Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ในคืนอันแสนอบอ้าวก่อนวันรอมฎอน กลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) ก็ออกเดินขบวนรณรงค์ทางการเมืองใน ชิบิน เอลคอม เมืองแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ชาวกรุงไคโรส่วนใหญ่แทบจะไม่สามารถขับผ่านเมืองหลวงของเขตปกครองตนเองโมนูเฟียนี้ได้เลย เว้นแต่พวกเขาจะมีครอบครัวอยู่ที่นี่ พื้นที่หนองบึงในแถบนี้มีแต่คนที่ทำอาชีพการเกษตร มีคูคลองและแม่น้ำสายต่างๆ ไหลผ่านจนอาจเรียกว่าเป็น \ตะกร้าขนมปัง\" ของอียิปต์เลยก็ว่าได้ เกษตรกร หรือที่เรียกว่า 'เฟลาฮีน' ตามภาษาชาวมุสลิมที่ทำการเกษตรอยู่ในพื้นที่นี้เป็นผู้ที่นับถือศาสนา ชาตินิยม และมีแนวคิดทางสังคมในเชิงอนุรักษ์นิยม ชนชั้นนำที่ปกครองอียิปต์ก็มีรากเหง้ามาจากที่นี่ ประธานาธิบดี 2 คนก่อนหน้านี้คือ ฮอสนี มูบารัค และ อันวาร์ ซาดัท ต่างก็ถือกำเนิดในโมนูเฟีย แต่พอได้ดิบได้ดีอยู่ในตำแหน่งแล้วก็ลืมทิ้งบ้านเกิดตัวเองไปเสีย อย่างไรก็ตามในหมู่นักเล่นการเมืองของอียิปต์ กลุ่มภราดรภาพมุสลิมทำตัวต่างจากผู้นำรายอื่น ความสามารถเชิงผู้นำของพวกเขามาจากมวลชนที่เป็นชนชั้นกรรมชาชีพที่มีการศึกษา และเสริมภาพลักษณ์ว่ามีความใกล้ชิดกับกลุ่มเฟลาฮีน การเดินขบวนใน ชิบิน เอลคอม เป็นการรณรงค์เปิดตัว 'พรรคเสรีภาพและความยุติธรรม' ปีกใหม่ของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม กลุ่มมุสลิมกลุ่มนี้ก็พยายามทำให้คนอื่นเข้าใจว่า พวกเขาไม่ใช่กลุ่มที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา กลุ่มผู้ประท้วงซึ่งตอนนี้ได้กลับมายืดพื้นที่จัตุรัสทาห์เรียเป็นที่ชุมนุมอีกครั้ง พวกเขากล่าวหาว่า กลุ่มภราดรภาพเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ต่อต้านการปฏิวัติของพวกเขาด้วยซ้า กลุ่มนักกิจกรรมพากันมาสร้างวิมานสวรรค์แบบตั้งเต็นท์ที่จัตุรัสกลางกรุงไคโร พยายามป่าวร้องถึงแนวคิดเรื่องประชารัฐ และประกาศว่า หลังจากมูบารัคลงจากตำแหน่งไปแล้วครึ่งปี แต่ประเทศก็ยังคงอยู่ภายใต้เผด็จการทหาร นักกิจกรรมเหล่านี้ชุมนุมกันไปหนึ่งเดือนแล้ว มีคนมาน้อยลงเรื่อยๆ สารของพวกเขาถูกกลืนกินไปโดยคำประกาศของคณะมนตรีกองทัพและคำวิพากษ์วิจารณ์จากชาวมุสลิม ภาพการประท้วงคงดูไม่ต่างกันเท่าไหร่ในเขตสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำ กลุ่มภราดรภาพมุสลิมเลือกจะรณรงค์ท่ามกลางถนนฝุนโคลนห่างไกลตัวเมือง ผู้คนนับพันคนส่วนใหญ่เป็นคนจากสาขาวิชาชีพต่างๆ เป็นพ่อค้า หรือเกษตรกร ต่างก็มากับครอบครัว มีอาสาสมัครคอยบริจาคเลือดที่รถพยาบาล