Skip to main content
sharethis

เปิดรายชื่อ 135 นักวิชาการ ภาคประชาสังคม นักศึกษา ประชาชน ร่วมลงชื่อคัดค้านกรมทรัพยากรน้ำขุด “พรุลานควาย” ร่อยต่อยะลา-ปัตตานี กว่า 100 ไร่ ชี้ ทำลายพื้นที่เลี้ยงปศุสัตว์ บุกรุกที่ดินทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์ และละเมิดต่อที่ดินบางส่วนของประชาชนที่มีใบแจ้งการครอบครอง

 

20 เม.ย. 2566  ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8  กรมทรัพยากรน้ำ กำลังเดินหน้า “โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบโครงข่ายแหล่งน้ำพรุชะมา จังหวัดยะลา-ปัตตานี ช่วงที่ 2” และ “โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบโครงข่ายแหล่งน้ำ จังหวัดยะลา-ปัตตานี ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา” เพื่อขุดเปลี่ยนสภาพพื้นที่นับร้อยไร่ของ “พรุลานควาย” ซึ่งอยู่ในเขตรอยต่อของ จ.ยะลา และ จ.ปัตตานี อันเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบในการทำลายระบบนิเวศพรุ ปิดกั้นการเชื่อมต่อระหว่างพรุและทุ่งหญ้า ทำลายพื้นที่เลี้ยงปศุสัตว์ของชาวบ้าน บุกรุกที่ดินทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์ และละเมิดต่อที่ดินบางส่วนที่ชาวบ้านมีใบแจ้งการครอบครองที่ดิน หรือ ส.ค.1 โดยชาวบ้านในพื้นที่ทั้งในเขต ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา และ ใน ต.น้ำดำ  อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี ได้คัดค้านโครงการทั้งสองนี้มาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8  กรมทรัพยากรน้ำ ก็ไม่ฟังเสียงค้าน ยังคงเดินหน้าโครงการ อีกทั้งยังมีผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ได้ออกมาแสดงตนเพื่อทำให้ชาวบ้านหวาดกลัวและยอมรับโครงการในที่สุด

เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการรวบรวมรายชื่อนักวิชาการ นักวิจัย ภาคประชาชน ในจดหมายเปิดผนึกถึงปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ โดยมีข้อเรียกร้องให้สั่งหยุดดำเนินการก่อสร้างโครงการทั้งสองในทันที พร้อมทั้งให้ทำการฟื้นฟูสภาพพื้นที่และระบบนิเวศที่เสียหายจากการบุกรุกดำเนินโครงการ และให้ชดเชยค่าเสียหายจากการก่อสร้างโครงการต่อที่ดินที่ชาวบ้านมีใบ ส.ค.1  รวมทั้งขอให้มีการสอบวินัยและแจ้งความเพื่อเอาผิดทางอาญาแก่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรน้ำที่ผลักดันและเดินหน้าโครงการอย่างละเมิดกฎหมายด้วย

สำหรับผู้ลงชื่อในจดหมายมีทั้งหมด 135 คน ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการหรือนักวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแพง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งหลายท่านเป็นผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยพรุลานควายมานานหลายปีทั้งในด้านชีววิทยา นิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อม และ สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา รวมทั้งนักวิชาการจากคณะกรรมการชุดสำคัญๆ  เช่น คณะทำงานวิชาการในคณะกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำ คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  คณะทำงาน SEA ฐานทรัพยากรสงขลา-ปัตตานี

ในส่วนของภาคประชาชน ประชาสังคม และ NGOs มีตัวแทนจากหลากหลายองค์กรเข้าร่วมลงชื่อ ไม่ว่าจะเป็น สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี สมัชชาคนจน สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา มูลนิธิหยาดฝน มูลนิธิโกมลคีมทอง มูลนิธิสืบนาคะเสถียร สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี สมาคมผู้บริโภคสงขลา มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) กลุ่มเพื่อนเยาวชนและคนพุทธ สันติประชาธิปไตย มูลนิธิภาคใต้สีเขียว องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ เครือข่ายเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - Cinta Air กลุ่มปัญญาชนเพื่อการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (PADI) สมาคมประมงพื้นบ้านชายแดนใต้ สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ เครือข่ายศิลปินแห่งประเทศไทย องค์กรชาวบ้านพิทักษ์ลุ่มน้ำสายบุรี มูลนิธิอีสต์ ฟอรั่ม สมาคมชาวประมงพื้นบ้านอำเภอปะนาเระ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม จ.พัทลุง เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้ กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ The Patani และ กลุ่มปาตานีบารู

