Skip to main content
sharethis

พีมูฟร่วมกับอีก 72 องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมออกแถลงการณ์ประณามกระทรวงทรัพย์ฯ ปล่อยให้ตำรวจใช้กำลังกับประชาชนที่ต้องการตั้งเวทีคู่ขนานประชุมเอเปคสะท้อนปัญหาความเดือดร้อนจากนโยบายของกระทรวง และไม่ยอมรับฟังเสียงของประชาชนที่ต้องการส่งถึงที่ประชุมเอเปค

ภาพเหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2565

25 ส.ค.2565 ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ออกแถลงการณ์ที่มีอีก 72 องค์กรรวมลงนามต่อเหตุการณ์สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ที่รวมตัวกันเดินขบวนจากประตูท่าแพ ไปที่บริเวณโรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ที่ถูกใช้เป็นที่ประชุมเอเปค ด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อวานนี้และพยายามดันผ่านแนวกั้นของตำรวจที่ตั้งด่านอยู่เชิงสะพานแม่ข่าเพื่อไปตั้งเวทีคู่ขนานสะท้อนปัญหาความเดือดร้อนกับการประชุมที่บริเวณหน้าโรงแรมแต่ไม่สามารถทำได้และทางเจ้าหน้าที่ได้ใช้กำลังในการจับกุมตัวผู้ที่มาชุมนุม 4 รายก่อนปล่อยตัว โดยผู้ที่ถูกจับกุมได้รับบาดเจ็บ

แถลงการณ์ระบุว่าขอประณามกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้มที่มีวราวุธ ศิลปอาชาเป็นรัฐมนตรีอยู่ว่าไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายที่ออกมาอีกทั้งยังไม่สนใจประชาชนที่ถูกเจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรง รวมถึงไม่ยอมนำข้อเรียกร้องของ สกน.ไปนำเสนอในเวทีการประชุมแต่ยังคงนำเสนอนโยบายของกระทรวงที่จะสร้างผลกระทบให้กับประชาชนโดยที่ประชาชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนนโยบายต่อผู้นำนานาชาติต่อไป

“เราเห็นว่า 8 ปีที่ผ่านมาของกระทรวงทรัพย์ และกว่า 3 ปีของนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย์ ได้ทำให้กระทรวงนี้เป็นปฏิปักษ์กับประชาชน กลายเป็น “นั่งร้านให้ฝ่ายเผด็จการ” ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน นับตั้งแต่การผลักดันกฎหมายที่ดิน-ป่าไม้อย่างน้อย 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ, พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า, พ.ร.บ.ป่าชุมชนที่ออกในปี 2562 ยุคสภานิติบัญญัติ(สนช.) ของรัฐบาลเผด็จการที่มาจากการรัฐประหาร จนถึงท่าทีและพฤติกรรมจากการประชุมเอเปคด้านป่าไม้ครั้งล่าสุดนี้ จึงเป็นภาพสะท้อนชัดถึงจิตวิญญาณแห่งการรับใช้ฝ่ายเผด็จการของนักการเมืองและฝ่ายบริหารหลายคนที่อยู่ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ” ระบุในท้ายแถลงการณ์

แถลงการณ์ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ)

ประณามพฤติกรรมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

“ปิดกันเสียงกลุ่มชาติพันธุ์ คนทุกข์ ขี้ขลาด ประพฤติตนเป็นนั่งร้านให้อำนาจฝ่ายเผด็จการ”

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวานนี้ (24 ส.ค. 2565) บริเวณสะพานข้ามคลองแม่ข่า ใกล้โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ ปรากฏภาพการใช้ความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าสกัดกั้น ขัดขวาง การใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในนาม “สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.)” หนึ่งในเครือข่ายสมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรและชาติพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายด้านป่าไม้-ที่ดิน ทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งพฤติกรรมข่มขู่คุกคามและใช้วาจาไม่สุภาพปฏิบัติต่อพี่น้อง จนไม่สามารถสื่อสารส่งเสียงไปถึงการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ได้นั้น

