Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

เอกสารประกอบการอภิปรายระดมทุนเพื่อช่วยนักโทษการเมืองเรื่อง ‘108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง’

1. ข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ที่ปรากฏในรายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา – พฤษภา 53”  เป็นข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ที่มีการจับกุมตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555[1]

ตาราง 1  จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีและจำนวนคดีจำแนกตามศาลและภูมิภาค

พื้นที่ที่เกิดเหตุและ

มีการดำเนินคดี

ศาลยุติธรรม

ศาลเยาวชนและครอบครัว

รวม    

(คน/คดี)

จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี  (คน)

จำนวนคดี  (คดี)

จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี     (คน)

จำนวนคดี  (คดี)

กรุงเทพฯ

789

589

31

31

820/620

ปริมณฑล

148

120

17

17

165/137

ภาคกลาง

188

183

28

28

216/211

ภาคเหนือ

34

21

8

8

42/29

ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ

432

298

83

82

515/380

ภาคตะวันออก

5

4

-

-

5/4

รวม

1,596

1,215

167

166

1,763/1,381

 

 

 

ตาราง 2  จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีจำแนกตามศาลและประเภทคดีที่เกี่ยวข้องกับพ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในแต่ละภูมิภาค

พื้นที่ที่เกิดเหตุ

และมีการดำเนินคดี

จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในศาลยุติธรรม (คน)

จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชนฯ (คน)

รวม   

(คน)

ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

คดี อาญาอื่นๆ

ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และคดีอาญาอื่นๆ

ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

คดี อาญาอื่นๆ

ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และคดีอาญาอื่นๆ

กรุงเทพฯ

539

48

202

22

1

8

820

ปริมณฑล

60

1

87

16

-

1

165

ภาคกลาง

163

6

19

26

-

2

216

ภาคเหนือ

3

2

29

5

-

3

42

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

234

77

121

71

-

12

515

ภาคตะวันออก

3

-

2

-

-

-

5

รวม

1,002

134

460

140

1

26

1,763

 

ตาราง 3 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี และผู้ต้องขังจำแนกตามสถานะของคดี

สถานะของคดี

จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี (คน)

จำนวนผู้ต้องขัง

(คน)

ชั้นสอบสวน/อัยการ

7

-

ชั้นพิจารณา

54

3

ชั้นอุทธรณ์

153

27

ชั้นฎีกา

18

9

คดีเด็ดขาด

1,307

11**

จำหน่ายคดีชั่วคราว (หลบหนี)

15

-

จำหน่ายคดีเด็ดขาด (เสียชีวิต)

3

-

ไม่มีข้อมูลสถานะคดี

46

-

รวม

1,603*

50

     

  * บางคนถูกดำเนินคดีมากกว่า 1 คดี

**  เป็นนักโทษคดีเสพและครอบครองยาเสพติด พร้อมทั้งฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จำนวน 5 คน

2. ข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ปรับข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556

2.1     จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีรวม 1,833 คน (1,451 คดี) โดยมี

-    จำนวนผู้ถูกฟ้องเพิ่ม 2 ราย (เดิมถูกจับกุมแต่อัยการสั่งไม่ฟ้อง) ข้อหาบุกรุกศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร และมั่วสุมก่อความวุ่นวาย 1 ราย (เยาวชน) และข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.อาวุธปืน(กรุงเทพฯ) 1 ราย

-    จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีแต่ข้อมูลตกหล่น 68 ราย ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.อาวุธปืน(กรุงเทพฯ) 1 ราย ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกนอกเคหสถาน (เชียงใหม่) 67 ราย

2.2 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว ประมาณ 1,644 คน อยู่ระหว่างจำคุก 5 คน

2.3 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดียังไม่สิ้นสุด ประมาณ 150 คน  ได้ประกัน 137 คน (คดีก่อการร้าย 24 คน) ไม่ได้ประกัน(อยู่ในเรือนจำต่างๆ) 13 คน

2.4 จำนวนหมายจับที่ยังจับกุมไม่ได้ (เท่าที่มีข้อมูล)   

-          จ.มุกดาหาร 65 หมาย[2]

-          จ.อุดรฯ 50 หมาย

-          จ.อุบลฯ คดีเผาศาลากลาง 44 หมาย คดีอื่นๆ จำนวนหลักร้อย

-          จ.ขอนแก่น จำนวนหลักร้อย

-          เชียงใหม่ไม่ทราบแน่

2.5 ตัวอย่างคดีที่ถูกฟ้องมากกว่าหนึ่งข้อหา และคดีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องแต่อัยการตัดสินใจอุทธรณ์คดีต่อ[3]

(1)   กรณีอุดรธานี – นายอาทิตย์ ทองสาย จำคุก 20 ปี, นายกิตติพงษ์ ชัยกัง จำคุก 10 ปี 3 เดือน, นายเดชา คมขำ จำคุก 20 ปี 6 เดือน, นายบัวเรียน แพงสา จำคุก 20 ปี 6 เดือน และแต่ละคนต้องชดใช้ค่าเสียหายอีกคนละตั้งแต่ 31-47.3 ล้านบาท นอกจากข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและวางเพลิงที่ว่าการอำเภอแล้ว ทั้ง 4 คนนี้ ยังมีความผิดฐานก่อความวุ่นวาย + บุกรุกโดยมีอาวุธ + และทำให้เสียทรัพย์ (รถดับเพลิง)

(2)   กรณีอุบลราชธานี - น.ส.ปัทมา มูลมิล,นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ, นายสนอง เกตุสุวรรณ์, นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ ทั้ง 4 คนนี้ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ลดให้คนละ 1 ใน 3 เหลือ 34 ปี นอกจากความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และวางเพลิงเผาศาลากลางอุบลราชธานี ศาลตัดสินให้พวกเขามีความผิดฐานก่อความวุ่นวาย + กีดขวางทางจราจร + และทำให้เสียทรัพย์ของเอกชน (ร้านค้าเอกชนในพื้นที่ศาลากลางถูกเพลิงไหม้ไปด้วย) ต่อให้ตัดข้อหาเผาศาลากลางและ พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไป นักโทษจากอุดรฯและอุบลฯ ก็อาจต้องโทษจำคุกอีกคนละหลายปี

(3)   กรณีนายประสงค์ มณีอินทร์ และนายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ จำคุกคนละ 11 ปี 8 เดือน ปรับ 6,100 บาท ในฐานความผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน + มีวัตถุระเบิดและเครื่องวิทยุชนิดมือถือโดยไม่ได้รับอนุญาต + พกพาวัตถุระเบิดและอาวุธต่าง ๆ + ปล้นทรัพย์

(4)   นายคำหล้า ชมชื่น จำคุก 10 ปี มีความผิดฐานปล้นปืน (เอ็ม 16) จากเจ้าหน้าที่ทหาร 2 กระบอก บริเวณซอยหมอเหล็ง (แท้จริงคือการรุมล้อมรถทหารที่เข้ามาบริเวณสี่แยกดินแดง มีการแย่งปืนและดึงทหารลงจากรถ)

(5)   นายบัณฑิต สิทธิทุม จำคุก 38 ปี มีความผิดฐานก่อการร้าย + พกพาอาวุธปืนกล + มีวัตถุระเบิด + ใช้และครอบครองเครื่องยิงจรวดจำคุก (ใช้อาร์พีจียิ่งใส่ ก.กลาโหม) + ใช้เอกสารราชการปลอม (แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม) + พกพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันควร

(6)   คดีผู้หญิงยิง ฮ. – คดีนี้มีจำเลย 3 คน คือ 1.นางนฤมล หรือจ๋า วรุณรุ่งโรจน์ 2. นายสุรชัย นิลโสภา 3. นายชาตรี ศรีจินดา ถูกฟ้องข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด สิ่งเทียมอาวุธ และปลอมแปลงเอกสารราชการ ศาลชั้นต้นยกฟ้องทั้งสามคน แต่อัยการอุทธรณ์จำเลยที่ 1 (นางนฤมล) ส่วนจำเลยที่ 2 เสียชีวิต และไม่อุทธรณ์จำเลยที่ 3 หากร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับประชาชนผ่านสภา นางนฤมลก็ยังต้องถูกดำเนินคดีต่อไป

(7)   คดีเผาเซ็นทรัลเวิร์ล – แม้ว่าศาลชั้นต้นจะยกฟ้องนายสายชล แพบัว และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ ไปแล้วก็ตาม แต่อัยการตัดสินใจอุทธรณ์คดีนี้ต่อไป

3. ข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร

จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี (เท่าที่รวบรวมได้) 55 ราย

จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว 23 ราย

จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่คดียังไม่สิ้นสุด 23 ราย (ไม่ทราบสถานะคดี 9 ราย)

·       ข้อสังเกต/ข้อเสนอของ ศปช.