นอกจากนั้นก็ยังมีนักศึกษาจากชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นักอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ครูสอนศาสนา ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นคนรุ่นใหม่ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง  และประชาชนผู้ห่วงใยพรุลานควายได้ร่วมลงชื่อช่วย

 

จดหมายเปิดผนึก

18 เมษายน 2566

เรื่อง     ขอให้ยุติการดำเนินโครงการที่กระทบต่อระบบนิเวศและบุกรุกทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์และที่ดิน ส.ค.1 ของชาวบ้าน ในเขตพื้นที่รอยต่อ ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา และ ใน ต.น้ำดำ  อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี

เรียน     ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม / อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ

ตามที่ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8  กรมทรัพยากรน้ำ ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบโครงข่ายแหล่งน้ำพรุชะมา จังหวัดยะลา-ปัตตานี ช่วงที่ 2 และ  โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบโครงข่ายแหล่งน้ำ จังหวัดยะลา-ปัตตานี ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 นั้น ประชาชนในพื้นที่โครงการทั้งในเขต ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา และ ใน ต.น้ำดำ  อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี ได้คัดค้านโครงการทั้งสองนี้มาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นโครงการที่สร้างผลกระทบและความเดือดร้อนในหลายด้าน

สำหรับการก่อสร้าง โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบโครงข่ายแหล่งน้ำพรุชะมา จังหวัดยะลา-ปัตตานี ช่วงที่ 2 ที่มีการขุดสระใหม่ขนาดหลายร้อยไร่ และทำคูระบายน้ำเป็นทางยาว ส่งผลทำให้พื้นที่เลี้ยงปศุสัตว์ของชาวบ้านหายไป ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงประเด็นที่ว่า นอกเหนือจากบริเวณที่เป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน พื้นที่ก่อสร้างบางส่วนของโครงการยังเป็นที่ดินที่ชาวบ้าน ต.น้ำดำหลายรายมีใบแจ้งการครอบครองที่ดิน หรือ ส.ค.1 อยู่ อีกทั้งโครงการฯ ยังสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะหน้าดินและทางน้ำได้ถูกเปลี่ยนสภาพอย่างสิ้นเชิงจากการถูกขุดในบริเวณกว้างและลึก

ส่วน โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบโครงข่ายแหล่งน้ำ จังหวัดยะลา-ปัตตานี ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ดำเนินการในพื้นที่สาธารณะประโยชน์พรุโต๊ะพราน (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “พรุลานควาย”) เป็นการขุดลอก (พื้นที่เดิมเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์แต่ได้ถูกขุดลอกเป็นร่องน้ำลึก) เพื่อทำแก้มลิงสำหรับป้องกันน้ำท่วม รวมทั้งจะมีการนำดินที่ขุดลอกขึ้นมาถมเป็นคันดินขนาดใหญ่  ที่ผ่านมาโครงการในลักษณะนี้ (ถมคันดิน) ได้ปิดกั้นการเชื่อมต่อระหว่างพรุและทุ่งหญ้า ส่งผลต่อการไหลเวียนของน้ำ ทำให้น้ำท่วมขังทุ่งหญ้านานกว่าปกติจนหญ้าเน่าตาย ไม่เพียงพอต่อการหากินของปศุสัตว์ที่มีนับหมื่นตัวรอบพรุ กระทั่งวัว ควาย แพะ แกะ ล้มตายนับร้อยตัวในช่วงน้ำท่วม  ไม่นับรวมแต่ละปีที่มีวัวควายตายเพราะตกลงไปในสระลึกที่ขุดหรือขุดลอกใหม่  นอกจากนั้น การขุดที่เปลี่ยนโครงสร้างทางกายภาพไปอย่างสิ้นเชิงได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำ  ทำให้สัตว์น้ำลดจำนวนและความหลากหลายลงไปมาก กระทบต่อรายได้ของคนที่ทำประมงเป็นอาชีพหลัก

