Skip to main content
sharethis
 
14 ก.ย.56 สภาผู้ชมและผู้ฟังไทยพีบีเอส ร่วมกับองค์กรจัดการน้ำในท้องถิ่นต่างๆ อาทิ การจัดการพื้นที่ต้นน้ำ กรณีศึกษาการจัดการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ จ.เลย, เครือข่ายชุมชนจัดการน้ำห้วยเสนง จ.สุรินทร์ กรณีศึกษากุดขาคีม ต.กุดขาคีม อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์, การจัดการน้ำเชิงพื้นที่เพื่อการเกษตร ต.บุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ, การจัดการน้ำ ปลายน้ำ (ลุ่มน้ำโขงเขตอุบลราชธานี) และกรณีศึกษาบ้านผาซัน อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี เปิดเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างการเรียนรู้ ในหัวข้อ ‘ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจัดการน้ำอีสาน กับบทบาทของสื่อสาธารณะ’ ณ ห้องประชุม สำนักงานคณบดี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
สมพันธ์ เตชะอธิก กรรมการนโนบาย TPBS กล่าวถึงสถานการณ์น้ำว่า นอกจากปัญหาสภาวะน้ำท่วม น้ำแล้ง รวมถึงการปล่อยมลพิษลงน้ำ ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การบริหารจัดการน้ำของภาครัฐที่ขาดการมีส่วนร่วมระหว่างองค์ความรู้ทางวิชาการกับองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
ภาครัฐมีความเชื่อมาโดยตลอดว่า ทรัพยากรน้ำเป็นสมบัติของหน่วยงานภาครัฐ การบริหารจัดการน้ำเป็นการกล่าวอ้างเพื่อการพัฒนา ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วส่วนใหญ่ดำเนินการไปเพื่อผลประโยชน์ในความร่วมมือระหว่างรัฐกับกลุ่มนายทุน เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำ หรือนโยบายการจัดการน้ำที่ใช้งบประมาณในโครงการกว่า 3.5 แสนล้านบาท แต่ความขัดแย้งนั้นเป็นไปเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น
 
ส่วนการต่อสู้นั้นย่อมขยายสู่วงกว้างแน่นอน เพราะรัฐขาดความร่วมมือกับภาคประชาชนที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ขาดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่ดำรงวิถีในการจัดการน้ำที่ชุมชนสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ ฉะนั้นการต่อสู้ในเบื้องต้นคือในเชิงนโยบาย และในการการร่างกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ให้สามารถกำหนดอนาคตของตนเองในการร่วมกันใช้ทรัพยากร ในการจัดการน้ำด้วยตนเอง
 
กรรมการนโนบาย TPBS กล่าวด้วยว่า การต่อสู้ในอีกขั้น คือ การสื่อสารเพื่อยกระดับความรู้ด้านการจัดการน้ำด้วยการขยายพื้นที่สื่อสาธารณะ ด้วยการร่วมกันเผยแพร่ข้อมูลในอีกด้านให้สังคมภายนอกได้รับทราบ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจบริบทในพื้นที่ของการมีบทบาทร่วมกับชุมชนให้กว้างมากขึ้น โดยมีสื่อเป็นส่วนกลางในการร่วมผลักดันในข้อเสนอเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรน้ำ ให้นำไปสู่แผนพัฒนาทางเลือกในระดับพื้นที่และระดับนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net