Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

สถานการณ์ล่มสลายของสังคมและประเทศไทย

ด้านเศรษฐกิจ

ระบอบเศรษฐกิจแบบทุนผูกขาดสามานย์ โดยบริษัทใหญ่ที่สุด 10 % แรกของบริษัททั้งประเทศ มีสัดส่วนรายได้สูงสุด 60 % ของรายได้บริษัททั้งหมดในประเทศ และถ้าดูบริษัทใหญ่ที่สุด 20 % แรกของบริษัททั้งประเทศ จะมีสัดส่วนรายได้คิดเป็น 90 % ของรายได้ของบริษัททั้งหมดในประเทศ และบริษัทใหญ่ที่สุดร้อยละ 20 ในตลาดหุ้น โดยที่ผู้ถือหุ้นต่างชาติและบริษัทโนมินีต่างชาติถือหุ้นเกินร้อยละ 50 เช่น ธนาคารทั้งหลาย

http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000010676701.JPEG

ช่วงของรัฐบาลทักษิณ เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่มีน้ำหนักต่อฐานะเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ทรัพย์สินของประเทศไทยกลับตกเป็นของต่างชาติมากขึ้น

ทรัพย์สินก้อนใหญ่ที่สุดของแผ่นดิน คือ ป.ต.ท. จึงทำการการแปรรูป ป.ต.ท. (PTT)ก่อน โดยนำ เข้าตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 6 ธันวาคม 2001 หลังทักษิณเป็นรัฐบาลได้ 10 เดือน การซื้อขายปตท.วันแรก SET index อยู่ที่ระดับ 305.25 จุด ปตท.ปิดที่ 35.75 บาท โดยเลือกช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์มีดัชนีต่ำที่สุด เพื่อจะมีข้ออ้างขายหุ้น ป.ต.ท.ในราคาถูกๆเหมือนได้เปล่า แล้วแบ่งสรรปันส่วนกันกินรวบทั้งในนามจริง และผ่านกองทุนนอมินีต่างชาติ(NVDR) โดยขายหุ้นทั้งหมดภายในเวลาไม่ถึง 10 นาที

การแปรรูป บริษัท ป.ต.ท.( PTT)ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคนไทยทั้งชาติเป็นเจ้าของทรัพยากรแผ่นดิน โดยที่หุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในตลาดหุ้น มี Market capitalization กว่า 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 50% ของงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปี ถ้าเป็นเจ้าของปตท. 10-20 เปอร์เซ็นต์ ก็เท่ากับมีทรัพย์สินเท่ากับงบประมาณแผ่นดิน 10-20 เปอร์เซ็นต์ รับปันผลอีกปีละ 3-6 พันล้านบาท


http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000010676708.JPEG

มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่งที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน(ประชาชน)ตามมา(การผ่านกฎหมายให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ  การแปรรูป ป.ณ. ไฟฟ้า ประปา การทางพิเศษ)  เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) เข้าซื้อขายวันที่13 มีนาคม 2004 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (TOP) เข้าซื้อขายวันที่16 ตุลาคม 2004 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (MCOT) เข้าซื้อขายวันที่17 พฤศจิกายน 2004

ด้านสังคม

ระบบผูกขาดทำให้ค่าครองชีพและรายจ่ายทุกด้านสูง ประชาชนส่วนใหญ่จึงยากจน  มีมาตรฐานการดำรงชีวิตต่ำ   มีหนี้สินต่อครัวเรือนสูง ช่องว่างคนรวย คนจนห่างมาก               ในภาพรวมครัวเรือนที่มีหนี้ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามลำดับ  ตั้งแต่ปี 2543  ถึง 2547 จากร้อยละ 56.3 เป็น 66.4  แต่เริ่มมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2549 ถึง 2552 จากร้อยละ 64.4 เป็น 60.9  แต่จำนวนเงินที่เป็นหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2543  ถึง 2552  คือ จาก  68,405  เป็น 134,699 บาท

ตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ  ระบุว่ารายได้รายจ่ายและหนี้สิน พ.ศ.2554 มีดังนี้

รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน 23,236 บาท  ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน 17,403 
• หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนที่มีหนี้สิน 241,760 บาท 

อาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำวิจัยและพบว่า  ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจสูง หากดูตัวชี้วัดเรื่องความมั่งคั่ง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) แสดงข้อมูลปี 2549 เกี่ยวกับทรัพย์สินของครอบครัวไทยกลุ่มต่างๆ พบว่า ครอบครัวกลุ่มรวยที่สุด ร้อยละ 20 มีทรัพย์สินรวมกันคิดเป็นร้อยละ 69 ของทั้งประเทศ ขณะที่ครอบครัวจนสุด ร้อยละ 20 มีทรัพย์สินรวมกัน แค่ร้อยละ 1 แสดงถึงความมั่งคั่งกระจุกตัว 