ที่ผ่านมาตัวแทนชาวบ้านตำบลน้ำดำได้ร้องเรียนความเดือดร้อนนี้ต่อประธานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ  ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมาธิการฯ ได้เชิญตัวแทนชาวบ้านตำบลน้ำดำไปให้ข้อมูล  ในการประชุมครั้งนั้นคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตและตั้งประเด็นคำถามต่อผู้แทนจากกรมทรัพยากรน้ำเกี่ยวกับ 1) งบประมาณของโครงการฯที่ไม่ใช่งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติโดยสภาผู้แทนราษฎร  แต่เป็นงบประมาณรายจ่ายงบกลางซึ่งยากแก่การตรวจสอบ 2) การเสนอขอโครงการฯ และการอนุมัติโครงการฯ ที่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าดำเนินการโดยใคร 3) ความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของการจัดรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการทั้งสองที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 ณ โรงแรมปาร์ควิว อ.เมือง จ.ยะลา  ที่เกิดข้อสงสัยที่ว่าน่าจะไม่ใช่การลงลายมือชื่อจริงของชาวบ้านผู้เข้าร่วม และ 4) การใช้พื้นที่เพื่อดำเนินโครงการที่ละเมิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสถานะของการเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ก่อนดำเนินโครงการฯ และ การละเมิดสิทธิในที่ดินของชาวบ้านที่มีใบ สค.1

เมื่อคณะกรรมาธิการเรียกประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 กรมทรัพยากรน้ำพยายามกลบเกลื่อนความไม่ชอบมาพากลของโครงการฯ โดยยืนยันว่า โครงการฯ ดำเนินการบนพื้นที่สาธารณะประโยชน์และ ไม่ซ้อนทับพื้นที่กรรมสิทธิ์ของประชาชน อีกทั้งอ้างว่าได้ปรับลดขนาดโครงการแลัว จึงไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ ต.น้ำดำ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี อีกต่อไป  รวมถึงโครงการฯ นี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดยะลามาอย่างถูกต้องตามขั้นตอน  ส่วนการลงลายมือชื่อของผู้เข้าร่วมในการประชุมรับฟังความเห็นต่อโครงการ  ทางกรมทรัพยากรน้ำขี้แจงว่าได้ให้ผู้เข้าร่วมลงลายมือชื่อใหม่อีกครั้ง  เพื่อยืนยันว่าได้เข้าร่วมประชุมในปี 2563 จริง แต่ทั้งนี้ก็ยังมีข้อน่าระแวงสงสัยอยู่ เช่น มีชาวบ้านในรายชื่อบางรายเสียชีวิตไปแล้ว หรือบางรายเขียนหนังสือไทยไม่ได้ แต่กลับลงชื่อได้  อนึ่ง ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ แนะนำชาวบ้านให้ใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม เช่น การแจ้งความต่อตำรวจ การร้องเรียนต่อ ปปช. การยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมและศาลปกครอง เพื่อให้มีการตรวจสอบหรือดำเนินคดีต่อกรมทรัพยากรน้ำหากการดำเนินโครงการฯ ไม่ได้เป็นไปอย่างสุจริต โปร่งใส หรืออย่างไม่คำนึงผลกระทบต่อชีวิตชาวบ้านและระบบนิเวศ 

