Skip to main content
sharethis

30 พ.ย. 2556 - นักกิจกรรมกลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ,ผู้บัญชาการเหล่าทัพ, แกนนำมวลชนทุกฝ่าย, สถาบันที่เกี่ยวข้อง และประชาชนชาวไทย โดยระบุว่าจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในปัจจุบันนับเป็นวิกฤตของประเทศไทยอีกครั้ง เกิดการเรียกร้องทางการเมืองจากประชาชนจำนวนมาก โดยมีหลากฝ่าย หลายความคิด และไม่มีท่าทีของการเจรจาต่อรองเพื่อให้เกิดข้อยุติของความขัดแย้ง ในภาวะที่มืดดำเช่นนี้ มองเห็นเพียงฝุ่นควันของภาวการณ์การใช้อานาจนอกระบบ และความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเอง ซึ่งน่ากังวลว่าจะนำไปสู่การละเมิดทางร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติใหญ่หลวงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมไทย

นักกิจกรรมกลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ เชื่อมั่นในระบบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย และเชื่อมั่นว่าหนทางที่ยึดในหลักสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด ไม่ถูกครอบงำหรือปลุกปั่น รวมถึงการคำนึงถึงความเป็นปกติสุขของคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเสียงข้างน้อยนั้น จะเป็นทางออกที่ยั่งยืนและมั่นคงของสังคมไทย เราจึงขอเรียกร้องให้

1. “รัฐบาล” ไม่ใช้ความรุนแรงในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกกรณี ประชาชนมีสิทธิในการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมืองตามหลักของสิทธิพลเมือง และรัฐบาลพึงใช้วิธีการตามกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน และหลักประชาธิปไตยในการแก้ไขปัญหาอย่างเข้มงวดที่สุด

2. “กองทัพและฝ่ายความมั่นคง” ควรเปิดพื้นที่ให้การแก้ไขปัญหาดำเนินไปตามกระบวนการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ ไม่พึงใช้อำนาจแทรกแซงและ/หรือทำการรัฐประหาร ประเทศไทยได้รับบทเรียนที่เจ็บปวดจากการรัฐประหารมามากพอแล้ว

3. “แกนนำของผู้ชุมนุมทุกฝ่าย” ยึดแนวทางการชุมนุมเรียกร้องด้วยความสงบ ภายใต้กรอบกฏหมาย ไม่ใช้การปลุกระดมจนนำไปสู่ความรุนแรงระหว่างประชาชนกับประชาชน ไม่สร้างบรรยากาศความเกลียดชังระหว่างกันจนอาจก่อวิกฤติสงครามกลางเมืองขึ้นในประเทศได้ในที่สุด

4. “เจ้าหน้าที่ภาคส่วนต่างๆ” ทั้งในส่วนราชการ ตำรวจ ทหาร สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร และสมาชิกวุฒิสภา พึงปฎิบัติหน้าที่ภายใต้กรอบของกฏหมายอย่างเคร่งครัด ไม่สนับสนุนความรุนแรงในทุกกรณี

5. “สถาบันหลักของชาติ” ที่มีบทบาทต่อสังคมไทยรวมถึงสถาบันการศึกษาและนักวิชาการ ควรสนับสนุนการหาทางออกให้แก่สังคมด้วยกระบวนการประชาธิปไตย ไม่ชี้นำไปในทางที่จะบั่นทอนความเป็นประชาธิปไตยของไทย รวมทั้งไม่รับข้อเสนอของฝ่ายใดๆในการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี หรือสภา ที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง เช่น การใช้มาตรา 7 หรือการตั้งสภาประชาชนเป็นต้น

6. สุดท้าย ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายมีการเจรจาหาทางออกร่วมกันโดยเร็วที่สุด

ความรุนแรงเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ไม่ว่าในกรณีใด ความพยายามเจรจาและแก้ปัญหาอย่างจริงใจเท่านั้นที่จะทำให้ทุกฝ่ายสามารถหาทางออกร่วมกันได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติประชาชนอย่างแท้จริง กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ และผู้มีรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล สถาบันที่เกี่ยวข้อง และแกนนำมวลชนทุกฝ่ายที่กล่าวมาในข้างต้น ดำเนินการตามข้อเรียกร้องนี้เป็นกรณีเร่งด่วน  

 

รายชื่อผู้ร่วมลงนามแนบท้ายแถลงการณ์:

1. การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ นักเขียน

2. ดาราณี ทองศิริ นักกิจกรรมอิสระ

3. อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

4. ศรัทธารา หัตถีรัตน์ นักกิจกรรมสิทธิความหลากหลายทางเพศ กลุ่มวงน้ำชา

5. ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ นักกิจกรรมสิทธิความหลากหลายทางเพศ

6. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง มูลนิธิศักยภาพชุมชน, นักกิจกรรมสิทธิความหลากหลายทางเพศ กลุ่มวงน้ำชา

