Skip to main content
sharethis

ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ นักวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และตอนที่ 30 อภิชัย ไมอักรี ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับ H.I.V.ในซีรี่ส์ "NGO เป็นไงในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน" กิจกรรมตีปี๊บ "เวทีทบทวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย" โดยกลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย

 
 
ตอนที่ 29 ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ นักวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
 
 
“ที่มองการเมืองภาคประชาชนอยู่ก็คือว่า จะต้องเคลื่อนไหวเพื่อต่อรองในการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ถ้าพูดเป็นภาษวิชาการ ก็คือว่าต้องปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ที่อาจจะเรียกว่าถูกครอบงำอยู่ ให้มันมีลักษณะที่ว่า ภาคประชาชนสามารถที่จะกำหนด หรือว่าปรับเปลี่ยนทิศทางต่างๆ ด้วยตนเอง ไม่ใช่ว่าถูกจำกัดมาจากภายนอก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรัฐ เป็นตลาด หรือเป็นไอ้ภาพที่มันใหญ่กว่านั้นก็ตาม เพื่อว่าจะได้สามารถมีบทบาทมากขึ้น ในการกำหนดว่าจะเปลี่ยนแปลงไปทางไหน” 
 
“ข้ออ่อนข้อแข็งก็คือว่า ปกติแล้วเวลานี้เรามักจะเคลื่อนไหวไปตามความคิดที่สำเร็จรูป ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ก็คือว่า เวลามีอะไรที่สำเร็จรูปเราก็จะเคลื่อนไหวไปทางนั้นได้ แต่พอมันมีปัญหาความขัดแย้งที่ภาพสำเร็จรูปเริ่มไม่ชัดเจน ภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวอยู่ในหลายๆ ส่วนอาจจะทำงานได้ไม่ดีพอ เพราะว่ามันเคลื่อนไหวไปตามอุดมการณ์ที่สำเร็จรูป แต่ไม่ได้มีการคิดค้น หรือว่าศึกษา หรือว่าเชื่อมโยงกับส่วนต่างๆ ที่หลากหลายเพียงพอ เพราะว่า การเคลื่อนไหวภาคประชาชนไม่ได้แปลว่าชาวบ้านอย่างเดียว หรือว่าเอ็นจีโออย่างเดียว หรือว่านักวิชาการ หรืออะไรอย่างเดียว มันต้องเป็นการเชื่อมโยงจากหลายภาคส่วน”
 
“แต่ว่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนปัจจุบันมันค่อนข้างจะ... คล้ายๆ กับลีบลง ลีบลงหมายความว่า กลายเป็นส่วนย่อยๆ ไปเป็นเรื่องๆ ไป เอ็นจีโอจะกระจาย มันหลายเรื่อง แล้วภาคประชาชนมันก็มีอยู่หลายส่วน แต่ส่วนต่างๆ เหล่านี้ ที่จริงก็คือว่ามันมันลดวูบ ภาษาทางวิชาการเรียกว่า การลดรูป”
 
“การเคลื่อนไหวมันควรจะขยายวง สร้างเครือข่ายที่กว้างขวาง แต่มันกลับลดรูปไป เหลือแค่เป็นกระบวนการเคลื่อนไหวที่มัน... คล้ายๆ กับย่อยลงไปมาก แล้วไม่รู้ภาพรวม ไอ้ภาพรวมใหญ่ที่มีก็เป็นภาพรวมที่ต้องการอุดมการณ์ที่ชี้นำมาบ้างแล้ว ดังนั้นในการที่คล้ายๆ กับคิดค้นการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะเชื่อมโยงไม่ได้ มันทำให้การเคลื่อนไหวลดรูปไปมาก ซึ่งตรงนี้เป็นจุดอ่อนสำคัญของการเคลื่อนไหวภาคประชาชน” ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ นักวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
 
 
00000
 
 
ตอนที่ 30 อภิชัย ไมอักรี ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับ H.I.V.
 

 
“ทำงานมาตลอดเนี่ย... เข้าใจว่า ภาคประชาชนก็คือตัวแทนของชุมชน หรือตัวประชาชนที่ประสบปัญหาเองในเรื่องนั้นๆ จากทุกภาคส่วน คือ เป็นเจ้าของปัญหาเอง หรือเป็นตัวแทนของผู้มีปัญหามาส่งเสียงเรียกร้อง มีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหาของตนเอง หรือปัญหานั้นๆ ในพื้นที่”
 
“เอ็นจีโอก็จะเป็นคนที่จุดประกาย แรกๆ จะคิดว่าเอ็นจีโอจะเป็นคนที่จุดประการ หรือว่าเป็นคนที่สนับสนุน ให้แนวทาง อาจจะเป็นในเรื่องของการเสริมทักษะให้ภาคประชาชนได้รู้จักขบวนการต่อสู้เรียกร้องสิทธิอะไรพวกนี้ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญเหมือนกันที่จะให้ประชาชนได้มีปากมีเสียง ได้ปกป้องสิทธิของตนเอง ในการเผชิญปัญหาต่างๆ ของชุมชนที่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐเท่าไรนัก”
 
“เอ็นจีโอในอนาคต... คิดว่า จะต้องมีบทบาทให้ชัดเจนมากกว่าปัจจุบัน กว่าที่เป็นอยู่ เพราะปัจจุบันรู้สึกว่าเอ็นจีโอก็จะมีฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ค่อนข้างเยอะ มีเอ่อ... บางครั้งก็รู้สึกแยกไม่ออก ว่าเอ็นจีโอกันนักการเมือง แทบจะ... บางทีก็จะคล้ายๆ กัน รู้สึกจะเป็นอย่างนั้น”
 
“อนาคตคิดว่า อยากเห็นภาพตัวแทนเอ็นจีแบบเหมือนในอดีตที่มันค่อนข้างชัดเจน พูดถึง รู้สึก แล้วภูมิใจ มีคุณค่ามาก เมื่อก่อนไม่ได้คิดถึงทุนมากเท่าไหร่ เดี๋ยวนี้รู้สึกเอ็นจีโอจะทำตามทุนค่อนข้างสูง” อภิชัย ไมอักรี ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับ H.I.V.
 
 
.....................................................
หมายเหตุ: กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย (Thai Social Movement Watch: TSMW) เป็นการรวมตัวกันของนักกิจกรรมทางสังคม นักพัฒนา อดีตนักพัฒนา นักศึกษา และนักวิชาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง สนใจ และห่วงใยในสภาวการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยภายใต้สถานการณ์ความ ขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net