การถือครองทรัพย์สินและที่ดิน โดยการสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในใจกลางเมืองทุกจังหวัด   การผูกขาดทางธุรกิจ  การผูกขาดดด้านการตลาด ด้านการส่งออก  ด้านการเงินตกอยู่ในหมู่คนรวยจำนวนร้อยละ 1 ของประเทศ  ร่วมกับกลุ่มทุนผูกขาดโลก  เช่น กรณีห้างเทสโก้ บิ๊กซี  ชนชั้นกลางถูกทุนผูกขาดทำลายให้กลายเป็นลูกจ้างหรือ คนจน  ข้าราชการและนักการเมืองกลายเป็นนายหน้าหากินกับค่าคอมมิชชั่น ค่าหัวคิว รับเงินใต้โต๊ะ ด้วยการรับใช้ทุนผูกขาด ทุนขุนศึก ทุนศักดินาและทุนจักรพรรดิเนิยมจับมือกันแบ่งพื้นทีทางธุรกิจ ผ่านตัวแทนในพรรคการเมือง ในสภา และข้าราชการผูกขาดการทำธุรกิจ เช่นด้านการเงิน การธนาคาร ด้านเปโตรเคมี ด้านพลังงาน ด้านอุตสาหกรรมเหล็ก  ซีเมนต์ และอุตสาหกรรมการก่อสร้าง รวมทั้งบริษัทก่อสร้าง เป็นต้น 

         รายงานของนิตยสารฟอร์บส์ปี 2551 รายงานว่ามหาเศรษฐีไทยจำนวน 5 ตระกูล ถือครองทรัพย์สินคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของงบประมาณแผ่นดินและคิดเป็นร้อยละ 15 ของจีดีพี คือมีทรัพย์สินรวมกันเป็นเงิน 465,800 ล้านบาท

ส่วนตระกูลเศรษฐี 5 อันดับถัดไปมีทรัพย์สิน 127,330 ล้านบาท น้อยกว่า 5 อันดับแรก 3.65 เท่า ซึ่งสะท้อนถึงการกระจุกตัวของทรัพย์สินแม้แต่ในหมู่เศรษฐีด้วยกันเองก็ยังมีช่องว่างห่างกันถึง 3.65 เท่า

เมื่อรวมทรัพย์สินของคน 10 ตระกูลเข้าด้วยกันจะมีทรัพย์สินรวมมากถึง 593,130 ล้านบาท 

อุดมการณ์แห่งชาติ

ประเทศไทยเปรียบเสมือนคนอมโรค ที่มีอาการป่วยรอบด้านตั้งแต่เป็นไข้ปวดหัว ตัวร้อน ความดันดันโลหิตสูง  เบาหวาน และมะเร็ง(ปัญหาทางโครงสร้าง)  อุดมการณ์ประชาธิปไตยอันสูงส่งถูกกลไกและกระบวนการที่ฉ้อฉลซ่อนเงื่อนผลักดันให้ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นระบอบธุรกิจการเมือง กลายพันธ์เป็นระบอบประชาธิปไตยสามานย์  โดยที่งบประมาณและทรัพยากรของแผ่นดินกลายเป็นก้อนเนื้อก้อนใหญ่ที่นักการเมืองกระโดดเข้ามาแบ่งสรรกันกินรวบ   การแก้ปัญหาสังคมไทยจึงต้องแก้อาการที่หนักที่สุดข้างต้นก่อน คือ โรคมะเร็ง ด้วยวิธีผ่าตัด ใช้รังสี หรือ เคมีบำบัดอย่างเด็ดขาด  ด้วยการนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้ประชาชนลงประชามติ โดยที่เนื้อหารัฐธรรมนูญได้วางรากฐานการ สร้างรัฐสังคมประชาธิปไตย ( Social Democracy) ซึ่งเป็นการปฏิวัติทางโครงสร้างบนพื้นฐานที่ยึดหลักความเป็นธรรมทางสังคม ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคมและประเทศชาติ รวมทั้งการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายเหนือผลประโยชน์ส่วนบุคคล   ปฏิเสธระบบทุนนิยมเสรีใหม่( Neo Liberal  Economic ) โดยมีแนวคิดการปฏิรูปดังนี้

  ด้านการเมือง

1.ปฏิรูประบบการเลือกตั้ง โดยการเลือกนายกรัฐมนตรี  คณะรัฐมนตรี ประธานศาลรัฐธรรมนูญและศาลฎีกา  และผู้ว่าราชการจังหวัดทางตรง(ระบบประชาธิปไตยทางตรง)

2.กระจายอำนาจสำนักงานตำรวจแห่งชาติสู่ท้องถิ่น โดยการเลือกตั้งผู้กำกับการตำรวจทุกจังหวัด

3.กำหนดให้มีสภาเดียวทำหน้าที่นิติบัญญัติ โดยมีสมาชิกสภาราษฎรจังหวัดละ 2 คน โดยเลือกแบบรวมเขต

4.นำเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยใช้รัฐธรรมนูญของประเทศเวเนซูเอลลาเป็นต้นแบบ

5.ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกให้ทหารเป็นทหารของประชาชน ส่งเสริมให้ทหารผลิตอาวุธใช้เองเพื่อการพี่งตนเองและเพื่อประหยัดงบประมาณ  ลดการคอรัปชั่น

