Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

จากกรณีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกบุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่มาพบที่ห้องเรียนและพาตัวไปซักถามข้อมูลชื่อบัญชีและรหัสผ่านในโซเชียลมีเดีย และความเห็นในประเด็นต่างๆ ที่สถานีตำรวจภูธรคลองหลวงโดยไม่มีการแสดงตัว ไม่มีหมาย และได้ทำบันทึกข้อตกลงว่าห้ามทวิตข้อความที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์อีก

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อสังเกตต่อกรณีดังกล่าวว่า แม้ในระยะหลังมีแนวโน้มการดำเนินคดีต่อการแสดงออกที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ที่เปลี่ยนไป แต่กลับพบรูปแบบการใช้กระบวนการนอกกฎหมายในการค้น ควบคุมตัว ขอข้อมูลส่วนบุคคล และทำบันทึกข้อตกลง ซึ่งไม่ใช่เพียงกรณีข้างต้นเพียงกรณีเดียว ศูนย์ทนายความฯ มีข้อสังเกต และคำแนะนำในกรณีเกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวต่อไปนี้

1.การโพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดียนั้น ไม่ใช่การกระทำความผิดซึ่งหน้าจึงไม่อาจถูกจับโดยไม่มีหมายจับได้ ดังนั้น หากมีบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ไปเชิญตัวคุณโดยไม่มีหมายจับสามารถปฏิเสธไม่ไปกับบุคคลดังกล่าวได้ เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดๆ ก็ไม่อาจควบคุมตัวหรือเชิญตัวหรือนำตัวคุณไปได้ หากคุณไม่ยินยอม

พึงระลึกว่ากระบวนการเชิญตัวไปสอบถามข้อมูลและจัดทำบันทึกข้อตกลงนั้น “เป็นกระบวนการนอกกฎหมาย” แม้กลุ่มบุคคลดังกล่าวจะอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ก็ตาม ซึ่งการกระทำของบุคคลดังกล่าวอาจเข้าข่ายความผิดฐานหน่วงเหนียวกักขัง หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบหากเผชิญกระบวนการในลักษณะนี้

คุณต้องถามชื่อและหน่วยงาน หรือหากจำเป็นต้องถ่ายภาพบุคคลนั้นไว้ จะพาตัวคุณไปที่ใด คุณควรโทรศัพท์ปรึกษาทนายความหรือบุคคลที่คุณไว้วางใจทันทีที่มีบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐมาพบคุณ ไม่ควรติดตามไปโดยไม่ทราบว่าเป็นบุคคลดังกล่าวเป็นใคร จะพาไปยังสถานที่ใด ด้วยสาเหตุใด และเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามกฎหมายใด และควรมีผู้ที่ไว้วางใจหรือทนายความไปพร้อมกับคุณ หรือควรแจ้งบุคคลที่ไว้วางใจหรือทนายความให้ทราบว่าคุณกำลังจะถูกนำตัวไปที่ใด เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ที่นอกเหนือความคาดหมายมากกว่าการซักถาม หรือถูกบังคับให้ข้อมูลได้

จะเป็นประโยชน์มากกว่า และมีข้อแลกเปลี่ยนว่าหากยินยอมให้ข้อมูลและลงชื่อในบันทึกข้อตกลง การดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ จะยุติลง และจะไม่ถูกดำเนินคดี แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีอะไรเป็นหลักประกันว่าเมื่อเราให้ข้อมูลแล้วจะไม่มีการดำเนินคดีเกิดขึ้น ในทางตรงกันข้ามเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว ผู้ถูกควบคุมตัวมักถูกกดดันจนต้องยอมให้ข้อมูลส่วนตัว หรือต้องอธิบายความจนอาจเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีได้

นอกจากนี้ ศูนย์ทนายความฯ พบว่าบันทึกข้อตกลงในบางกรณีนั้นเป็นบันทึกที่ลงชื่อโดยผู้ถูกควบคุมตัวเพียงฝ่ายเดียว ไม่ได้มีเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัวร่วมลงชื่อร่วมด้วย หรือแม้จะมีเจ้าหน้าที่ร่วมลงชื่อ บันทึกข้อตกลงยินยอมนั้นก็ไม่มีสถานะทางกฎหมาย และไม่ควรลงชื่อทั้งที่คุณไม่ได้ยินยอมหรือสมัครใจ นอกจากนี้ข้อมูลที่คุณให้ไปอาจถูกนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานเอาผิดคุณในชั้นศาลได้

3. กรณีเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การที่เจ้าหน้าที่จะทำสำเนาข้อมูล เข้าถึงข้อมูล หรือให้ส่งมอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (รวมถึงโทรศัพท์มือถือ) นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีหมายศาลเท่านั้น ไม่ควรให้สำเนาอุปกรณ์ หรือรหัสผ่าน (password) แก่บุคคลอื่น เพราะข้อมูลดังกล่าวอาจถูกนำมาขยายผลและนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับคุณหรือบุคคลอื่น และอาจถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นอันก่อความเดือดร้อนมากกว่าความเป็นจริงได้

4. ข้อความที่กลุ่มบุคคลดังกล่าวนำมาแสดงหรืออ้างว่าจะกล่าวหาดำเนินคดีนั้น อาจไม่ใช่ข้อความที่ผิดกฎหมาย หากถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมยังต้องได้รับการตรวจสอบจากพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ว่าเข้าข่ายเป็นความผิดหรือไม่ คุณสามารถต่อสู้คดีได้ ดังนั้นคุณจึงควรปรึกษาทนายความก่อนยินยอมให้ข้อมูลหรือลงบันทึกยินยอมใดๆ

อีกทั้งภาพบันทึกหน้าจอ (screenshot) เพียงอย่างเดียวไม่สามารถระบุตัวตนของผู้โพสต์ข้อความได้ พยานหลักฐานในการดำเนินคดีจะแน่นหนาเพียงใดนั้นต้องพิจารณาในชั้นศาลอีก

5. อย่างไรก็ตาม หากยินยอมเข้าสู่กระบวนการดังกล่าว พึงระลึกว่า คุณยังมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการที่จะให้ข้อมูลหรือไม่ให้ข้อมูล มีทนายความหรือบุคคลที่ไว้วางใจระหว่างกระบวนการ ปรึกษาทนายความก่อนเข้าร่วมกระบวนการ แจ้งญาติ หรือนัดหมายในวันเวลาและสถานที่ที่เราสะดวก และหากเปลี่ยนใจในระหว่างกระบวนการ สามารถถอนความยินยอม หรือไม่ลงชื่อในเอกสารใดๆ ก็ตามได้ทุกเมื่อ เนื่องจากขั้นตอนดังกล่าวนั้นไม่ใช่ขั้นตอนตามกฎหมาย การดำเนินการต่างๆ จึงขึ้นอยู่กับความยินยอมของเราเพียงเท่านั้น

6. หากตัดสินใจทำบันทึกข้อตกลง ต้องอ่านข้อมูลให้ละเอียดทุกครั้งก่อนลงชื่อในเอกสารว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ เป็นผลเสียต่อคุณหรือบุคคลอื่นหรือไม่ และอาจถูกใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีคุณในอนาคตหรือไม่ นอกจากนี้ต้องขอสำเนาบันทึกเอกสารไว้เพื่อเป็นหลักฐานด้วย

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน www.tlhr2014.com/?p=14480

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net