1.      การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 53 ของ ศปช. เป็นเพียงความพยายามขององค์กรภาคประชาชนเล็กๆ ในการทำให้สังคมได้มองเห็นภาพรวมของปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ผ่านเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ดังนั้น ข้อมูลของ ศปช.จึงอาจยังไม่ครอบคลุมจำนวนผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง โดยเฉพาะจำนวนและรายชื่อของผู้ที่ถูกออกหมายจับแต่ยังไม่มีการจับกุม และผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ เนื่องจาก ศปช.ไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลเหล่านี้ได้ ดังนั้น หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญจึงควรต้องใช้กลไกของตนในการแสวงหาข้อมูล ผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด   ศาลยุติธรรม  หรือเปิดรับข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง

2.      ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ศปช.พบว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีสาเหตุสำคัญมาจาก

ก. การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งนอกจากจะประกาศใช้โดยขาดความจำเป็นแล้ว การที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้อำนาจเจ้าพนักงานอย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งสิทธิในชีวิต สิทธิในร่างกาย สิทธิในการชุมนุม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ฯลฯ โดยไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม เช่น ทำให้เสียชีวิต จับกุมอย่างเหวี่ยงแห จับกุมโดยไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจน ซ้อมทรมานในขณะจับกุม ยัดของกลาง เป็นต้น ส่งผลให้ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผู้ถูกจับกุมและดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก

ข. หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้เกิดความยุติธรรม ปกป้องและขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากแต่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ ป้องปราม และกดทับประชาชน ปัญหาเหล่านี้ดำรงอยู่ในกระบวนการยุติธรรมมาเนิ่นนาน หากแต่ภายใต้สภาพความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเหล่านี้ได้ประทุขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้กฎหมายต่อกลุ่มคนที่เห็นต่าง เช่น บังคับหรือหลอกล่อให้รับสารภาพ บิดเบือนคำให้การ ไม่ให้ประกันตัว ไม่แจ้งสิทธิในการติดต่อทนายหรือญาติ ตั้งข้อหาเกินจริง การใช้ดุลพินิจของศาลที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงใจ และไม่คำนึงถึงบริบททางการเมือง ตลอดจนถึงการที่ศาลไม่ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯลฯ  เหล่านี้ ส่งผลให้ผู้ที่ถูกจับกุมและดำเนินคดีถูกศาลพิพากษาลงโทษเป็นส่วนใหญ่

แม้ในปัจจุบันปัญหาของกระบวนการยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองเหล่านี้ก็ยังปรากฏให้เห็น การไม่อนุญาตให้ประกันตัวในบางคดี ทั้งคดีที่มีโทษหนักและโทษเบา (1 ปี) โดยที่บางคดีที่มีโทษหนักกว่าได้รับการประกันตัว พนักงานอัยการยังมีการสั่งฟ้องอยู่เรื่อยๆ ทั้งที่บางกรณีได้สั่งไม่ฟ้องไปแล้ว เช่น มุกดาหาร 1 ราย, ขอนแก่น (เตรียมฟ้อง) 39 ราย, กรุงเทพฯ 2 ราย พนักงานอัยการยังคงอุทธรณ์ในคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เป็นต้น

ดังนั้น การผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจึงเป็นความจำเป็น ไม่ใช่เพื่อลบล้างความผิดให้ผู้ชุมนุมทุกฝ่ายเพื่อให้หันหน้ากลับมาปรองดองกัน แต่เพื่อเป็นการแก้ไขความผิดพลาดของฝ่ายรัฐ และคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกจับกุมดำเนินคดีและสังคม นอกจากนี้ ในระยะยาว ควรต้องผลักดันให้มีการยกเลิกกฎหมายความมั่นคง ตลอดจนผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบยุติธรรมทั้งยวง ตั้งแต่ชั้นเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล และเรือนจำ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างแท้จริง  

 




[1] สำหรับรายละเอียดของแต่ละคดี จะอยู่ในรายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา – พฤษภา 53” ฉบับออนไลน์ ค้นได้จากเว็บไซต์: http://www.pic2010.org.

[2] ตัวเลขของมุกดาหารได้มาจากคำเบิกความของตำรวจในศาลเยาวชน มุกดาหาร จะเป็นใครบ้าง ข้อหาอะไรบ้าง ศปช. ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้.

[3] พวงทอง ภวัครพันธุ์. 2556. ข้อจำกัดของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน. ค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2556, จาก ประชาไท เว็บไซต์: http://prachatai.com/journal/2013/07/47796.

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net