บนเวทีปราศรัยหัวหน้าพรรคกล่าวยกย่องครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ประท้วงในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ แล้วถึงเข้าเรื่อง ประธานกลุ่มสตรีพูดถึงบทบาทของสตรีในพรรค เกษตรกรพูดถึงความร่วมมือในภาคการเกษตร สุดท้ายคือหัวหน้าพรรคโมฮาเม็ด มอร์ซี ขึ้นกล่าวบนเวทีอย่างเผ็ดร้อน \"ประชาชนได้มอบการปฏิวัติของพวกเขาให้ทหารเก็บรักษาไว้\" เขากล่าวด้วยเสียงอันดัง \"สิ่งที่ชอบธรรมในประเทศนี้มาจากประชาชน\" ในช่วงท้ายเขาได้สั่งให้ผู้เขาชมปราศรัยแสดงวินัยและความใจกว้างกับเพื่อนบ้าน...ด้วยการเก็บขยะ หกเดือนหลังจากที่มูบารัคยอมแพ้ต่อชาวอียิปต์นับล้านคนไปแล้ว แต่นายพลหน้าเก่าๆ ก็ยังคงปกครองประเทศอยู่ การใช้อำนาจจับกุมและความเป็นไปได้ที่จะมีการทรมานผู้ต้องขังเป็นเรื่องสามัญ เพียงแต่เกิดน้อยกรณีกว่าก่อนหน้านี้ สื่อของรัฐยังคงทำให้ผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารดูเป็นพวกชั่วร้าย และกองทัพที่ไม่ฟังความเห็นของมวลชนก็จะจัดการเรื่องกระบวนการเลือกตั้งและรัฐบาลพลเรือนในแบบของพวกเขาเอง เหล่านักปฏิวัติและนักปฏิรูปทั้งหลายต่างก็หวาดกลัวว่ากองทัพซึ่งตอนนี้เข้มแข็งขึ้นกว่าช่วยสมัยที่มูบารัคยังอยู่จะทำตัวฉวยโอกาส พวกเขายังกลัวว่ากลุ่มมุสลิมจะกลายเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นและควบคุมการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ทำให้อียิปต์กลายเป็นไม่ใช่รัฐฆราวาสหรือรัฐเสรีนิยม สรุปปัญหาคือ นักปฏิวัติผู้มีแนวคิดอุดมคตินิยมฝันถึงประชาธิปไตยในโลกอาหรับที่สะท้อนการเห็นคุณค่าของประชาชนและเปิดรับชาวมุสลิม ชาวคริสต์ และคนที่ต้องการรัฐฆราวาสในเวลาเดียวกัน แต่พวกเขากลับถูกช่วงชิงไปโดยฝ่ายขวาผู้นับถือศาสนาที่ต้องการการปกครองโดยเสียงข้างมาก และเห็นได้ชัดจากเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีประชาชนนับล้านคนมาชุมนุมที่จัตุรัสทาห์เรียเรียกร้องให้ประเทศเป็นรัฐอิสลาม ขณะเดียวกันเหล่านายพลก็ได้ใจเมื่อเห็นว่า มีการแบ่งแยกระหว่างกลุ่มผู้นับถืออิสลามกับกลุ่มฆราวาสซึ่งเป้นกระโยชน์กับพวกเขา ภาพการชุมนุมที่จัตุรัสทาห์เรียในช่วงที่เหตุการณ์สงบลงแล้วนั้น ทำให้เห็นว่า การปฏิวัติมีความเป็นชายขอบมากขึ้นและไม่ถือเป็นภัยอีกต่อไป แก่นแกนของการปฏิวัติจริงๆ แสดงให้เห็นถึงพลังในการวิพากษ์วิจารณ์อำนาจ อดกลั้นต่อความหลากหลาย มากกว่าการแสดงความเห็นของผู้ที่อยู่ในกระแสหลัก กลุ่มผู้ชุมนุมที่ต่อสู้กับตำรวจปราบจลาจลนั้นมีอยู่สามจำพวกหลักๆ ที่คาบเกี่ยวกับ พวกแรกคือกลุ่มนักกิจกรรม