จับตาภาคประชาชน: พนม บาลี และ ชิ สุวิชาน เมื่อชาวบ้านควรมีสิทธิ มีเสียง และเป็นตัวเอกในการนำ

พนม บาลี  แรงงานกลุ่มสตรีสู่เสรีภาพ และชิ สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ ศิลปินปกาเกอะญอ ในซีรี่ส์ "NGO เป็นไงในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน" กิจกรรมตีปี๊บ "เวทีทบทวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย" โดยกลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย
 
ตอน 25 พนม บาลี  แรงงานกลุ่มสตรีสู่เสรีภาพ
 
 
“ภาคประชานที่ออกมาเคลื่อนไหว มันเป็นสิทธิของเขาที่เขาควรจะทำได้ ตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ”
 
“เท่าที่สัมผัสมากรณีของเอ็นจีโอ ถ้ามีเอ็นจีโอมันก็ดี เพราะว่าจะทำให้ภาคประชาชนได้รับสิทธิ ความที่อาจจะ ภาคประชาชนอาจไม่รู้เรื่องสิทธิ เอ็นจีโอก็เป็นตัวจุดประการให้มีภาคประชาชนขึ้นมา ให้มีการรวมตัว ให้มีการเรียกร้อง” 
 
“ภาพที่มองเอ็นจีโอก็ตอบสนองภาคประชาชนได้ค่อนข้างมากเพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรให้ภาคประชาชนมีสิทธิมีเสียง มีการตัดสินใจร่วมกับขบวนการ หรือคนที่ทำงานด้านเอ็นจีโอมากขึ้น”
 
ในอนาคต เอ็นจีโอ... “ก็ควรจะทำงานร่วมกับภาคประชาชน ทำให้ภาคประชาชนมีสิทธิ มีเสียง มีการตัดสินใจร่วมกัน เป็นความต้องการของภาคประชาชนจริงๆ” พนม  บาลี แรงงานกลุ่มสตรีสู่เสรีภาพ
 
 
00000
 
ตอน 26 ชิ สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ ศิลปินเตหน่า
 
  
“ในภาคประชาชน ภาคประชาชนสังคมในบางพื้นที่ มันไม่ได้มีเฉพาะภาคประชาชน ราษฎรธรรมดา มันจะมีภาครัฐ ภาคท้องที่ ท้องถิ่นเข้ามาร่วมขบวนภาคประชาชน แต่บางพื้นที่มันต้องมีเฉพาะภาคประชาชนเท่านั้น ถ้าเอารัฐ เอาท้องถิ่นพวกนี้เข้ามาเกี่ยวมันจะครอบชาวบ้านทันที เพราะฉะนั้นแต่ละพื้นที่มันจะต้องดู มันไม่สามารถใช้หลักการเดียวกันได้ทุกเมื่อ ผมคิดว่านี่คือโจทย์ใหม่ของการทำงานภาคประชาสังคมใหม่” 
 
“ในความเป็นเอ็นจีโอ ในภาพของผม มันมีภาพของภาคประชาชนอยู่ในนั้น มีภาพของคนทำงานองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าไป ผมคิดว่าหนึ่งถ้าเราเข้าไปสู่พื้นที่ปุ๊บต้องถอดหมวกของความเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนออกมา ถ้าเราจะขับเคลื่อนกับชุมชน เราต้องถอดหมวกตรงนั้นออกมา เราต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน แต่ว่าการหนุนเสริมเราเอาองค์กรเป็นฐานของเรา เป็นแรงขับช่วยเรา”
 
“แต่ที่ผ่านมา นี่ไม่ได้ว่านะ... บางองค์กรก็ทำดี บางองค์กรก็ยังยึดติดกับองค์กรของตนเอง พอเข้าไปในพื้นที่เหมือนกับว่าอยากจะให้องค์กรพัฒนาเอกชน เอ็นจีโอเข้าไปนำพื้นที่ ซึ่งผมว่ามันไม่ใช่ มันจะทำให้พื้นที่ไม่เติบโต มันจะทำให้พื้นที่ติดยึดกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ถ้าองค์กรนั้นถอย ชุมชนก็จบ”
 
“เราเหมือนกับว่าพยายามชูเขาให้เป็นคนนำให้ได้ ถ้าเขานำได้สุดท้ายภาคประชาสังคมก็จะได้เป็นพี่เลี่ยง แล้วงานมันจะเบาลง แต่ถ้าอยากทำงานหนักก็เอาเหมือนเดิม”
 
“ผู้อำนวย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนหรือภาครัฐผมคิดว่าต้องถอยกลับมา แต่ว่าการถอยนั้นเป็นการถอยมาสังเกตการณ์ เพื่อให้ชาวบ้านเขายืนด้วยลำแข้งตัวเองได้ ให้ภาคประชาสังคมมันโต ไม่อย่างนั้นหลายปีที่ผ่านมาองค์กรพัฒนาเอกชนบางองค์กรก็โตเอาๆ แต่ชุมชนไม่โตสักที ภาครัฐ บางกรมบางหน่วยก็โตเอาๆ คนที่เข้ามาเป็นหัวหน้าหน่วยก็ขึ้นไปเป็นหัวหน้า เป็นอธิบดี... แต่ว่าชาวบ้านก็อยู่ที่เดิม คนจนก็จนเหมือนเดิม”
 
“เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่ต้องให้ชาวบ้านจะเป็นพระเอก เป็นคนจัดการตัวเอง เป็นคนจัดการ เอ็นจีโอก็ดี รัฐก็ดีเป็นผู้อำนวยการ แต่ว่าชาวบ้านเป็นผู้จัดการให้มากที่สุด” ชิ สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ ศิลปินเตหน่า นักดนตรีชาติพันธุ์
 
.....................................................
หมายเหตุ: กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย (Thai Social Movement Watch: TSMW) เป็นการรวมตัวกันของนักกิจกรรมทางสังคม นักพัฒนา อดีตนักพัฒนา นักศึกษา และนักวิชาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง สนใจ และห่วงใยในสภาวการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยภายใต้สถานการณ์ความ ขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท