Skip to main content
sharethis

เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ข่าวหน้าหนึ่งเล่นเรื่องที่ประธานาธิบดีหู จินเทา บอกว่าจีนกับประเทศตะวันตกกำลังต่อสู้กันในสมรภูมิทางวัฒนธรรม และเรียกร้องให้ประชาชนจีนเพิ่มกำลังการผลิตทางวัฒนธรรมเพื่อปกป้องตัวเองจากการรุกรานของต่างชาติ การเรียกร้องของหู จินเทา ได้รับการตอบรับจากข้าราชการในท้องถิ่นที่ต้องการจะกระโดดร่วมวงในฐานะเป็นหนทางของการเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่นักวิชาการเสรีนิยม และนักวัฒนธรรมรุ่นใหญ่กลับแสดงความคลางแคลงใจเกี่ยวกับแผนโครงการณ์ทางวัฒนธรรมใหม่นี้ โดยเตือนว่าการที่รัฐให้การส่งเสริม \อุตสาหกรรมวัฒนธรรม\" อาจจะนำมาซึ่งการบูมด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยซ่อนมากับการพัฒนา \"เขตทดลองทางวัฒนธรรม\" \"วัฒนธรรมดูเหมือนจะเป็นสิ่งสุดท้ายในงบประมาณทางเศรษฐกิจที่จีนไม่ตัดออก\" จู เดค นักวิจัยด้านวัฒนธรรมจากมหาวิทยาลัยตงจีกล่าว \"ในช่วงที่มีการเปลี่ยนผู้นำ เมื่อสิ่งต่างๆ ล้วนมีความอ่อนไหวทางการเมือง การส่งเสริมทางวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องง่ายและไม่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งมากนัก ทุกคนล้วนอยากได้ส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจจากตรงนี้ แต่ผู้ที่ได้อย่างเดียวเลยคือบริษัทใหญ่ที่จะรับผลประโยชน์จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แล้วอย่างอื่นก็จบเห่หมด\" แครอล ลู นักวิจารณ์ศิลปะจากปักกิ่งก็ตั้งแง่ในเรื่องนี้เช่นกัน \"การที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมวัฒนธรรมหมายความว่าพวกเราจะมีวัฒนธรรมที่ถูกพัฒนาในทางวัตถุมากขึ้น จะมีการบูมของแกลอรี่ใหญ่ๆ และพื้นที่ทางศิลปะอื่นๆ แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเราจะมีผลงานที่มีคุณภาพดีขึ้นด้วย\" ประธานาธิบดีหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีน หู จินเทา เปิดเผยแผนพลิกวัฒนธรรมในตอนแรกคือเดือน ต.ค. 2011 ในการประชุมประจำปีของพรรค ที่มีการกำหนดนโยบายไว้ล่วงหน้าสำหรับปีใหม่ที่ผ่านมา ซึ่งผิดจากความคาดหมายที่ว่าจีนจะประกาศมาตรการผลักดันจีนเป็นแนวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่หู กลับส่งเสริมอำนาจทางวัฒนธรรมให้แก่จีนก่อน และใช้อุตสาหกรรมวัฒนธรรมเป็นฐานเศรษฐกิจของชาติจีน มีการสะท้อนมติจากพรรครัฐบาลจีนออกมาว่า พลังอำนาจทางวัฒนธรรมของจีนมีไม่มากเท่าเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตอย่างทรงอิทธิพล การประชุมในเดือน ต.ค. 2011 มีการเน้นย้ำว่า พวกเขาต้องการใช้วัฒนธรรมในฐานะ \"สิ่งที่ช่วยสร้างความสามัคคีในชาติ\" และเป็น \"ส่วนสำคัญที่สร้างความเข้าใจในชาติ\" จากคำปราศรัยเดือน ม.ค. หู ก็ขยายแนวความคิดจากจุดนั้น โดยเตือนว่า \"อำนาจของศัตรูจากต่างชาติกำลังเน้นไปที่แผนการแบ่งแยกจีน และใส่ความเป็นตะวันตกเข้ามา ...พวกนั้นมีจุดสนใจอยู่ที่แนวคิดทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์ ซึ่งเป็นแผนการแทรกซึมในระยะยาว\" ในเวลาต่อมาคำปราศรัยนี้ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร Seeking Truth ซึ่งเป็นนิตยสารของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ความกังวลต่อความไม่สงบ \"นี่เป็นครั้งแรกที่ผู้นำให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางวัฒนธรรมเท่ากันกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ\" จาง เกาเซียง กล่าว เขาคือนักวิจัยจากศูนย์วิจัยวัฒนธรรมจีนในฐานะอำนาจอ่อน (China