Skip to main content
sharethis

เชียงของ - 5 มิ.ย. 48 "แม่น้ำโขงเริ่มเข้าขั้นวิฤกติสังเกตได้จากปัญหาเริ่มเกิดขึ้นในระดับล่างที่พึ่งพาแม่น้ำโขงโดยตรง เช่นชาวประมงเริ่มหาปลายากขึ้น ผลมาจากน้ำขึ้นลงเร็ว โดยปลาและสัตว์น้ำไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอันเป็นสาเหตุของปลาลดลง" ดร.สุรพล ดวงแข เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธ์พืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ฯ กล่าวกับ "ประชาไท"

ดร.สุรพล ระบุถึงสาเหตุของลดความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขงว่า เนื่องจากระดับน้ำขึ้นลงผิด ปกติ จนปลาและสัตว์หลายชนิดไม่สามารถเพาะพันธุ์และฝักตัวได้ตามธรรมชาติ อีกทั้งความเสื่อมโทรมและความอุดมสมบูรณ์ที่ลดลงของแม่น้ำโขง ส่งผลต่อปริมาณของปลาในแม่น้ำโขงมีลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด

"แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่ไม่มีเจ้าของมันกลายใครเอาก่อนได้ก่อน เหมือนกับการเขื่อน ประเทศจีนชิงสร้างก่อนได้ใช้ประโยชน์ก่อน ใครเอามากได้มาก ก็ถือว่าได้มากเพราะทุกคน ทุกประเทศก็มองว่าทิ้งเอาไว้คนอื่นก็ใช้ประโยชน์ ถ้ามีโอกาสจะเอาให้มาก เมื่อความต้องการมากก็เอาจึงเกิดการแข่งขันการใช้ประโยชน์จากน้ำโขงอย่างไร้ขอบเขต" ดร.สุรพลกล่าว

ดร.จิรากรณ์ คชเสนี อดีตผู้อำนวยการกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ในขณะนี้แม่น้ำโขง และปลาบึกกำลังประสบปัญหา จึงเป็นโอกาสอันดีในการแก้ไขปัญหาสำหรับการประชุมเป็นส่วนหนึ่งในการรับทราบถึงแนวทางการทำงานองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องปลาบึกแม่น้ำโขง โดยจะจัดประชุมร่วมกันในระดับประเทศเพื่อหาแนวทางในการศึกษาการอพยพย้ายถิ่นของปลาบึกซึ่งอาศัยความหลากหลายทางพันธุ์กรรม รวมถึงการลดลงของปริมาณปลาบึกตามธรรมชาติ โดยอาศัยความร่วมมือจากรัฐบาล องค์กรต่างในหลายประเทศ

จันทร์สวย จันเป็ง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net