Skip to main content
sharethis







ลำดับเหตุการณ์สำคัญร่างพ.ร.บ.ป่าชุมชน




















































ปี พ.ศ.


ลำดับเหตุการณ์


ยุคสัมปทาน


 


รัฐบาลเปิดให้มีการสัมปทานไม้ บริษัทเอกชนทั้งของคนไทยและต่างชาติรวมทั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ( ออป .) เข้ามาชักลากไม้ในพื้นที่ป่าทั่วประเทศ กฎหมายยังอนุญาตให้เอกชนเช่าพื้นที่ป่าเพื่อทำธุรกิจทั้งการปลูกป่า สร้างรีสอร์ท ที่พักเพื่อการท่องเที่ยว


2515


ชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า อาทิเช่น ที่ อ . เถิน จ . ลำปาง กิ่ง อ . บ้านหลวง จ . น่าน และ อ . สะเมิง จ . เชียงใหม่ ได้รวมตัวกันคัดค้านการสัมปทาน


2532


ชาวบ้านที่บ้านห้วยแก้ว กิ่ง อ . แม่ออน รวมพลังคัดค้านนายทุนที่เข้ามาเช่าพื้นที่ป่าสาธารณะเพื่อปลูกสวนป่าเศรษฐกิจ จุดกระแสการเรียกร้องกฎหมายป่าชุมชนเป็นครั้งแรก


2532


กรมป่าไม้ร่างกฎหมายป่าชุมชนขึ้น ร่างดังกล่าวไม่ให้สิทธิประชาชนอย่างแท้จริง แต่เอื้อให้มีการพัฒนาป่าในทางเศรษฐกิจ


2533


ชาวบ้าน นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนร่วมกันร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชนฉบับประชาชน


2537


ชาวบ้านเริ่มรณรงค์ให้รัฐบาลนำร่างกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร


2538


รัฐบาลตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกกฎหมายป่าชุมชนฉบับใด จึงจัดให้มีการยกร่างกฎหมายป่าชุมชน เมื่อวันที่ 7-9 เมษายน 2538 โดยคณะกรรมการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ( กนภ .) ได้รับมอบหมายให้จัดสัมมนาร่วมระหว่างตัวแทนเจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน และตัวแทนชาวบ้าน โดยมี ศ . นพ . ประเวศ วะสี เป็นประธาน ในที่สุดได้ร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชน ฉบับ กนภ . ที่ทุกฝ่ายพอใจ


2541


นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย แต่งตั้งนางลดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ เป็นประธานในการปรับปรุงร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชน ให้สอดคล้องกับผลประชาพิจารณ์


2542


เครือข่ายป่าชุมชนภาคเหนือประกาศเจตนารมณ์ร่วมผลักดันกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชน ระดม 50,000 รายชื่อ เสนอกฎหมายป่าชุมชนฉบับประชาชน


2543



  • 1 มีนาคม ตัวแทนเครือข่ายป่าชุมชนทั่วประเทศ เสนอกฎหมายป่าชุมชน โดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 เข้าชื่อ 50,000 รายชื่อต่อประธานรัฐสภา

  • 5 กรกฎาคม 2543 รัฐบาลรับหลักการร่างพ . ร . บ . ป่าชุมชน วาระที่ 1 พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพ . ร . บ . ป่าชุมชน ไม่มีผู้แทนจากร่างฉบับประชาชนเป็นกรรมาธิการ

  • สิงหาคม - กันยายน ตัวแทนประชาชนผู้เสนอกฎหมาย และตัวแทนองค์กรอนุรักษ์บางกลุ่มเข้าไปเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการ ท่ามกลางบรรยากาศที่สส . ฝ่ายค้านลาออกจากสภาเกือบหมด และสส . ที่เป็นกรรมาธิการขาดข้อมูลประกอบในการพิจารณา

  • พฤศจิกายน ยุบสภา ร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชนตกไป

2544



  • 6 มกราคม เลือกตั้ง ส . ส . ทั่วประเทศ

  • 26 กุมภาพันธ์ รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทยแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

  • 27 มีนาคม คณะรัฐมนตรี ยืนยัน ร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชนที่ค้างสภา ให้พิจารณาต่อ

  • 23 พฤษภาคม รัฐสภาเห็นชอบให้มีการพิจารณาร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชนต่อ

  • แต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชน มีผู้แทนจากร่างประชาชน 13 คน จากกรรมาธิการทั้งหมด 35 คน

  • เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม คณะกรรมาธิการจัดเวทีรับฟังความคิดประชาชนต่อร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชน ทั้ง 4 ภาค

  • 31 ตุลาคม พี่น้องเครือข่ายป่าชุมชนทั่วประเทศ ประมาณ 200 คน เข้าพบวิปรัฐบาลนายอดิศร เพียงเกษ และเข้าร่วมรับฟังการพิจารณา พ . ร . บ . ป่าชุมชนของ ส . ส . ในสภาผู้แทนราษฎร