จะเห็นได้ว่าการดำเนินโครงการทั้งสองของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8  กรมทรัพยากรน้ำ ได้นำมาสู่  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพของพื้นที่จนกระทบความสัมพันธ์เชิงนิเวศ และละเมิดสิทธิในที่ดินของชาวบ้าน ต.น้ำดำ หลายรายที่มีใบ สค. 1 ที่สำคัญพื้นที่โครงการส่วนใหญ่ดำเนินการบนทุ่งหญ้าสาธารณะประโยชน์หรือที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8  จึงหมายความว่า การดำเนินโครงการทั้งสองกำลังละเมิดกฎหมาย เนื่องจากก่อนจะดำเนินโครงการฯ กรมทรัพยากรน้ำยังไม่ได้มีการจัดหาที่ดินอื่นมาให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทน และยังมิได้มีการออกเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพการเป็นที่ดินสาธารณสมบัติตามที่ระบุในประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 (1)  อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8  กรมทรัพยากรน้ำ ยังคงเดินหน้าก่อสร้างโครงการทั้งสองต่อไป  แม้จะถูกคัดค้านจากชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ และได้รับข้อท้วงติงจากคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ ซึ่งเป็นกลไกในทางรัฐสภาที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ  ที่สำคัญการดำเนินโครงการยังเป็นการละเมิดข้อกฎหมายตามมาตรา 8 ของประมวลกฎหมายที่ พ.ศ. 2497  อีกด้วย  

ดังนั้น พวกเราตามรายชื่อแนบท้าย ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ นักวิจัย และนักกิจกรรมทางสังคมที่ได้ทำงานศึกษาวิจัยร่วมกับชุมชนในพื้นที่พรุชะมา พรุโต๊ะพราน หรือที่เรียกรวมว่า “พรุลานควาย” และสาธารณชนผู้มีความห่วงใยต่อผลกระทบจากโครงการที่มีต่อระบบนิเวศและต่อการดำรงชีพชุมชนในพื้นที่ ขอเรียกร้องให้ท่านในฐานะ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ สั่งหยุดดำเนินการก่อสร้างโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบโครงข่ายแหล่งน้ำพรุชะมา จังหวัดยะลา-ปัตตานี ช่วงที่ 2 และ  โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบโครงข่ายแหล่งน้ำ จังหวัดยะลา-ปัตตานี ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา โดยทันที พร้อมทั้งให้ทำการฟื้นฟูสภาพพื้นที่และระบบนิเวศที่เสียหายจากการบุกรุกดำเนินโครงการ และให้ชดเชยค่าเสียหายจากการก่อสร้างโครงการต่อที่ดินที่ชาวบ้านมีใบ ส.ค.1 ด้วย ที่สำคัญขอให้ท่านดำเนินการสอบวินัยและแจ้งความเพื่อเอาผิดทางอาญาแก่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรน้ำที่ผลักดันและเดินหน้าโครงการอย่างละเมิดกฎหมายด้วย

 

ผู้ร่วมลงชื่อ

1.  กนกพร ชูพันธ์      กลุ่มเพื่อนเยาวชนและคนพุทธ

2.  กนกวรรณ มีพรหม มูลนิธิโกมลคีมทอง

3.  กรอร วงษ์กำแหง   ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4.  กรีมนต์ หอมเกตุ   ประชาชน

5.  กฤษฎา บุญชัย     สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

6.  กัลยา เอี่ยวสกุล    สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี

7.  เกื้อ ฤทธิบูรณ์       หน่วยพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติและเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

8.  คณิศร รักจิตร       มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

9.  งามศุกร์ รัตนเสถียร  สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

10. จารุวรรณ อุทาปา  ประชาชน

11. จุฑา สังขชาติ      สมาคมผู้บริโภคสงขลา

12. เจะหาสือนิ เจะโชะ ประชาชน

13. ฉวีวรรณ ขวัญสุข   ประชาชน

14. ฉวีวรรณ หุตะเจริญ  มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย)

15. ชลิตา บัณฑุวงศ์   คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

16. ชวลิต วิทยานนท์   มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

17. ชื่นกมล จงทอง     ประชาชน

18. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

19. ซัยฟุลเลาะห์ ยะโกะ   ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

20. ซาการียา สมาแอ  ประชาชน

21. ซาฟีรา มาบู  ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

22. ซาฮารี เจ๊ะหลง   สกอจ.ปน.

