Skip to main content
sharethis

แปลจาก บทความ “Divisions emerge within Thai leadership” เขียนโดย Tim Johnston จาก Financial Times วันที่ 13 เมษายน 2010

รอยปริร้าวได้ปรากฎให้เห็นระหว่างส่วนต่างๆ ภายในรัฐบาลไทยเองและกองทัพหลังการปะทะที่จบลงไป

พร้อมๆ กับที่ฝ่ายต่างๆ เริ่มใช้ยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อฉีกตัวเองให้หลุดออกมาจากความล้มเหลวที่ลงเอยด้วยเลือดในความพยายามที่จะสลายกลุ่มผู้ประท้วง “เสื้อแดง” ปลายสัปดาห์ที่แล้ว

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการกองทัพบก ปรากฎตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่เหตุการณ์โกลาหลเมื่อวันเสาร์ ด้วยการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง มันได้ทำให้เกิดการเล่นลิ้น “ทางออกที่ดีที่สุดคือการยุบสภา” เขากล่าวกับผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ “ผมไม่ต้องการแทรกแซงการเมือง แต่ผมคิดว่า เรื่องจะจบลงโดยการยุบสภา”    

นักวิเคราะห์บางคนสรุปความเห็นของ พล.อ.อนุพงษ์ว่า ความแตกต่างได้เริ่มเกิดขึ้นระหว่างผู้บัญชาการกองทัพ กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผู้ที่อยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพื่อทำตามข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง ซึ่งก็คือการยุบสภาเลือกตั้งใหม่

แต่คนอื่นๆ เชื่อว่า ความเห็นของ พล.อ.อนุพงษ์ สื่อสารตรงไปยังทหารสายเหยี่ยวในฝ่ายของเขา “มันมีพวกที่ไม่ประนีประนอมและอยากใช้แนวทางยุทธศาสตร์การปราบปรามที่หนักขึ้นกว่าเดิม” พอล แชมเบอร์ส นักรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย เฮเดลเบิร์ก กล่าว   

ในช่วงเริ่มต้น มีการแบ่งฝ่ายภายในฝ่ายบริหารในเรื่องวิธีการการจัดการกับผู้ประท้วง ฝั่งหนึ่งคือนายอภิสิทธิ์ และพลเอกอนุพงษ์ ผู้นิยมทางเลือกในการใช้กำลังในขั้นต่ำสุดที่สามารถทำได้ ส่วนอื่นๆ คือ สายเหยี่ยว ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวถึงสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ และพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ผู้ถูกคาดหมายว่า จะขึ้นมาเป็นผู้บัญชาการกองทัพบกคนต่อไป

ทั้งสองยุทธศาสตร์ข้างต้นล้มเหลวในทางใดทางหนึ่ง แต่นักวิเคราะห์กล่าวว่า พวกสายเหยี่ยวเชื่อว่า การปราบปรามในคืนวันเสาร์ ซึ่งมีคนตาย 21 คนและบาดเจ็บมากกว่า 800 คน เป็นปฎิบัติการที่ล้มเหลว ไม่ใช่เพราะว่ามันรุนแรงเกินไป แต่มันยังรุนแรงไม่พอ 

ในความเคลื่อนไหวอันหนึ่งซึ่งหลายคนได้ตีความในฐานะที่เป็นการส่งสัญญาณ นั่นคือ (...) พิธีบำเพ็ญกุศลของนายทหารระดับสูงผู้เสียชีวิตจากปฎิบัติการทางทหาร

คนเสื้อแดงได้แสดงให้เห็นแล้วว่า คราวนี้พวกเขาไม่น่าจะถูกบังคับให้เดินทางกลับบ้านโดยการใช้กำลังทหาร และถ้าหน่วยความมั่นคงใช้กำลังอย่างเต็มที่ ฝ่ายประท้วงก็จะต่อต้านอย่างเต็มที่เช่นกัน การเข่นฆ่าก็จะเป็นเรื่องเลวร้ายอย่างยิ่ง และความเลวร้ายนี้จะแพร่ขยายออกไปมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งนายอภิสิทธิ์กำลังหวังที่จะหลีกเลี่ยงการใช้กำลังที่มากขึ้นในการจัดการกับผู้ชุมนุม 

“ทางเลือกโดยใช้การทหารมีความเป็นไปได้อยู่ตลอดเวลา แต่หากมันจะต้องใช้ขั้นรุนแรง มันจะเป็นทางเลือกสุดท้าย” แหล่งข่าวใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีกล่าว

การส่งสารของ พล.อ.อนุพงษ์ ดูเหมือนว่า มันได้ส่งไปถึงผู้รับแล้ว นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า รัฐบาลอาจจะต้องพิจารณาทบทวนสิ่งที่ยืนกรานมาตั้งแต่ต้นว่า ที่ว่าไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนปลายปีได้ อย่างไรก็ตาม เขาก็ไม่ได้เสนอกรอบเวลาแต่อย่างใด

สมการอำนาจในขณะนี้ มีความซับซ้อนมากขึ้น จากคำถามถึงการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพคนต่อไป เพราะ พล.อ.อนุพงษ์จะเกษียณอายุปลายเดือนกันยายน และกลุ่มผู้มีอำนาจในสังคมการเมือง อาทิ ลำดับชั้นในกองทัพ บุคคลวงในราชสำนัก และนายหน้าค้าอำนาจ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า นายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งพลเอกประยุทธขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพ ซึ่งทั้งหมดจะกลายเป็นความผิดหวัง ถ้ามีการเลือกตั้งขึ้นก่อนการแต่งตั้งโยกย้าย เพราะนักวิเคราะห์คาดหมายว่า ฝั่งเสื้อแดงจะชนะการเลือกตั้ง

เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า พล.อ.ประยุทธ เป็นผู้เปิดไฟเขียวให้กับการปราบปรามเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา พอล แชมเบอร์ส กล่าวว่า เขาอาจจะถูกจูงใจ ด้วยการแลกกับความมั่นใจในการขึ้นสู่ตำแหน่งของเขา

“ประยุทธถูกบอกให้เตรียมขึ้นสู่ตำแหน่ง และความสนใจของเขา จึงอยู่ที่ทำให้เกิดความแน่ใจว่า เขาจะขึ้นสู่ตำแหน่ง” พอล แชมเบอร์ส กล่าว

กองทัพของไทย ก็คล้ายๆ กับประเทศอื่นๆ คือมองว่าตนเองเป็นผู้ปกป้องประเทศ แต่จากประวัติศาสตร์แล้ว ผู้นำกองทัพของไทย ควรจะได้บทสรุปแล้ว คนไทยส่วนใหญ่ต้องการปกป้องประชาธิปไตยโดยพวกเขาเอง

บุคคลในเครื่องแบบได้ทำการรัฐประหารมาแล้ว 18 ครั้ง ประสบความสำเร็จ 11 ครั้ง นับจากปี 1932 ซึ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และครั้งล่าสุดในปี 2006 เมื่อคณะรัฐประหารโค่นทักษิณ ชินวัตร นายกฯ ที่มีประชาชนนิยม ผู้ยังคงเป็นวีรบุรุษในใจคนหลายคน รวมทั้งในหมู่คนเสื้อแดง

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net