นักจัดตั้งทางการเมืองและทางศาสนาที่หันมาเชื่อใจกันจากการประท้วงเล็กๆ น้อยๆ และการถูกตามจับกุมตัวเมื่อหลายปีที่ผ่านมา พวกที่สองคือกลุ่มคนที่มีความรู้ทางการเมืองซึ่งก่อนหน้านี้ไม่กล้าท้าทายอำนาจรัฐบาล แต่ก็ถูกชักพาเข้ามาในการชุมนุมเนื่องจากมีวาระเดียวกัน คนกลุ่มนี้มีทั้งนักสหภาพแรงงาน นักสังคมนิยม เอ็นจีโอสายเสรีนิยม และนักกิจกรรมทางศาสนาที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม พวกสุดท้ายคือผู้คนชาวอียิปต์กว่าแสนคนที่ไม่ได้มีวาระทางการเมือง เพียงแค่โกรธแค้นและไม่อาจทนรับได้กับรัฐตำรวจในแบบของมูบารัค ผู้ชุมนุมที่เคยทะลักท่วมจัตุรัสทาห์เรียจนกระทั่งประธานาธิบดีมูบารัคออกจากตำแหน่งไปในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ไม่เคยกลับมามีจำนวนเท่าเดิมอีกเลย ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา กลุ่มทหารก็พยายามยับยั้งการปฏิรูปใดๆ ก็ตามที่จะเกิดขึ้น มีเพียงแค่เห็นชอบกับการกำหนดวันเลือกตั้งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและเลื่อนการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ออกไปจนกว่ารัฐบาลพลเรือนจะถูกเลือกตั้งเข้ามา ที่สำคัญกว่านั้นคือ มูบารัคยังคงอยู่ดีจนต้องมีมวลชนออกมาเรียกร้องที่ทาห์เรียอีกครั้งทหารถึงจะยอมจับกุมตัวเขาในที่สุด หลังจากนั้นเขาก็ยังคงอยู่อย่างสะดวกสบายในโรงพยาบาลจนกระทั่งประชาชนต้องออกมาย้ำให้เจ้าหน้าที่จัดการดำเนินคดีกับเขา ซึ่งหลายคนมองว่าเขาต้องถูกฟอกจนใสสะอาดแน่ๆ ท่าทีของทหารอียิปต์ที่ไม่สามารถจัดการอะไรได้ และการประท้วงที่กลับมาหลายรอบทำให้ขบวนการปฏิวัติอ่อนล้าและมิตรภาพในที่ชุมนุมเริ่มจืดจาง นักกิจกรรมบางกลุ่ม เช่นกลุ่มที่ติดดินอย่าง \"กลุ่ม 6 เมษายน\" (กลุ่มที่วางแผนนัดหยุดงานผ่านเฟสบุ๊ค โดยให้สวมเสื้อชุดดำอยู่กับบ้านในวันที่ 6 เม.ย.) ที่มีรากเหง้ามาจากกลุ่มแรงงานหยุดงานประท้วง กลุ่มนี้พยายามเน้นที่ข้อเรียกร้องหลักๆ ของผู้ประท้วงและอยู่ให้ห่างจากการเมือง กลุ่มอื่นๆ เช่นผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองสายกลางแอบพูดจิกกัดว่า น่าจะเอาเวลาที่นั่งจับเจ่าอยู่ในเต็นท์ผู้ชุมนุมที่ทาห์เรียมาใช้รณรงค์หาเสียงดีกว่า \"พวกเรากลัวว่าจะสูญเสียมวลชนไป\" โมอัซ อับ เอลคารีม เภสัชกรอายุ 29 กล่าว เขาเป็นนักจัดกิจกรรมบนท้องถนนให้กับกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเขามีเป้าหมายร่วมกันกับสหายอย่างเช่น แซลลี่ มัวร์ นักสังคมนิยมชาวคริสเตียน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net