23. ซุลกิฟลี มะเด็ง   ผู้ใช้ประโยชน์จากพรุ

24. โซเฟีย เจะแว    ประชาชน

25. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์  อาจารย์มหาวิทยาลัย

26. ทวีศักดิ์ ปิ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาชาติ

27. แทนเทพ รัตนดากุล สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี

28. ธนพร ศรียากูล กรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

29. ธนากร จันทสุบรรณ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

30. ธนิษฐา ไตรปัญญา  พิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติและเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่น 

31. นณณ์ ผาณิตวงศ์  คณะทำงานวิชาการ คณะกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำ

32. นฤมล สุดสุข   สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี

33. นาฏยา นาวานุกูล ประชาชน

34. นิติพัฒน์ บุญส่ง    SEA ฐานทรัพยากรสงขลา-ปัตตานี

35. นิสาพรรณ์ หมื่นราม   สมัชชาคนจน

36. นุกูล รัตนดากุล     สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี

37. นูรมายูตี ดอเลาะ  ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

38. บาดารุลอามีน เละหนิ   ประชาชน

39. บารมี ชัยรัตน์  สมัชชาคนจน

40. ปธานิน กล่อมเอี้ยง สันติประชาธิปไตย

41. ปิยะโชติ อินทรนิวาส   สื่อมวลชนอิสระ

42. พัชรา คงสุผล  นักวิชาการอิสระ

43. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

44. พัน ยี่สิ้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

45. พิณทิพย์ จันทรเทพ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

46. พิศิษฐ์ ชาญเสนาะ มูลนิธิหยาดฝน (จ.ตรัง)

47. แพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ มูลนิธิภาคใต้สีเขียว

48. ไพซู มามะ  เครือข่ายเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - Cinta Air

49. ภัคเกษม ธงชัย  องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

50. ภูธน ชาญชัย   ภูมิสถาปนิก (อิสระ)

51. มนตรี สุมณฑา  ผู้ชำนาญการด้านการประมง

52. มะดาโอ๊ะ ซิ  ประชาชน

53. มะรอนิง สาและ  สมาคมประมงพื้นบ้านชายแดนใต้

54. มัจญ์ดัน มาโซ   ประชาชน

55. มาเรียม บีรู องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำดำ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี

56. มาหามัด มะสีละ  กลุ่มปัญญาชนเพื่อการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (PADI)

57. มุกรีมีน ฮัจยีอิบรอฮีม  ผู้ใช้ประโยชน์

58. มูฮัมหมัด เจ๊ะดอเล๊าะ   สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

59. มูฮัมหมัดกัสดาฟี กูนา   ผู้สมัคร ส.ส. เขต3 ปัตตานี พรรคเป็นธรรม

60. มูฮัมหมัดรุสดี เชคฮารูณ พรรคประชาชาติ

61. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง   คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

