272 คน
เมื่อวันที่ 26-28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
 
                มีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,272 คน เป็นชายร้อยละ 49.7 และหญิงร้อยละ 50.3

               โดยสรุปผลได้ดังนี้

               
                ประชาชนร้อยละ 68.2 มีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา โดยเห็นว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดสำหรับประเทศไทยในอนาคต อันดับแรกได้แก่ ภัยน้ำท่วม (ร้อยละ 44.4) รองลงมาคือ ภัยแล้ง / อุณหภูมิสูงเกินกว่า 40 องศา (ร้อยละ 29.0)  แผ่นดินไหว (ร้อยละ 9.0) และ สึนามิ (ร้อยละ7.1) นอกจากนี้เมื่อถามว่ากลัวหรือไม่ว่าเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติร้ายแรงที่เกิดขึ้นจะเป็นสัญญาณเตือนจากธรรมชาติว่าใกล้จะถึงวันสิ้นโลกปรากฎว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.9 ระบุว่ากลัว ขณะที่ร้อยละ 46.1 ไม่กลัว
 
สำหรับความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของระบบการป้องกันและรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทยพบว่า ประชาชนร้อยละ 51.1 ไม่เชื่อมั่น โดยด้านการเตรียมพร้อมในการอพยพโยกย้ายคนไปยังที่ปลอดภัยเป็นด้านที่ประชาชนเชื่อมั่นน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 37.8
               
                เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ที่กำหนดให้ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระการเสียภาษีพบว่า ประชาชนร้อยละ 74.5 เห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 25.5 ที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้เมื่อถามว่าใครควรเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยมากที่สุดพบว่า อันดับแรกได้แก่ ตัวเอง (ร้อยละ 44.0) รองลงมาคือ รัฐบาล (ร้อยละ 25.0) และโรงงานอุตสาหกรรม (ร้อยละ 15.0) ตามลำดับ ขณะที่หน่วยงานหรือองค์กรที่มีบทบาทในด้านการอนุรักษ์และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุดอันดับแรกได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมป่าไม้ (ร้อยละ 58.3) รองลงมาคือ กลุ่มกรีนพีซ (ร้อยละ 12.8) และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ร้อยละ 5.6)
 
ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 




1. ความกังวลต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา พบว่า
 
 
- กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ร้อยละ
68.2
(โดยแบ่งเป็น กังวลค่อนข้างมากร้อยละ 47.0 และกังวลมากที่สุดร้อยละ 21.2)
- กังวลค่อนข้างน้อยถึงไม่กังวลเลย
ร้อยละ
31.8
(โดยแบ่งเป็น กังวลค่อนข้างน้อยร้อยละ 23.3 และไม่กังวลเลยร้อยละ 8.5)
 
2. ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดสำหรับประเทศไทยในอนาคต (5 อันดับแรก) คือ
 
 
- ภัยน้ำท่วม
ร้อยละ
44.4
- ภัยแล้ง / อุณหภูมิสูงเกินกว่า 40 องศา
ร้อยละ
29.0
- แผ่นดินไหว
ร้อยละ
9.0
- สึนามิ
ร้อยละ
7.1
- พายุที่รุนแรง  
ร้อยละ
4.2
- อื่นๆ อาทิเช่น คลื่นกัดเซาะชายฝั่ง ดินและโคลนถล่ม ไฟป่า
ร้อยละ
6.3
 
3. จากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยและในต่างประเทศ เช่น ปรากฎการ
เอลนินโญ่ แผ่นดินไหวในเฮติ สึนามิในอินโดนีเซีย ท่านกลัวหรือไม่ว่าเป็นสัญญาณเตือนจากธรรมชาติว่าใกล้จะถึงวันสิ้นโลก

 

ร้อยละ
53.9
- ไม่กลัว
ร้อยละ
46.1
 
4. ความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของระบบการป้องกัน และรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทย ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ พบว่า
 
 
 
ด้าน
เชื่อมั่น
ไม่เชื่อมั่น
รวม
(ร้อยละ)
(ร้อยละ)
(ร้อยละ)
- การพยากรณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
50.6
49.4
100.0
- การเตือนภัยล่วงหน้า เช่น การแจ้งรายละเอียดของภัย ความรุนแรงของภัย
   และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
58.1
41.9
100.0
- การเตรียมพร้อมในการอพยพ โยกย้ายคน ไปยังที่ปลอดภัยได้เหมาะสมทันเวลา
37.8
   62.2
100.0
เฉลี่ยรวม
48.9
51.1
100.0
 



5. ความคิดเห็นต่อการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ที่กำหนดให้ผู้ก่อมลพิษ เป็นผู้รับภาระการเสียภาษี เช่น นักช้อปปิ้งทั้งหลายต้องจ่ายเพิ่มสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่จะกลายเป็นขยะให้ต้องกำจัด หรือ โรงงานต้องเสียภาษีการปล่อยมลพิษทางน้ำ โดยจ่ายตามจำนวนมลพิษที่ปล่อย พบว่า
 
 
 
- เห็นด้วย
ร้อยละ
74.5
(โดยให้เหตุผลว่า ผู้ก่อมลพิษจะได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยภาษีที่เก็บได้ควรนำมาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น)
 
 
 
- ไม่เห็นด้วย
ร้อยละ
25.5
(โดยให้เหตุผลว่า ประชาชนเสียภาษีอยู่แล้ว ไม่ควรเก็บเพิ่มอีก เป็นการเพิ่มภาระให้ผู้บริโภค จะทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น)
 
 
 
6. ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยมากที่สุด (5 อันดับแรก) คือ
 
 
- ตัวเอง
ร้อยละ
44.0
- รัฐบาล
ร้อยละ
25.0
- โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ร้อยละ
15.0
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ร้อยละ
9.8
- ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น จีน อเมริกา 
ร้อยละ
2.8
- อื่นๆ อาทิเช่น นักการเมือง นักธุรกิจ นักโฆษณา นักการตลาด
ร้อยละ
3.4
 
7. หน่วยงานหรือองค์กร ที่มีบทบาทในด้านการอนุรักษ์และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุด
    (5 อันดับแรก) คือ
   (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
 
 
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมป่าไม้
ร้อยละ
58.3
(โดยแบ่งเป็น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติร้อยละ 50.0 และกรมป่าไม้ร้อยละ 8.3)
 
 
- กลุ่มกรีนพีซ
ร้อยละ
12.8
- บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
ร้อยละ
5.6
- กรุงเทพมหานคร (กทม.)
ร้อยละ
4.9
- กระทรวงพลังงาน
ร้อยละ
3.8
- บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ร้อยละ
3.8
- อื่นๆ อาทิเช่น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 บริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน)  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ร้อยละ
   10.8

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net