Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

พลันที่ เหวียน เติ๋น สุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม จับมือกับ โยชิฮิโกะ โนดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่กรุงโตเกียวซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางเยือนญี่ปุ่น 4 วัน ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 254 ถือว่าสัญญาระหว่างเวียดนามและญี่ปุ่นในข้อตกลงให้ญี่ปุ่นสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวียดนาม และเป็นสัญญาณของการส่งออกนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น เวียดนาม มีแผนจะสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วยเตาปฏิกรณ์ 15-16 เตา ในอีก 20 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2574) โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกกำหนดจะสร้างที่เมืองนิญ ทวน (Ninh Thuan) ในภาคกลางตอนล่าง ซึ่งห่างจากประเทศไทยจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ เพียง 800 กิโลเมตร เท่านั้น ในการนี้รัฐสภาของเวียดนามได้อนุมัติแผนการสร้างในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 อนึ่ง แผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นิญ ทวน มี 2 โครงการ โดยนิญ ทวน 1 เลือกใช้เทคโนโลยีจากรัสเซีย ของบริษัท รอสะตอม (Rosatom) ประกอบด้วยเตาปฏิกรณ์ 2 เตา เตาแรก มูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์ กำหนดเดินเครื่องในปี 2563 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า และในปีถัดไป เตาที่ 2 จะเริ่มเดินเครื่องเช่นกัน ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นิญ ทวน 2 เลือกใช้เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น ของบริษัท Japan Atomic Power ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมืองโตไกมูระ และเมืองซึรุกะ ในญี่ปุ่น โดยรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) ได้ลงนามความตกลงในวันที่ 30 กันยายน 2554 ให้บริษัท Japan Atomic Power ศึกษาความเป็นไปได้ โดยใช้เวลา 18 เดือน ด้วยเงินทุน 26.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสนับสนุนโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งโครงการนิญ ทวน 2 กำหนดจะดำเนินการในปี พ.ศ. 2563 และ 2573 ตามลำดับ วิกฤตนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ-ไดอิจิ ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ แทนที่จะทำให้โครงการดังกล่าวได้ทบทวนแผนการ แต่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเวียดนามกลับเปิดเผยว่าเหตุการณ์ในญี่ปุ่นจะไม่ทำให้เวียดนามต้องชะลอการสร้างโรงงานนิวเคลียร์ที่ นิญ ทวน โดยระบุว่า ปัญหาในญี่ปุ่นจะเป็นประโยชน์ต่อแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของเวียดนาม ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูแห่งชาติของเวียดนาม ได้เสนอให้รัฐบาลลดขนาดโครงการลง และให้เลื่อนการก่อสร้างออกไปอีกใน 10 ปีข้างหน้า แต่รัฐบาลเวียดนามยังคงเดินหน้าตามแผนการเดิม เพียงแต่ลดขนาดโรงไฟฟ้าลง และแยกโครงการออกเป็น 2 ระยะ (เฟส) โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระยะที่ 1 ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า 2 โรง มีเตาปฏิกรณ์แห่งละ 1 เตา มีกำลังผลิตหน่วยละ 1,000 เมกะวัตต์ โดยจะใช้ค่าก่อสร้าง16,000-18,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้เดิม 3 เท่าตัว ผู้เชี่ยวชาญของเวียดนามมีความกังวลประเด็นการกำจัดกากนิวเคลียร์ภายหลังการเดินเครื่อง 10 ปี ซึ่งจะมีกากของกัมมันตภาพรังสีจำนวนมหาศาล อีกทั้งภายในเวียดนามเองยังมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง อันจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของโรงไฟฟ้า และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชุมชนชาวประมง ในวันที่ 18 สิงหาคม 2554 นักวิทยาศาสตร์เวียดนาม นำโดย ดร. เจิ่น เติ๋น วัน (Trần Tấn Văn) ได้พบรอยเลื่อนขนาดใหญ่ถึง 2 แนวในแถบชายทะเลเมืองนิญ ทวน โดยเรียกว่า รอยเลื่อน “เสือย เมีย” (Suối Mia) และ \หวีญ หาย\" (Vĩnh Hải) รอยเลื่อนทั้งสองแห่งยังมีการเคลื่อนตัว ทั้งนี้ รอยเลื่อนเสือยเมีย พบรอยแยกยาว 1.52 กิโลเมตร ตัดผ่านแนวหินแกรนิตใต้ท้องทะเลในอ่าวนิญ ทวน และ รอยเลื่อยหวีญหาย ปรากฏเป็นแนวแยกยาว ตัดเกาะเฮินแด่ว (Hơn đèo) และเกาะอื่นๆ ให้แยกออกจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งหากเกิดแผ่นดินไหวจะส่งผลต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุนแรงกว่าโรงไฟฟ้าที่ฟูกูชิมะ เนื่องจากโรงไฟฟ้าที่ฟูกูชิมะอยู่ห่างแนวแผ่นดินไหว และการค้นพบนี้ ถือเป็นข่าวร้ายสำหรับชาวเวียดนามและประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันธรณีวิทยาและแหล่งแร่ของเวียดนาม ได้เสนอให้ทางการย้ายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปที่ตั้งบริเวณอื่น หรือให้เลื่อนเวลาก่อสร้างออกไป อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553 นายนาโอโตะ คัง อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้ลงนามในสัญญามูลค่า มูลค่า13.2ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net