62. มูฮำหมัด ดือราแม ประชาชน

63. มูฮำหมัดรีดูวาล ดอเลาะ  ประชาชน

64. ยุบลวรรณ ธนะบุตร  i-shou university

65. เยาวเฮ อูดิเง ประชาชน

66. รอฮาณี กามูจันทรดี องค์กรชาวบ้าน

67. รอฮานี จือนารา  ประชาชน

68. รุ่งเรือง ระหมันยะ  สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ

69. เริงชัย ตันสกุล  สมาคมผู้บริโภคสงขลา

70. ลม้าย มานะการ  สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี

71. ลุฏฟี หามิ  ประชาชน

72. วรรณิศา จันทร์หอม ประชาชน

73. วศินะ รุ่งเรือง ประชาชน

74. วสันต์ สิทธิเขตต์  เครือข่ายศิลปินแห่งประเทศไทย

75. วันชัย พุทธทอง  สื่อมวลชน

76. วัรดะห์ สูหลง   ผู้ใช้ประโยชน์จากพรุ

77. ว่าที่ร้อยตรีอัสรีย์ แดเบาะ  สมาคมชาวประมงพื้นบ้านอำเภอปะนาเระ

78. วิชิต สุขประเสริฐ   ประชาชน

79. วิทยา ศิรินุวัฒน์    ประชาชน

80. วิภา สุขพรสวรรค์  องค์กรชาวบ้านพิทักษ์ลุ่มน้ำสายบุรี

81. แววฤดี แววทองรักษ์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

82. ศจี กองสุวรรณ มูลนิธิอีสต์ ฟอรั่ม

83. ศราวุธ เจ๊ะโส๊ะ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

84. ศศิภา จันทร์ลิหมัด ครู

85. ศุภราภรณ์ ทวนน้อย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

86. ส.รัตนมณี พลกล้า มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน

87. สมนึก จงมีวศิน   นักวิชาการอิสระ

88. สมพร ช่วยอารีย์   คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

89. สมศักดิ์ บัวทิพย์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

90. สลักจิต แก้วคำ  ประชาชน

91. สะมะแอ เจะมูดอ  สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย

92. สันติชัย ชายเกตุ กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม จ.พัทลุง

93. สายฝน สิทธิมงคล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

94. สายันห์ โพธิ์สุววรณ ประชาชน

95. สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

96. สินธุ แก้วสินธุ์  เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้

97. สุกัลยา เหมมณี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

98. สุธาวัลย์ บัวพันธ์   มูลนิธิภาคใต้สีเขียว

99. สุพรรษา ชัยภิญโญ ประชาชน

100.  สุภาพร แสงแก้ว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

101.  สุภาภรณ์ มาลัยลอย  มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

102.  สุรเชษฐ์ เรืองมาก  ผู้เชี่ยวชาญระบบนิเวศป่าชายเลน

103.  สุไรนี สายนุ้ย  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

104.  สุไลมาน เจ๊ะแม  ประชาชน

105.  โสภา ปิยะพัฒนา  พนักงานบริษัทเอไอเอ จำกัด

106.  หาญณรงค์ เยาวเลิศ  มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย)

107.  อธิวัฒน์ เส้งคุ่ย เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้

108.  อนันต์ ดือราแมหะยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

109. อรุณ เหลาะเหม  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

110. อรชา  รักดี  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

111. อลิสา บินดุส๊ะ กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้

112. อลิสา หะสาเมาะ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

113.  อัจลา รุ่งวงษ์   นักวิจัยอิสระ

114. อัตถกฤดิ ศรียาภัย ทนายความ

115. อันวาร์ อิบราฮิม อาจารย์พิเศษโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

116. อับดุลเล๊าะ ดอลี  กลุ่มเยาวชนรอบพรุ

117. อับดุลเลาะ สิเดะ   พรรคเป็นธรรม (กลุ่มปาตานีบารู)

118. อับดุลสุโก ดินอะ   ผู้อำนวยการศูนย์อัลกุรอานและภาษา QLCC

119.   อัฟฟาน กูมะ   The Patani

120.   อัลอามีน มะแต   ประธานเครือข่ายชุมชนประมงพื้นบ้านและชายฝั่งรอบอ่าวปัตตานี

121.  อาซัน ดอเลาะ  องค์กรชาวบ้าน

122. อาซีย๊ะ มามุ  ผู้ใช้ประโยชน์จากพรุ

123. อาแซ สะยาคะ  คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

124. อาทิตญา ศรศิษ ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

125. อารายู โซะห์ ประชาชน

126. อารีนี เจาะกลาดี   ผู้ใช้ประโยชน์จากพรุ

127. อารีฟีน โสะ  The Patani

128. เอกรินทร์ ต่วนศิริ   คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

129. ไอร์นี แอดะสง   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

130. ฮัมดัน อีแต   ผู้ใช้ประโยชน์จากพรุ

131.  ฮัสมี สาหะ  ผู้ใช้ประโยชน์จากพรุ

132. ฮานาน สุเด็น ลูกจ้างหน่วยงานของรัฐ

133. ฮาฟิต ยามะแล ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

134. Suppawan Chanasongkram อาหารปันรัก

135. Thanakorn Hoontrakul  Garrya Tongsai Bay

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net