Skip to main content
sharethis

วันที่ 13 ส.ค. 2546 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้จัดหาสถานที่ที่เหมาะสมแล้วจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติขนาดใหญ่ โดยอาจแยกเป็นอาคารด้านต่างๆ เพื่อให้เป็นแหล่งรวมความรู้ ศิลปวิทยาการ วัฒนธรรมและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศได้ครบวงจร และมอบให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรีรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 7 และ 14 ต.ค. 2546 ครม.รับทราบความก้าวหน้าการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ และเห็นชอบในกรอบแนวคิดและแนวทางการเตรียมจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายบริหารและพัฒนาองค์วามรู้ เพื่อเชื่อมโยงการทำงานและรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ

วันที่ 13 ม.ค.2547 ครม.เห็นชอบในหลักการของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และให้เป็นหน่วยงานเพิ่มเติมภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้

วันที่ 5 พ.ค.2547 พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) มีผลบังคับใช้

วันที่ 24 มิ.ย.2547 ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1 มีมติประกาศจัดตั้ง สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ โดยมีเป้าหมายหลักในการเผยแพร่ความรู้ในหมู่ประชาชน-เยาวชน และสร้างความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง

เนื้อหาโดยสรุป "สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ"

ส่วนที่1 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ไทย ประกอบด้วย ชาติพันธุ์ในประเทศไทย ศิลปและวัฒนธรรมไทย ระบบความเชื่อกับคนไทย

ส่วนที่ 2 พิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติของอุษาคเนย์

ส่วนที่ 3 พิพิธภัณฑ์ผู้คนและดินแดนของอุษาคเนย์

ส่วนที่ 4 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับสังคม ประกอบด้วย ภูมิปัญญาไทยและการพัฒนาเทคโนโลยี ศักยภาพคนไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง

ประชาไทรายงาน

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net