Skip to main content
sharethis
 
 

เมื่อ 18 ธ.ค. ที่ผ่านมา มีการจัดงาน“วันแรงงานข้ามชาติสากล” ณ พุทธสถาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยมีการอภิปรายหัวข้อ “วันแรงงานข้ามชาติสากลกับการคุ้มครองแรงงานตามหลักสิทธิมนุษยชน” โดยคุณดวงกมล คชหิรัญ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเชียงใหม่ ผศ.ดร.เสาวลักษณ์ ชายทวีป คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คุณจ๋อน ประธานกลุ่มแรงงานสามัคคี (WSA) คุณสุทธิพงษ์ คงคาผล ผู้เปิดตัวหนังสือ "เสี้ยวแห่งความยุติธรรม" ดำเนินรายการโดย อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

แรงงานจังหวัดฯ ชี้แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายกำหนด

ดวงกมล คชหิรัญ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเชียงใหม่ กล่าวว่าหน่วยงานภาครัฐซึ่งดูแลสิทธิแรงงานให้แรงงานได้รับสิทธิแรงงานเหมือนกันในทางกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติแรงงานข้ามชาติไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายกำหนด ซึ่งทางหน่วยงานก็ทำหน้าที่รับเรื่องคอยดูแลแรงงานอยู่ทุกวัน กับเรื่องของการจ้างงาน ซึ่งสวัสดิการของแรงงาน ต้องได้รับตามที่กฎหมายกำหนด

โดยกระทรวงแรงงานก็อยากแนะนำให้แรงงานเข้าถึงบริการของรัฐ แม้จะไม่ได้รับความสะดวกทางภาษาก็ตาม แต่หวังว่า องค์กร มูลนิธิต่างๆ มากมายจะได้ช่วยเหลือให้แรงงานเข้าถึงสวัสดิการ และงานในวันนี้ ซึ่งชื่อของงาน ก็คือ คุ้มครองแรงงาน ก็เป็นเรื่องของการจ้างงาน เกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงาน ซึ่งการเรียกร้องทางกฎหมาย และนโยบาย โดยทางรองผู้ว่าจังหวัด ก็รับเรื่องไว้ ส่วนเรื่องสภาพของการเป็นลูกจ้าง ถ้าแรงงานต้องการติดต่อเรื่องสิทธิก็ต้องติดต่อกรมการจัดหางาน

 

เปิดตัว "เสี้ยวแห่งความยุติธรรม" เผย 9 กรณีแรงงานข้ามชาติสู้คดีนายจ้างเอาเปรียบ

สุทธิพงษ์ คงคาผล ผู้เขียนหนังสือเสี้ยวแห่งความยุติธรรม กล่าวเปิดเผยข้อมูลจากหนังสือว่า แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับการคุ้มครองแรงงาน ทั้งด้านสิทธิแรงงาน ในกรณีต่อสู้เพื่อกระบวนการยุติธรรมตามการคุ้มครองแรงงาน ซึ่ในหนังสือเสี้ยวแห่งความยุติธรรม ชี้ให้เห็นข้อมูลรวม 9 คดีที่ลูกจ้างที่เป็นแรงงานข้ามชาติชนะนายจ้างในคดีความ

โดยข้อมูลในหนังสือเน้นศึกษาแรงงานที่ อ.แม่สอด จ.ตาก และแรงงานใน จ.เชียงใหม่ ซึ่งหนังสือเสี้ยวแห่งความยุติธรรม หวังว่าจะทำให้แรงงานรู้ถึงสิทธิของตน และกล้าต่อสู้กับความไม่ยุติธรรม และหวังให้แรงงานที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะได้มีกำลังใจ จากเรื่องจริง จะได้รู้ว่ามีเพื่อนคอยช่วยเหลือกันและรวมตัวไปเรียกร้องเพื่อคุ้มครองแรงงาน ซึ่งหวังว่าแรงงานทุกคนจะได้เรียนรู้ชีวิตของพวกแรงงาน และรู้สิทธิของแรงงานข้ามชาติ และคิดว่าทุกคนจะอ่านได้ เพราะทำทั้งภาษาไทย และภาษาไทใหญ่ ให้ทุกคนรู้เป็นฐานข้อมูลแรงงานในกรณีการเรียกร้องเพื่อให้คุ้มครองแรงงานข้ามชาติจากการรวมกลุ่มของแรงงานข้ามชาติเพื่อความยุติธรรม

 

