Skip to main content
sharethis

'โจ ไบเดน' แถลงกรณีรัฐประหารในพม่าครั้งล่าสุด เรียกร้องให้ทั่วโลกกดดันเหล่านายพลระดับสูงสละอำนาจ และขู่ว่าจะคว่ำบาตรพม่า อีกด้านผู้เชี่ยวชาญมองว่าการคว่ำบาตรจะส่งผลได้ในระดับจำกัด ขณะที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนบอกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นสะท้อนความล้มเหลวของประชาคมนานาชาติที่ไม่สกัดกั้นอำนาจของทหารพม่ามากพอ

3 ก.พ. 2564 เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา หลังเกิดการรัฐประหารในพม่ารอบล่าสุด ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แถลงขู่ว่าจะกลับมาดำเนินการคว่ำบาตรต่อพม่าอีกครั้ง รวมถึงเรียกร้องให้นานาชาติโต้ตอบโดยการช่วยกดดันให้นายพลระดับสูงเหล่านี้สละอำนาจ โดยที่ไบเดนกล่าวถึงเหตุการณ์ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนและกวาดต้อนจับกุมผู้คนร่วมถึงอองซานซูจีว่าเป็น "การโจมตีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมของประเทศ"

สื่ออัลจาซีราระบุว่าวิกฤตการณ์ในพม่าเป็นบททดสอบแรกสำหรับรัฐบาลไบเดนที่เคยสัญญาว่าจะสนับสนุนกลุ่มประเทศพันธมิตรในเรื่องปัญหาระดับนานาชาติต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องที่จีนกำลังเพิ่มอิทธิพลมากขึ้น ต่างจากนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" ของโดนัลด์ ทรัมป์

การรัฐประหหารในพม่ายังทำให้ทั้งพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตแสดงจุดยืนตรงกันในเรื่องการประนามกองทัพพม่าและเรียกร้องให้มีการโต้ตอบการรัฐประหารนี้

ไบเดนแถลงว่า ประชาคมนานาชาติควรจะร่วมกันประสานเสียงเป็นหนึ่งเดียวในการกดดันกองทัพพม่าให้สละอำนาจโดยทันที รวมถึงทำการปล่อยตัวนักกิจกรรมและบุคคลของรัฐบาลที่พวกเขาคุมขังด้วย ไบเดลระบุว่าสหรัฐฯ เคยถอนการคว่ำบาตรพม่ามาก่อนในช่วงสิบปีที่แล้วจากการที่พม่าเริ่มมีความก้าวหน้าในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยมากขึ้น แต่การย้อนกลับมาถดถอยในครั้งนี้ทำให้พวกเขาต้องพิจารณากลับมาคว่ำบาตรโดยทันทีและจะตามด้วยการดำเนินการที่เหมาะสม

ไบเดนแถลงต่อไปว่าพวกเขา "ยืนหยัดอยู่เคียงข้างประชาชนชาวพม่าในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้" และบอกว่าพวกเขาจะทำงานร่วมกับกลุ่มที่เป็นแนวร่วมกับพวกเขาในภูมิภาคและกับประชาคมโลกเพื่อคืนประชาธิปไตยกับหลักนิติธรรมสู้พม่า รวมถึงนำตัวผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโค่นล้มการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของพม่าออกมารับผิดชอบกับสิ่งที่ตัวเองทำไว้

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศของสหรัฐฯ เกร็ก โพลลิง และไซมอน ฮุดส์ กล่าวว่าการคว่ำบาตรครั้งใหม่นี้น่าจะเป็นการคว่ำบาตรต่อผู้ที่มีส่วนร่วมกับการรัฐประหารอย่างแน่นอน แต่ทว่ามันจะไม่ได้ส่งผลสะเทือนอย่างทันทีทันใดต่อนายพลระดับสูงเหล่านี้จากการที่มีนายพลพม่าน้อยคนที่ต้องการเดินทางไปที่สหรัฐฯ หรือทำธุรกิจกับสหรัฐฯ

นอกจากนี้สิ่งที่สหรัฐฯ ทำได้ยังแตกต่างจากกรณีของการรัฐประหารไทยในปี 2557 เพราะสหรัฐฯ ไม่สามารถกดดันด้วยวิธีการถอนการซ้อมรบร่วมกันหรือการซื้อขายอาวุธให้กับพม่าได้เพราะทั้งสองประเทศนี้แทยไม่มีความสัมพันธ์ทางการทหารร่วมกันเลย

กลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่าประชาคมโลกควรจะเล็งเห็นว่าพวกเขายังช่วยเหลือให้พม่าเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยได้ไม่ดีพอ พวกเขาควรจะมีการคุมเข้มต่อกองทัพพม่ามากกว่านี้

อากีลา รัฐฐากฤชนัน ประธานองค์กรศูนย์โกลบอลจัสติสกล่าวว่า การรัฐบาลประหารในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงช่องโหวาของสถาบันประชาธิปไตยในพม่า อีกทั้งยังน่าเป็นห่วงว่าเมื่อพิจารณาจากประวัติของกองทัพพม่าที่เรียกว่า "ทัตมะตอว์" แล้วมีโอกาสเกิดความรุนแรงและความทารุณนักข้อกว่าครั้งอื่นๆ ประชาคมโลกจึงถือว่าล้มเหลวในเรื่องการพยายามลดอำนาจทางการทหารและการนำกองทัพพม่าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในเรื่องที่พวกเขาละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ เช่นเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา

อย่างไรก็ตามอองซานซูจี หนึ่งในฝ่ายประชาธิปไตยผู้ถูกจับกุมในการรัฐประหารครั้งนี้ก็เคยกล่าวปกป้องประเทศตัวเองในกรณีโรฮิงญามาก่อน ซึ่งเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวโรฮิงญาก่อนหน้านี้ในปี 2560 ทำให้ชาวโรฮิงญาลี้ภัยออกจากพื้นที่อย่างน้อย 740,000 ราย และในปัจจุบันกลุ่มเฝ้าระวังก็ระบุว่ากองทัพพม่ายังไงก่อเหตุร้ายต่อชาวโรฮิงญาและชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ในประเทศของพวกเขาอยู่

โดยที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนอื่นๆ เช่นกลุ่มเครือข่ายสตรีเพื่อสันติภาพที่นำโดย ไวไวนู นักกิจกรรมชาวโรฮิงญาบอกว่าภาคประชาสังคมและนานาชาติควรจะต้องมีการโต้ตอบที่แข็งกร้าวมากกว่านี้ต่อกรณีการรัฐประหารรวมถึงควรจะมีการยื่นเรื่องให้ศาลโลกและคว่ำบาตรทหารและธุรกิจของพวกเขาโดยทันทีรวมถึงมีการคว่ำบาตรจากทั่วโลกไม่ค้าอาวุธให้พม่า

อย่างไรก็ตามอุปสรรคของเรื่องเหล่านี้คือประเทศจีนและรัสเซียที่มักจะใช้อำนาจโหวตคัดค้านในสหประชาชาติและคอยปกป้องพม่าในเรื่องการก่อเหตุสังหารหมู่ชาวโรฮิงญา


เรียบเรียงจาก

Biden threatens sanctions after Myanmar military coup, Aljazeera, 02-02-2021

 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net