7. ก้าวหน้า เสาวกุล ประชาชน

8. ณฐกมล ศิวะศิลป ประชาชน

9. สุพีชา เบาทิพย์ นักกิจกรรมสิทธิทางเพศ

10. ชุติเดช ยารังษี นักเขียน

11. อัญชลี แก้วแหวน นักกิจกรรมอิสระ กลุ่มวงน้ำชา

12. พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ นักกิจกรรม

13. ธรรศ อับดุลเลาะห์ ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิเดอะพอส โฮมเซ็นเตอร์

14. อัญชนา สุวรรณานนท์ กลุ่มอัญจารี

15. ฤดี จุลกะเศียน ประชาชน

16. ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์

17. ปริญญา เพชรสังฆาต

18. กฤตธีพัฒน์ โชติฐานิตสกุล นักกิจกรรมสิทธิความหลากหลายทางเพศ

19. อังกุศ รุ่งแสงจันทร์ วิศวกร

20. รชฎ บุญประเสริฐ

21. ทวิช พุดดี

22. กาญจนา แถลงกิจ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์

23. ชยุตม์ ศิรินันทไพบูลย์ นักกิจกรรมสิทธิทางเพศ

24. อภิเชษฐ์ ตรงจิตอุทัย

25. วัลลภ บุญทานัง ประชาชน

26. อโนพร เครือแตง บรรณาธิการ สื่ออิสระ www.LovePattaya.com

27. อรรถวุฒิ บุญยวง

28. วรพล มาสแสงสว่าง

29. กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์

30. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

31. พัชรี แซ่เอี้ยว

32. กิตติกา บุญมาไชย

33. ภีรนัฎฐ์ แก้วคำปา

34. ธณัฐพล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

35. จิรพงศ์ พลบูรณ์

36. เอกวัฒน์ พิมพ์สวรรค์

37. คำนวร เขื่อนทา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

38. วัฒนา มั่นเจริญ

39. เอนก จันทร์เครือ

40. ณัฎฐณิชา เหล็กกล้า นักศึกษา

41. นวภู แซ่ตั้ง

42. ธนสิษฐ์ ขุนทองพันธ์

43. กิตติพล เอี่ยมกมล

44. คมลักษณ์ ไชยยะ

45. ณัฐพงษ์ บุญธรรม

46. ศรเชียร สาราจารย์

47. กชกมล อนันตกฤตยาธร

48. สาริสา ธรรมลังกา นักศึกษาปริญญาโท สาขาทัศนศิลป์ มช.

49. จุลศักดิ์ แก้วกาญจน์

50. Pricha Kwunyeun M.D.

51. สุวรี เกตุไทย ตัดต่อรายการโทรทัศน์

52. เกตุวสุ เกตุไทย นักศึกษา

53. สุจินต์ เกตุไทย

54. ยุทธพันธุ์ เกตุไทย รับจ้าง

55. อุษณีย์ ตาปิน ผู้ใช้แรงงาน

56. ชมนาท ประสิทธิมนต์

57. สุมาลี โตกทอง

58. รัชนีชล ไชยลังการ์

59. คมธิวัฒน์ เกตุไทย ตัดต่อรายการโทรทัศน์

60. อนุชา วรรณาสุนทรไชย

61. ปราณี ศรีกำเหนิด

62. ชญานนท์ หนูหีต

63. นิพนธ์ อินทฤทธิ์

64. ลือชา กิจบำรุง

65. ภานุพงศ์ ธนะโคตร

66. ธันย์ ฤทธิพันธ์

67. จิฬาชัย พิทยานนท์

68. วรุฒ จักรวรรดิ์

69. ศักดิ์ดา ถวัลย์วรกิจ

70. เขียน ตะวัน

71. ชีวิน จั่นแก้ว

72. ปภังกร ศิริกาญจนภัย

73. พักตร์วิไล สหุนาฬุ

74. ชาญณรงค์ บุญหนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร

75. ศักดิ์ชัย บุญมี ข้าราชการบำนาญ

76. สมชาย อดุลเจริญทอง

77. วัชรัสม์ บัวชุ่ม

78. เมธาวี เอกวิภพ ประชาชน

79. เสฎฐวุฒิ ทองมี, นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

80. จตุรงค์ หิรัญกาญจน์

81. ณญา แซะหมูด

82. ศักดิ์ชัย บุญมี ข้าราชการบำนาญ

83. พริษฐ์ ชมชื่น

84. มิ่ง ปัญหา

85. รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง

86. วริษฐา นาครทรรพ

87. สุริยาพร เอี่ยมวิจิตร์ นักศึกษา

88. อนุศักดิ์ แซะหมูด

89. อภิเชษฐ์ ตรงจิตอุทัย

90. อุษณีย์ ตาปิน (ผู้ใช้แรงงาน)
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net