แรงงานข้ามชาติจากรัฐฉานเปิดใจ

จอน แรงงานข้ามชาติจากรัฐฉาน สหภาพพม่า ประธานกลุ่มแรงงานสามัคคี (WSA) กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติจากบ้านมาอยู่เมืองไทยเพราะว่าไม่สามารถอยู่ประเทศพม่าได้ ถ้าเราอยู่ประเทศของเรา ทหารพม่าก็ละเมิดสิทธิของเรา เผาบ้านเรา ทำให้เราต้องอพยพมาเมืองไทย ที่อพยพมาที่นี่เพราะว่าวัฒนธรรมของเรากับประเทศไทยเหมือนกัน และไทยกับเราก็เป็นพี่น้องกัน

ถ้ามีปัญหาเรื่องแรงงานทำผิดกฎหมาย ก็เกี่ยวข้องเรื่องความรู้กฎหมาย ซึ่งแรงงานต้องรู้กฎหมายสำหรับช่วยให้แรงงานเรียนรู้กฎหมาย พวกเราก็ทำงานประเทศไทย ก็ต้องการสิทธิเท่าเทียมกับคนไทย ขณะที่แรงงานก็ยังขาดความรู้เรื่องกฎหมาย บางส่วนก็เป็นแรงงานนอกระบบ เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาอีกเช่นกัน

 

คณบดีศิลปศาสตร์ แม่โจ้ เสนอสร้างองค์กร-กลุ่มเพื่อนเพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ

ผศ.ดร.เสาวลักษณ์ ชายทวีป คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า กระบวนการแรงงานข้ามชาติ คือการข้ามไปข้ามมาของแรงงาน เรื่องแรงงานข้ามชาติเชื่อมโยงกับสังคมในกระแสโลกาภิวัตน์ เพราะไทยไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวได้ ซึ่งไม่ใช่แค่เมืองไทยเท่านั้นที่มีแรงงงานข้ามชาติ และเราต้องปรับตัวทางสังคม

เกี่ยวกับเรื่องแรงงานข้ามชาติ ซึ่งช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลไทยยังขับเคลื่อนไม่พอ ที่เราต้องช่วยให้แรงงานข้ามชาตินั้น ก็เพราะเขาตกอยู่ในฐานะที่ถูกมองว่าเป็นคนแปลกหน้าในสังคม ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจกันในเชิงสังคม ทั้งโดยองค์กร กลุ่มเพื่อนมาช่วยกัน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มันเป็นการทำให้เกิดการรับรู้ให้แก่สังคม ในหลายๆ เรื่อง มีส่วนทำให้คนพัฒนาร่วมกันได้ ซึ่งตามหลักสิทธิมนุษยชน ก็เป็นเรื่องพื้นฐานที่มีเรื่องความมั่นคงของชีวิต สิทธิต่อรองในเรื่องการทำงาน และปัจจัยดังกล่าว ซึ่งก็ทำให้เรื่องแรงงานข้ามชาติ ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิต่อไป นอกจากนั้น ส่วนของภาครัฐ แล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการรับแรงงานข้ามชาติเข้ามา ซึ่งหน่วยงาน ก็ต้องจัดการให้ความรู้ สวัสดิการ และป้องกันในเรื่องปัญหาไม่ให้เกิดขึ้น เพราะมันจะทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น ถ้าไม่มีการจัดการเรื่องแรงงานข้ามชาติ

ซึ่งประเด็นมิติความสัมพันธ์ของกลุ่มคน ที่มีเข้ามาช่วยแก้ไขความขัดแย้งในสังคมได้ และสิ่งที่เกี่ยวข้องตัวของแรงงานข้ามชาติเอง โดยวางแผนวงจรชีวิต ซึ่งเกี่ยวข้องระยะยาว ในเรื่องความมั่นคงของชีวิต กับการทำงาน จากการช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ และตัวแรงงาน ก็ต้องอยู่ในสังคมที่แตกต่าง จะต้องมีการช่วยเหลือในสังคม ทำให้เกิดความเข้าใจต่อแรงงานข้ามชาติ ดังนั้น การช่วยทำความเข้าใจในภาคส่วนต่างๆ ทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ในเรื่องเชื้อชาติ ซึ่งด้านวิชาการ ก็จะมาช่วยทำให้เกิดความเข้าใจกับสังคม และส่วนของพี่น้องแรงงานข้ามชาติ จะต้องให้นายจ้าง กับภาครัฐ ช่วยกันพัฒนาทักษะของแรงงาน ซึ่งก่อให้เกิดพัฒนาตัวเองเรื่อยมา ทำให้แรงงานข้ามชาติ เกิดการพัฒนาฝีมือแรงงาน และต่อมา พัฒนาประเด็นทางนโยบาย จนถึงระดับรัฐบาลให้เกิดกลไกร่วมกัน

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net