Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ผมไม่ได้มีความคิดจะเขียนเกี่ยวกับบทความนี้มาก่อนจนกระทั่งมหาลัยของผมเลือกตัดสินใจให้การเรียนการสอนเปลี่ยนไปอยู่ในระบบออนไลน์ โดยยังคงค่าใช้จ่ายสำหรับหน่วยกิจและการบำรุงรักษาอาคารไว้เท่าเดิม

ปัญหามีอยู่ว่า หน่วยงานรัฐทั้งหลายทำไมส่วนใหญ่ถึงใช้วิธีการออนไลน์ในการดำเนินกิจกรรมเสียหมด ตัวอย่างเช่น การแจกเงิน 5,000 บาท การแจ้งข่าวสารสำคัญก็อยู่ในแพล็ตฟอร์มเฟสบุ๊ค

ผมไม่ได้ Conservative กับการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่พื้นที่ดิจิทัล แต่คำถามมันมีอยู่ว่าทำไมคนในหน่วยงานที่ดูมีคนที่อายุอานามมากแล้วถึงดูถูกอกถูกใจกับการกระจายข่าวสารผ่านเทคโนโลยีทั้งที่พวกคุณเคยต่างตั้งคำถามต่าง ๆ นานาเกี่ยวกับมัน

ใช่ครับ! การใช้ Big data ในการจัดแจงข้อมูลนั้นมันประหยัดเวลาและงบประมาณไปได้มหาศาล และที่สำคัญมันละเอียดอ่อนและสามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากดังที่ชื่อของมันประกาศศักดาเอาไว้ กระนั้นคำถามคือมันเป็นประโยชน์จริง ๆ มั้ยในพื้นที่ Academic อย่างมหาวิทยาลัย เพราะถ้าหากมันได้ผลจริงทำไมผมจะต้องเอาเวลาสี่ปีมาใช้ในมหาวิทยาลัยด้วย? ถ้าผมสามารถเข้าถึงทรัพยากรข้อมูลพวกนี้ได้กระทั่งนั่งอยู่ที่บ้าน? ให้โอกาสผมลาออกได้มั้ย หรือคุณคืนเวลาที่ผ่านมาในมหาลัยของผมได้มั้ย?

ถ้าสมมติทุกอย่างสามารถเปิดสอนในโลกดิจิทัลได้ พื้นที่ของมหาลัยก็จะกลายเป็นเหมือนสุสานของความรู้ที่เปิดพื้นที่ให้แค่กับนักศึกษาที่ต้องการจะเรียนอะไรเพิ่มเติมอย่างจริงจังเท่านั้น ดังนั้นถ้าสมมติว่าเรากำลังจะเคลื่อนที่ไปยังโลกดิจิทัลด้วยความจริงจัง นักก็หมายความว่าท่านก็ต้องเปิดโอกาสให้นักศึกษา และอาจารย์เป็นผู้เข้าร่วมในการตัดสินใจด้วย และแน่นอนไม่ใช่แค่ตัวแทนของนักศึกษา แต่ต้องหมายความว่าต้องเป็นเสียงของนักศึกษาทั้งหมด และผมมั่นใจมากว่ามีนักศึกษาไม่กี่คนหรอกที่สบายใจกับการเปลี่ยนแปลกครั้งนี้

การเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งมันต้องอาศัยการพูดคุยกันด้วยความละเอียดอ่อน ในความหมายนี้คือต้องเปิดพื้นที่ให้แก่ทั้งนักศึกษา หากเราไปดูปรัชญากับการศึกษาแล้วจะเห็นได้ว่าการเรียนการสอนนั้นไม่ได้แบบแค่การนำความรู้และมายัดใส่สมองของผู้เรียน แต่มันยังเรียกร้องกระบวนการคิดร่วมกันระหว่างนักศึกษา และอาจารย์ และการเรียกร้องนี้ยังต้องการพื้นที่บางอย่างอีกด้วยเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ ดังนั้นการที่จู่ ๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในไม่กี่เดือนที่จะมาถึงนี้ คำถามคือพวกคุณมั่นใจแล้วใช่มั้ยกับ Solution นี้?

สพฐ. ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เพื่อขอช่องทีวีดิจิทัล 1 ช่อง สำหรับการเผยแพร่การจัดการเรียนการสอนของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ไปถึงมัธยมศึกษาปีที่สาม

นอกจากนี้ สพฐ. ยังจัดทำแอปพลิเคชั่น Obec Content Center ซึ่งจะเริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งนักเรียนสามารถเข้าไปดาวโหลดข้อมูลการสอนผ่านเว็ปไซต์นี้ได้

โดย ในท้ายเว็ปยังระบุ 4 ปัจจัยปฏิรูปการศึกษาสู่ออนไลน์เอาไว้

  1. ความเสมอภาคเท่าเทียม
  2. ห้องเรียนและโรงเรียน
  3. เทคโนโลยีการศึกษ
  4. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

ซึ่งยิ่งตอกย้ำว่าการที่จู่ ๆ จะเปลี่ยนไปสู่การเรียนการสอนออนไลน์เลยนั้นเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะทั้งสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ผนวกกับปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนและผู้สอนนั้นเป็นเรื่องที่หย่อนยานไม่ได้[1]

ถ้าเกิดคำตอบของพวกคุณคือ ‘มันคือการทดลอง’ ดังนั้นผมก็จะขอบอกว่ามันคือการทดลองที่กำลังเผด็จการมาก เพราะเป็นการทดลองที่ไม่เห็นหัวของผู้ที่ถูกทดลอง2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาเราแทบไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาไทยเป็นชิ้นเป็นอันเลยสักครั้ง หลากครั้งมาแต่เป้าประสงค์ที่ถูกเขียนแค่ในกระดาษโดยผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่งแต่กลับต้องบังคับใช้ทั้งประเทศ

นี่พวกคุณยังเล่นกับชีวิตนักเรียน นักศึกษาไม่พออีกเหรอครับ? อะไรกันคือสิ่งที่เรียกว่ารากฐานของระบบการศึกษาในประเทศไทย เราต้องทดลองกับชีวิตนักเรียน นักศึกษาอีกกี่ครั้งถึงจะสาแก่ใจ อย่างน้อยเปิดพื้นที่ให้กับนักศึกษาได้ร่วมออกแบบระบบการเรียนการสอนบ้างเถอะ

 

อ้างอิง

SU Today. (2563). “เปิดอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา มหาวิทยาลัย

ศิลปากร”. เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563. เข้าถึงจากhttps://www.facebook.com/photo?fbid=975108952904055&set=a.490995511315404.

กรุงเทพธุรกิจ. “ตามไปดูโควิด-19 จะพลิกการศึกษาอย่างไร”. เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563. เข้าถึงจาก

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877251

 

[1] อ่านต่อได้ที่. “ตามไปดูโควิด-19 จะพลิกการศึกษาอย่างไร”. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877251

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net