พีมูฟ ขอชี้แจงว่า สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) และเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายและนโยบายด้านป่าไม้-ที่ดิน มีความชอบธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลและสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในการจัดเวทีคู่ขนานกับการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน ในระหว่าง ซึ่งเรายืนยันว่าเป็นการจัดเวทีคู่ขนาน (Side Event) ในครั้งนี้ไม่ใช่การชุมนุม กล่าวคือ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2565 เราได้จัดให้มีเวทีวิชาการสัมมนาเครือข่ายจัดทำข้อเสนอของภาคประชาชนต่อเวทีประชุมเอเปคด้านป่าไม้ ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาในวันที่ 23 ส.ค. 2565 เราได้นำข้อเสนอที่จัดทำขึ้น 7 ข้อ ไปยื่นถึงนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) อย่างเป็นทางการ เพื่อให้นำข้อเสนอของประชาชนเข้าสู่การประชุมพิจารณาด้วย โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส. เป็นผู้รับหนังสือแทน ซึ่งนำมาสู่การจัดเวทีคู่ขนานโดยประชาชนในวันที่ 24 ส.ค. 2565

แต่ความไม่ชอบธรรมของ ทส. คือการเพิกเฉย ไม่รับฟังเสียงของประชาชนคนชายขอบ เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายและนโยบายด้านป่าไม้-ที่ดิน ด้วยการนิ่งดูดายต่อภาพเหตุการณ์ความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สกัดกั้น ขัดขวาง ข่มขู่ด้วยวาจา ท่าทีก้าวร้าว ทำร้ายร่างกายประชาชน และข่มขู่ดำเนินคดีปิดปาก ซึ่งเห็นเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนทั้งประเทศ พีมูฟ จึงขอประณาม ทส. ในนามกระทรวงที่กดขี่ประชาชนในเขตป่า และเราขอประกาศต่อสาธารณชน ดังนี้

1.การจัดเวทีคู่ขนานเมื่อวานนี้ เพื่อสื่อสารกับที่ประชุมเอเปคป่าไม้ ว่าเราคือประชาชนที่มีความเป็นคนไม่ต่างไปจากท่านผู้มีอำนาจทั้งหลาย เรามาเพื่อถามหามโนธรรมสำนึกและบอกว่ารัฐบาลไทยไม่เคยเป็นฮีโร่ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม มีแต่ประชาชนทั้งนั้นที่ช่วยกันดูแลทรัพยากร และหากท่านไม่รับฟังเสียงของพวกเรา ยังคงเชื่อคำลวงและเดินรอยตามนโยบายขายฝันของรัฐบาลไทย โดยมีองค์กรเครือข่ายร่วมลงนามสนับสนุนแถลงการณ์ของพวกเราที่ส่งเสียงถึงผู้นำระดับรัฐมนตรีเอเปค ทั้งสิ้น 73 เครือข่าย เราขอขอบคุณทุกกำลังใจและทุกเสียงตอบรับที่สนับสนุนและร่วมปกป้องสิทธิของประชาชน

2.ข้อเสนอทั้ง 7 ข้อของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ในขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) นั้น พบว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ไม่ได้นำเข้าสู่การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ตามที่เราเรียกร้องแต่ประการใด กลับพบว่า รมว.ทส. ยังเดินหน้าแถลงข่าวเดินหน้านโยบาย “ฟอกเขียว” และกำลังจัดทำ “ถ้อยแถลงเชียงใหม่” ที่ขาดการมีส่วนร่วมเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ และมีแนวโน้มสร้างผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะคนชายขอบกลุ่มชาติพันธุ์อย่างรุนแรง ฉะนั้นเราจึงต้องเดินหน้าคัดค้านทุกผลการเจรจาจากเวทีเอเปคด้านป่าไม้อย่างถึงที่สุด