  • 7 พฤศจิกายน พ . ร . บ . ป่าชุมชน ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเสียงโหวต 341 เสียง งดลงคะแนน 2 เสียง

  • 13 พฤศจิกายน ตัวแทนชาวบ้านเครือข่ายป่าชุมชนเหนือ อีสาน ใต้ เข้าพบวิป ส . ว . และยื่นหนังสือเรื่องขอโควต้ากรรมาธิการ ส . ว . แก่ประธานวุฒิสภา แต่รองประธานมารับหนังสือแทน

  • 26 พฤศจิกายน ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติรับร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชน และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชน วุฒิสภา จำนวน 27 คน

  • ธันวาคม กรรมาธิการวิสามัญ ส . ว . ลงพื้นที่ภาคเหนือ บ้านทุ่งยาว แม่ทา แม่ขะปู

2545



  • มกราคม กรรมาธิการวิสามัญ ส . ว . ลงพื้นที่ดูงานป่าชุมชนภาคอีสาน

  • 15 มีนาคม วุฒิสภาพิจารณาร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชน มีมติตัดหลักการและหัวใจสำคัญของร่างกฎหมายฯคือ " มิให้ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์สามารถจัดตั้งป่าชุมชนได้"

2546



  • เครือข่ายป่าชุมชนระดมรายชื่อ 1,000 นักวิชาการสนับสนุน พ . ร . บ . ป่าชุมชน

2547



  • 3 พฤศจิกายน สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพ . ร . บ . ป่าชุมชนของวุฒิสภา จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่วมจำนวน 12 คน เพื่อพิจารณาในประเด็นที่ยังเป็นข้อถกเถียงกัน โดยเฉพาะประเด็นการขอจัดตั้งป่าชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

  • 9 พฤศจิกายน วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ จำนวน 12 คน เพื่อพิจารณาร่าง พ . ร . บ . ป่าชุมชนร่วมกับกรรมาธิการจากสภาผู้แทนราษฎร

  • การประชุมของคณะกรรมาธิการร่วมยังไม่แล้วเสร็จ ก่อนการปิดสภาทำให้ผลการพิจารณาตกไป

2548



  • เดือนกุมภาพันธ์ เลือกตั้งครั้งใหม่ทั่วประเทศ รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกอีกครั้ง

  • วันที่ 12 เมษายน มีการเสนอเรื่องการพิจารณาร่างพ . ร . บ . ป่าชุมชน ที่ยังคงค้างสภาในรัฐบาลชุดก่อน แก่คณะรัฐมนตรี โดยคณะรัฐมนตรีรับทราบและเสนอเรื่องให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อ

  • วันที่ 22 เมษายน สภาผู้แทนราษฎรรับรองเรื่องพิจารณาร่างพ . ร . บ . ป่าชุมชนต่อ

  • วันที่ 27 เมษายน สภาผู้แทนราษฎรมีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างพ . ร . บ . ป่าชุมชน จำนวน 12 คน มีรายชื่อดังนี้


    • คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช พรรคประชาธิปัตย์

    • นายฉัตรชัย รัตโนภาส อธิบดีกรมป่าไม้

    • นายชลน่าน ศรีแก้ว

    • นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตน์

    • นายประสาร มฤคพิทักษ์ เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม

    • นายยงยุทธ ติยะไพรัช รมต . ว่าการกระทรวงทรัพฯ

    • พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์

    • นายสงวน พงษ์มณี

    • นายสุรพล ดวงแข มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ

    • นายสุวัช สิงหพันธุ์ อธิบดีกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

    • นายอภิวัฒน์ เศรษฐรักษ์ รองปลัดกระทรวงทรัพฯ

    • นายอลงกรณ์ พลบุตร

  • วันที่ 10 พฤษภาคม 2548 วุฒิสภามีมติแต่งตั้งกรรมการธิการร่วมพิจารณา พ . ร . บ . ป่าชุมชน มีรายชื่อดังนี้


    • นายผ่อง เล่งอี้ กรุงเทพฯ

    • นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ระยอง

    • นายอนันต์ ดาโลดม สุราษฎร์ธานี

    • นายพนัส ทัศนียานนท์ ตาก

    • นายสมคิด ศรีสังคม อุดรธานี

    • นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา สระบุรี

    • นายวิชัย ครองยุติ อุบลราชธานี

    • นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ กรุงเทพฯ

    • นายสนิท จันทรวงศ์ อุบลราชธานี

    • นายนิรัตน์ อยู่ภักดี ชัยภูมิ

    • นายกมล มั่นภักดี ชุมพร

    • นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ ศรีสะเกษ


 


ที่มา : www.pachumchon.com


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net