Cultural Soft Power Research Centre) \"พวกเราเรียกพลังทางเศรษฐกิจว่าเป็น 'พลังแข็ง' และกลัวว่าหากไม่มีฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ประเทศของพวกเราจะถูกครอบงำได้ง่ายมาก แต่ตอนนี้ก็มีความเข้าใจว่าหากไม่มี 'พลังอ่อน' แล้ว ประเทศก็อาจจะล่มสลายไปเองได้\" พรรครัฐบาลจีนในตอนนี้เป็นกังวลกับปัญหาเรื่องความปลอดภัยและเรื่องอื้อฉาวด้านการทุจริต รวมถึงยังเป็นห่วงเกี่ยวกับความไม่สงบที่เพิ่มมากขึ้นจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจครั้งใหญ่ในช่วง 10 ปีมานี้ การปฏิวัติในโลกอาหรับเมื่อปีที่ผ่านมา รวมถึงการโพสต์ข้อความในอินเทอร์เน็ตเรียกร้องให้มีการ \"ปฏิวัติดอกมะลิ\" ยังเป็นสัญญาณเตือนรัฐบาลจีนด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ขัดต่อภาพลักษณ์คืออิทธิพลทางวัฒนธรรมของจีนที่มีต่อต่างประเทศกำลังค่อยๆ ขยายตัวอย่างมั่งคง ผ่านทางการจัดนิทรรศการและการแสดงส่งเสริมการท่องเที่ยวจากงบของรัฐบาลจีน รวมถึงเครือข่ายสถาบันลัทธิขงจื้อที่กว้างขวางขึ้นทั่วโลก จีนก็สามารถส่งเสริมค่านิยม ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และศิลปะของตนเองได้ แต่ฝ่ายผู้นำจีนก็ยังกลุ้มใจกับการที่ประชาชนชาวจีนกลับเอาใจออกห่าง \"วัฒนธรรมสากลจากตะวันตกกำลังแข็งแกร่ง ขณะที่พวกเราอ่อนแอ\" หู กล่าวคร่ำครวญในการปราศรัยเมื่อวันที่ 2 ม.ค. แต่ก็มีนักเขียนและศิลปินชาวจีนผู้หนึ่งที่ชื่อ ฮัน ฮัน แสดงความเห็นว่าความอ่อนแอทางวัฒนธรรมของจีนเกิดจากการกระทำของตัวเอง โดยชี้ต้นตอปัญหาไปที่การเซ็นเซอร์ของรัฐบาลจีน ฮัน ฮัน เป็นนักเขียนบล็อกที่มีผู้ติดตามอยู่หลายล้านคน ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้เขียนบทความปลุกเร้าที่ชื่อ \"On Freedom\" (เรื่องของเสรีภาพ) โดยเขาได้ชี้ให้ผู้นำจีนเห็นว่าเหตุใดจีนถึงล้มเหลวในการผงาดขึ้นเป็นยักษ์ใหญ่ในแง่วัฒนธรรม \"การเข้มงวดกับกิจกรรมทางวัฒนธรรม ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จีนจะมีอิทธิพลทางวรรณกรรมและทางภาพยนตร์จนมีหน้ามีตาทั้งกับมาตรฐานโลก หรือกับพวกเราเหล่านักเสพย์วัฒนธรรมทั้งหลาย\" ฮัน ฮัน เขียนไว้ในบทความ จู เดค บอกว่าการเซ็นเซอร์เป็นแค่ด้านหนึ่งของภาพที่ซับซ้อน ทางพรรคการเมืองเชื่อในพลังของเงิน และไม่อายที่จะใช้มันเพื่อความได้เปรียบของตนเอง \"พรรคเก่งมากในเรื่องการใช้พลังจากเงินในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และก็เชื่ออย่างหนักแน่นว่าพวกเขาจะสามารถซื้อความคิดสร้างสรรค์หรือสติปัญญาได้ด้วย\" จูกล่าว แต่นี่ก็ไม่ใช่แค่เพียงการแลกเปลี่ยนความซื่อสัตย์กับผลประโยชน์ที่มีความซับซ้อน เพื่อกล่อมเหล่าปัญญาชนที่เป็นฐานสนับสนุนกระแสขับเคลื่อนวัฒนธรรมนี้อยู่ แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลในท้องถิ่นเองก็ดูมีแรงจูงใจในการดำเนินตามนโยบายพัฒนาทางวัฒนธรรมนี้มากกว่ากระทรวงโฆษณาการซึ่งเป็นหัวหอกของโครงการนี้และเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องการเซ็นเซอร์เสียอีก แม้กระทั่งก่อนที่แผนการทางวัฒนธรรมใหม่จะถูกเปิดเผยออกมาในเดือน ต.ค. มีเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นของจีนเข้าใจว่าการส่งเสริมทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์อาจทำให้เกิดแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น จากการสำรวจโดยสถาบันอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ในปี 2010 มีเขตทดลองทางอุตสาหกรรมวัฒนธรรม หรือเขตการแสดง ในประเทศจีนถึง 1

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net