ด้านเศรษฐกิจ

1.สร้างระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองคู่ขนานระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมแบบประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี ส่งเสริมธุรกิจ   SME  พึ่งกำลังซื้อภายในประเทศเป็นด้านหลักเพื่อสร้างอาชีพ และสร้างงานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ลดและเลือกสรรการลงทุนทางตรง (FDI)จากต่างประเทศที่ไม่สร้างปัญหาในระยะยาวต่อฐานทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งผลิตอาหาร รวมทั้งด้านการใช้พลังงานที่รัฐต้องลงทุนจัดให้  จัดระบบโซนนิ่งภาคอุตสาหกรรมแยกออกจากภาคการเกษตรเป็นรายจังหวัด จังหวัดที่ผลิตอาหารจะต้องห้ามไม่ให้มีอุตสาหกรรมหนัก   ควบคุมและจำกัดระบบผูกขาดด้านการค้าและด้านการเงิน

2.ส่งเสริมและซื้อคืนรัฐวิสาหกิจ และการให้สัมปทานภาคเอกชนในกิจการที่มีผลกระทบต่อค่าครองชีพและมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ โดยไม่มุ่งค้ากำไรจากประชาชน เช่น ด้านพลังงาน ไฟฟ้า ประปา และการคมนาคมขนส่ง  ระบบทางด่วนและทางพิเศษ รวมทั้งระบบการศึกษา

3.ปฏิรูประบบภาษีอากรให้เป็นธรรม โดยใช้ระบบของประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียและประเทศอียูเป็นบรรทัดฐาน โดยเน้นภาษีทางตรง อันได้แก่ ภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า(ตามจำนวนที่ถือครอง) ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก

4.ปฏิรูปที่ดินเพื่อกระจายการถือครองให้ผู้ผลิตที่แท้จริงอย่างในประเทศเวียดนาม (ที่ดินเป็นของผู้ไถหว่าน)

5.ส่งเสริมสหภาพแรงงานและสหกรณ์ของเกษตรกรให้เข้มแข็ง มีศักยภาพและประสิทธิภาพอย่างประเทศอิสราเอล

6.พัฒนา ปฏิรูป และปฏิสังขรณ์โบราณสถาน และวัดวาอารามให้เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมชมเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ และกระจายไปสู่ชุมชนรอบๆพื้นที่เหมือนในประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน และอิตาลีซึ่งมีรายได้จากนักท่องเที่ยวจำนวนปีละ ไม่ต่ำกว่า  30 ล้านคน ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงาน และนำรายได้เข้าประเทศมากกว่าการส่งสินค้าออกหรือการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติเสียอีก

ด้านสังคม

1.ส่งเสริมระบบประกันสุขภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรม ให้หลักประกันกับนายแพทย์ และพยาบาลให้มีรายได้ที่เหมาะสมและมีชั่วโมงการทำงานที่เป็นธรรม(โดยใช้รายได้จากทรัพยากรพลังงานของชาติ อย่างเช่นประเทศเวเนซูเอลลาดำเนินการ  หรือในประเทศอียู

2.จัดระบบการศึกษาให้เข้าถึงอย่างทั่วถึง เป็นธรรม ราคาถูก หรือฟรีอย่างประเทศเยอรมัน และยกเลิกหนี้ที่กู้ยืมมาเพื่อการศึกษา โอนสถาบันการศึกษาทุกแห่งรวมทั้งทรัพย์สินกลับคืนมาเป็นของรัฐ (โดยใช้รายได้จากทรัพยากรพลังงานของชาติ อย่างเช่นประเทศเวเนซูเอลลาดำเนินการ)

3.สร้างที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ(อพาร์ตเม๊นท์)ให้คนจนอย่างทั่วถึง โดยใช้เงินภาษีทางตรงที่เก็บจากอัตราก้าวหน้า

4.ปฏิรูปสถาบันศาสนาของทุกศาสนา  ตรวจตราการใช้ประโยชน์ธรณีสงฆ์และ ทรัพย์สินของวัดให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และท้องถิ่นในรอบๆอาณาเขตของวัด

5.สร้างระบบสวัสดิการสังคมทั่วด้านอย่างเดียวกับกลุ่มประเทศอียู  ประกันการว่างงาน จ้างชาวบ้านและชาวเขาปลูกป่าและดูแลป่า

6.ปฏิรูประบบกฎหมายอาญาให้เหมาะสมกับโทษที่เป็นภัยต่อสังคม โดยไม่มีการลดหย่อนโทษ โดยเฉพาะคดียาเสพย์ติด คดีฆ่าข่มขืน ควรมีโทษประหารชีวิตโดยไม่มีการลดหย่อนโทษ  ปฏิรูปทัณฑ์สถานให้เป็นฐานการผลิต

7.ลดราคาค่าโดยสารทุกประเภทอย่างเช่นประเทศจีน ซึ่งค่าโดยสารรถใต้ดินเก็บเพียง 2 หยวน หรือ  10 บาทต่อเที่ยว  ไปได้ทั่วปักกิ่ง และต่อได้ทุกสาย

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net