3.ขอประนามนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีทส. ทีไม่มีความกล้าหาญที่จะพบกับประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการดำเนินงานของกระทรวงตน ไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้สมศักดิ์ศรีกับการเป็นนักการเมืองที่อ้างตัวว่ามาจากการเลือกตั้ง ขาดจิตวิญญาณของการเป็นผู้แทนราษฎร และไม่มีความเห็นอกเห็นใจหรือรู้สึกร้อนใจกับภาพความรุนแรงที่เจ้าหน้าที่ทำร้ายประชาชน เราขอยืนยันว่า นายวราวุธ นั้น ไร้คุณสมบัติ และสิ้นความชอบธรรมในการเป็นรัฐมนตรี ทส. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เราเห็นว่า 8 ปีที่ผ่านมาของกระทรวงทรัพย์ และกว่า 3 ปีของนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย์ ได้ทำให้กระทรวงนี้เป็นปฏิปักษ์กับประชาชน กลายเป็น “นั่งร้านให้ฝ่ายเผด็จการ” ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน นับตั้งแต่การผลักดันกฎหมายที่ดิน-ป่าไม้อย่างน้อย 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ, พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า, พ.ร.บ.ป่าชุมชนที่ออกในปี 2562 ยุคสภานิติบัญญัติ(สนช.) ของรัฐบาลเผด็จการที่มาจากการรัฐประหาร จนถึงท่าทีและพฤติกรรมจากการประชุมเอเปคด้านป่าไม้ครั้งล่าสุดนี้ จึงเป็นภาพสะท้อนชัดถึงจิตวิญญาณแห่งการรับใช้ฝ่ายเผด็จการของนักการเมืองและฝ่ายบริหารหลายคนที่อยู่ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ

“ปิดกันเสียงกลุ่มชาติพันธุ์ คนทุกข์ หยุดขี้ขลาด ประพฤติตนเป็นนั่งร้านให้อำนาจฝ่ายเผด็จการ” คือคำจำกัดความที่ควรค่าที่สุดสำหรับหน่วยงานนี้

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ)

25 สิงหาคม 2565

รายชื่อองค์กรเครือข่ายร่วมสนับสนุน

1. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.)

2. ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)

3. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (มพน.)

4. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น

5. กรีนพีซ ประเทศไทย

6. Land Watch Thai กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน

7. ภาคีSaveบางกลอย

8. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

9. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

10. ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

11. สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

12. มูลนิธิกะเหรี่ยงเพื่อการพัฒนาและบริการ

13. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสิทธิมนุษยชน (คกส.)

14. เครือข่ายยุติเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย

15. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาภาคเหนือ (กป.อพช.ภาคเหนือ)

16. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ (CAN)

17. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC)

18. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)

19. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันตก

20. เครือข่ายกะเหรี่ยง เขตงานตะนาวศรี

21. เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair)

22. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

23. ชาติพันธุ์ปลดแอก

24. บางกลอยคืนถิ่น

25. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)

26. เครือข่ายชาวเล อันดามัน

27. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้

28. สภาชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้

29. ศูนย์เสริมสร้างองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม จ.พิษณุโลก

30. สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)

31. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง

32. มูลนิธิชุมชนไท

33. เครือข่ายชาวเลอันดามัน

34. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด

35. สภาประชาชนภาคใต้แห่งความสุข

36. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)

37. เครือข่ายทรัพยากรดินน้ำป่าจังหวัดกำแพงเพชร

38. เครือข่ายปฎิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด

39. เครือข่ายที่ดินจังหวัดพังงา ชุมชนบ้านทับยาง

40. สหภาพไรเดอร์ (Freedom Rider Union)

41. คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)

42. เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน

43. กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชน ไทดำบ้านทับชัน

44. ศิลปะปลดแอก

45. กลุ่ม The Rights to Space The Rights to Speak (R2S)

46. พิราบขาวเพื่อมวลชน ลำปาง

47. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)

48. เครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง

49. เครือข่ายความมั่นคงทางอาหารชนเผ่าพื้นเมือง

50. สหภาพคนทำงาน (Workers' Union)

51. แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม

52. ทะลุวัง

53. ทะลุฟ้า

54. ทะลุ มช.

55. ทะลุราม

56. ทะลุนคร

57. ทะลุ มข.

58. ลำพูนปลดแอก

59. Nu-movement

60. เฟมินิสต์บันเทิงศิลป์

61. เครือข่ายองค์กรชุมชนรักษ์เทือกเขาบรรทัด (ครท.)

62. ราษฎรโขงชีมูน

63. Koratmovement

64. คบเพลิง

65. ราษฎรชัยภูมิ

66. ขบวนการอีสานใหม่

67. ดึงดิน

68. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม

69. อุดรพอกันที

70. ดาวดิน

71. LANDERS

72. ภาคีนักเรียน KKC

73. เครือข่ายความหลากหลายทางเพศอีสาน (IGDN)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net